สธ.ห่วงเด็กป่วยคอตีบเพิ่ม เตือนแม่พาลูกฉีดวัคซีนให้ครบ

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สถิติผู้ป่วยโรคคอตีบเพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงเตือนคุณพ่อคุณแม่ อย่าลืมพาลูกน้อยไปฉีด วัคซีนโรคคอตีบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สธ.ห่วงเด็กป่วยคอตีบเพิ่ม เตือนแม่พาลูกฉีด วัคซีนโรคคอตีบ

สิ่งหนึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องจำให้ขึ้นใจ คือ ถึงเวลาที่จะพาลูกไปรับวัคซีนเพื่อให้ครบถ้วนตามเกณฑ์แล้วหรือยัง เพราะการได้รับวัคซีนที่จำเป็นจะช่วยให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ที่ดีนะคะ  ยกตัวอย่างข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แนะนำผู้ปกครองให้นำบุตรหลานรับวัคซีนรวมสำหรับป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักให้ครบตามช่วงเวลาที่กำหนด  เพราะจากการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์คาดว่ามีโอกาสจะพบผู้ป่วยคอตีบเพิ่มมากขึ้น

โรคคอตีบ คืออะไร

โรคคอตีบ (Diphtheriae) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  (Corynebacterium diphtheriae) บริเวณที่ติดเชื้อมักจะเป็นในระบบทางเดินหายใจ ต่อมทอนซิล ลำคอ กล่องเสียงหรือจมูก  พบมากในเด็กก่อนและระยะต้น ๆ ของวัยเรียน คือช่วงอายุ 2-5 ปี  หรือพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

โรคคอตีบ มีอาการอย่างไร

อาการของโรคคอตีบคือ จะมีไข้ เจ็บในหลอดคอ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย ถ้าเป็นคอตีบของกล่องเสียง จะมีอาการบวมมาก  อาจทำให้หายใจไม่ออก ทำให้เด็กเล็กๆ เสียชีวิตได้ง่าย  นอกจากนี้โรคแทรกซ้อนก็น่ากลัวค่ะ โดยอาจเกิดโรคหัวใจอักเสบ หรือมีอาการอักเสบของประสาทสมอง โรคอัมพาตเนื่องจากพิษทางประสาท

ซึ่งจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคคอตีบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงปัจจุบันพบผู้ป่วยยืนยันและเข้าข่ายโรคคอตีบ จำนวน 7 ราย และเสียชีวิต 2 รายแล้วค่ะ

การป้องกัน โรคคอตีบ ทำอย่างไร

ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปรับการฉีดวัคซีนรวมสำหรับป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักให้ครบดังนี้ คือ

  • ฉีดเข็มแรกเมื่อลูกอายุ 2-3 เดือน
  • ฉีดเข็ม 2 และ 3 ห่างกันเข็มละ 2 เดือน
  • แล้วฉีดกระตุ้นหลังเข็มสุดท้ายประมาณ 1 ปี
  • จากนั้นเว้นไปฉีดกระตุ้นอีกทีตอนลูกอายุ 4-6 ปี

และเมื่อลูกอายุ 11-12 ปีควรจะได้รับวัคซีนรวมป้องกัน 3 โรคเดิม หรือจะเป็นวัคซีนรวมที่ป้องกันเฉพาะโรคคอตีบและบาดทะยักก็ได้อยู่ค่ะ  จากนั้นก็ควรกระตุ้นด้วยวัคซีนรวมสำหรับป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักทุกๆ 10 ปีนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตามนอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว  คุณพ่อคุณแม่ควรจะป้องกันทั้งลูกและตัวเอง โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีคนแออัดหนาแน่น ล้างมือบ่อยๆ  และคอยสังเกตอาการของโรค คือมีไข้ เจ็บคอ มีแผ่นขาวในช่องปาก ถ้าพบก็ควรไปหาหมอทันที หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 นะคะ

ที่มา:
– สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
– สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

อัพเดท! วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา