9 วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี ช่วยลูกคิดเป็น ต่อยอดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9 วิธี เล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี หมอแนะ 9 วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี ผลวิจัยชี้! ลูกเล่นมาก ยิ่งพัฒนาเซลล์ประสาทในสมอง น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เนื่องจากเด็กไทยมีอัตราเกิดลดลง การเลี้ยงดูต้องเน้นอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้เด็กที่เกิดในวันนี้มีศักยภาพ มีคุณค่าและมีความสุข คุณสมบัติสำคัญที่เด็กรุ่นใหม่ควรจะมีคือความคิด 3 ด้านบวก 1 ทำ คือคิดเป็น คิดดี คิดต่อยอด เพื่อรังสรรค์สิ่งใหม่และต้องทำเป็นด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเล่นกับลูก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทารก ให้ฉลาด หัวไว เล่นได้เล่นดี ไม่ต้องใช้ของเล่น

 

อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล่น เล่น

การเลี้ยงลูกในวัยอายุต่ำกว่า 6 ขวบให้ได้ตามคุณสมบัติที่ว่า พ่อแม่ควรหันมาใส่ใจเรื่องการเล่นของเด็ก ไม่ว่าจะเล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อน เด็กจะทุ่มเทใจและจริงจัง เพราะการเล่นคือการทำงานของเด็ก เด็กจะคิด พลิกแพลงการเล่นตลอด ยิ่งเล่นมาก จะเกิดความชำนาญจากการค้นหา เปลี่ยน ปรับ แก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ สะสมเป็นความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น

  • การวิ่ง
  • กระโดด
  • คืบคลาน
  • เล่นดิน
  • เล่นทราย
  • หยิบจับสิ่งของ
  • เล่นของเล่น
  • เล่นตุ๊กตา
  • เล่นตั้งเต
  • เล่นบล็อก
  • เล่นตัวต่อ

ยิ่งเด็กมีโอกาสเล่นมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับการพัฒนาเซลล์ประสาทในสมองที่มีนับแสนล้านเซลล์เชื่อมต่อกันเป็นร่างแห เด็กจะมีความสามารถในการคิด เรียนรู้ โดยเฉพาะการเล่นที่มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ร่วมกันจะทำให้การเชื่อมโยงเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20-25

การเล่นของเด็กจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความฉลาดทางปัญญา อารมณ์และสังคมไปพร้อม ๆ กันด้วย พ่อแม่บางคนมีความคิดว่าการเล่นเป็นเรื่องไร้สาระ สิ้นเปลืองเวลา ความเชื่อเช่นนี้มีผลเสียต่ออนาคตลูกมาก นอกจากทำให้เด็กเครียด เบื่อหน่ายการเรียนแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ติดตัวลูกมาตั้งแต่เกิดไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ กลายเป็นเด็กที่คิดไม่เป็น เมื่อโตขึ้นจะขาดโอกาสในการเป็นผู้นำด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

9 วิธี เล่นกับลูก ช่วยพัฒนาความรู้ ความฉลาด ตั้งแต่เล็ก

พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ฐานความคิดของเด็กอายุ 3-5 ขวบมาจากจินตนาการ ซึ่งมีในเด็กทุกคน หน้าที่ของพ่อแม่ต้องส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยผ่านการเล่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. จัดมุมเล่นบทบาทสมมุติในบ้านหรือห้องเรียน พร้อมอุปกรณ์ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้วาดรูป ยิ่งมากยิ่งหลากหลาย เด็กจะสร้างสรรค์ได้มากเท่าที่จินตนาการจะพาไป การเล่นสวมบทบาทเป็นคนอื่นหรือตัวละครจากนิทาน การวาดรูป ระบายสี ปั้นแป้ง จะช่วยให้เด็กแสดงออกถึงความคิด
  2. เล่นกับลูกเมื่อลูกชวนเล่นตามเรื่องที่เด็กสร้างขึ้น โดยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่น เพื่อให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเป็นอิสระ หากพ่อแม่เป็นผู้นำการเล่นเอง จะขัดขวางจินตนาการของเด็ก
  3. เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเล่นสร้างบ้าน เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เด็กรู้สึกผ่อนคลายอบอุ่นและปลอดภัย เด็กจะใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างบ้านแบบต่าง ๆ ที่เด็กฝันอยากจะมี
  4. ส่งเสริมให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอิสระ เช่น บล็อก ตัวต่อเลโก้ ดินน้ำมัน หรือเล่นทราย ที่สามารถต่อหรือสร้างเป็นอะไรก็ได้ ของเล่นประเภทนี้จะช่วยให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการอย่างไม่มีข้อจำกัด
  5. เล่นเล่าเรื่องคนละประโยคหรือเล่นต่อเพลง เด็กจะได้รับการกระตุ้นให้คิด
  6. พาเด็กไปสัมผัสธรรมชาติให้มากเท่าที่จะทำได้ เช่น ไปเที่ยวสวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทะเล น้ำตก ป่า ความหลากหลายในธรรมชาติ มีทั้งพืช สัตว์ ก้อนหิน ดินทราย ถือเป็นครูทางจินตนาการของเด็ก ฝึกให้เด็กช่างสังเกต กระตุ้นความอยากในการเรียนรู้
  7. ใช้หัวใจมองเห็นสิ่งมหัศจรรย์ในตัวลูก รักเขาตามที่เขาเป็น อย่าใช้ความคาดหวังของพ่อแม่ตัดสินลูกหรือเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เพราะเด็กมีความพิเศษต่างกัน ที่สำคัญเด็กที่ฉลาด มักคิดต่างจากใคร ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่
  8. สร้างบรรยากาศแห่งความรักความอบอุ่นในครอบครัว เด็กจะได้ทั้งอาหารใจและยาบำรุงสมองชั้นดีด้วย
  9. ควรฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต รู้จักตั้งคำถาม และคอยตอบคำถามของลูกด้วยความรักและความใส่ใจ

 

7 ข้อ ห้ามทำอย่างนี้กับลูกเด็ดขาด

ส่วนวิธีการเลี้ยงดูลูกที่พ่อแม่ไม่ควรนำมาใช้ เนื่องจากเป็นตัวการทำลายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในตัวลูก พญ.กุสุมาวดี แนะนำว่า

  1. รักและปกป้องลูกมากเกินไป เช่น เลี้ยงแบบคุณหนู ไม่กล้าให้ลูกทำอะไร หรือตีกรอบให้ลูกทำตาม
  2. บังคับขู่เข็ญ ดุดัน เจ้าระเบียบมากเกินไป
  3. มองการกระทำหรือการเล่นของลูกเป็นเรื่องไร้สาระและน่ารำคาญ
  4. เคี่ยวเข็ญเรื่องเรียน เร่งให้ลูกปฐมวัยอ่านออกเขียนได้เร็ว ๆ
  5. เห็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กเป็นเรื่องของเด็กดื้อ ต่อต้าน ไม่ฟังคำสั่ง
  6. ไม่สนใจต่อความรู้สึกและความต้องการของลูก
  7. ให้อิสระหรือตามใจลูกมากเกินไปจนขาดการสร้างวินัยและความรับผิดชอบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : thaihealth

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีสอนลูกให้รู้จักการใช้เงิน การออมเงิน ในแต่ละช่วงอายุ

3 สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้!! เรื่องอะไรที่ควรสอนลูกวัยอนุบาล

คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว vs คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว กับวิธีเลี้ยงลูกที่ต่างกัน

 

บทความโดย

Tulya