วิธีเลือกหนังสือสำหรับเด็ก เราควรเลือกหนังสือแบบไหน ให้เหมาะกับลูก

วิธีเลือกหนังสือสำหรับเด็ก วิธีเลือกหนังสือภาพสำหรับเด็กเล็ก พ่อแม่ควรเลือกหนังสือแบบไหน ให้เหมาะกับพัฒนาการแต่ละช่วงวัยของลูกน้อย (ภาพโดย fwstudio จาก freepik)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอ่าน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัย แม้ทุกวันนี้ โลกจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่คนเราก็ยังคงต้องหาความรู้เพิ่มเติมผ่านหนังสือกันอยู่ หากคุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังให้ลูกมีนิสัยการอ่านได้ตั้งแต่เด็ก เด็กก็จะโตมาเป็นคนที่มีความรู้ รอบรู้ รักการอ่าน หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า หนังสือสำหรับเด็ก แต่ละวัย เป็นยังไง ควรให้ลูกเริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่อายุเท่าไหร่ เดี๋ยววันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ

 

ทำไมคนเราต้องอ่านหนังสือ

การอ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้แก่สมองของเรา และยังทำให้สมองของเราทำงานได้ดียิ่งขึ้น เพราะขณะที่เราอ่านหนังสือ สมองของเราจะมีการประมวลและคิดตามในสิ่งที่อ่าน หากเราสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่าไลฟ์โค้ช นักการเมืองดัง ๆ หรือประธานาธิบดีหลาย ๆ ประเทศ มักมีนิสัยรักการอ่านและมีชั้นหนังสือในห้องทำงาน นั่นเพราะว่าการอ่าน ช่วยทำให้เราได้เห็นโลกในหลาย ๆ แบบ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ มากมายนั่นเอง

 

เด็กเริ่มอ่านหนังสือได้ตั้งแต่ตอนไหน

ความจริงแล้ว เด็ก ๆ จะเริ่มอ่านหนังสือออกในช่วงเริ่มเข้าเรียน หรือหากคุณแม่สอนหนังสือน้องตั้งแต่ยังเด็ก น้อง ๆ ก็จะอ่านหนังสือออกได้ไวกว่าคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กจะยังอายุน้อยอยู่ แต่เด็ก ๆ ก็สามารถเริ่มอ่านหนังสือภาพได้ตั้งแต่อายุก่อน 1 ขวบ ซึ่งหนังสือที่คุณแม่เลือกมาให้น้อง ๆ ควรจะเป็นหนังสือภาพที่ดึงดูดใจ ที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อนมากเกินไป เด็กแต่ละวัยควรอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเฉพาะและแตกต่างกันออกไป ส่วนจะมีหนังสือแบบไหนบ้างนั้น เราจะเล่าให้ฟังเป็นลำดับต่อไปค่ะ

 

วิธีเลือกหนังสือสำหรับเด็ก แต่ละช่วงวัย

เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น หากเราให้ลูกอ่านหนังสือของผู้ใหญ่ ลูกก็คงจะไม่เข้าใจ เพราะเนื้อหาจากหนังสือของผู้ใหญ่มีความซับซ้อนอยู่มาก การให้ลูก ๆ ได้ใช้เวลาว่างอยู่กับหนังสือตั้งแต่เด็ก เปรียบเสมือนการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการอ่านไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อช่วยให้เด็กสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ คราวนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าเด็กในแต่ละช่วงวัย เหมาะกับหนังสือแบบไหนกันบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : หนังสือน่าอ่าน 30 เล่ม ที่ควรอ่านให้ลูกฟังก่อนลูกโต

เด็กแต่ละวัย ต้องอ่านหนังสือแบบไหน วิธีเลือกหนังสือสำหรับเด็ก ในแต่ละช่วงวัย หนังสือทารกแรกเกิด

 

หนังสือภาพมีเสียงสำหรับวัยทารก 0- 18 เดือน

มาเริ่มกันที่วัยทารก เนื่องจากว่าเด็กยังอายุน้อยมาก ๆ หนังสือที่เหมาะกับเด็กวัยนี้จึงจะต้องเป็นหนังสือภาพ หรือหนังสือที่มีแต่ภาพนั่นเอง เด็กวัยนี้ จะมีความรู้สึกสนใจภาพที่มีใบหน้าของคน และภาพที่มีสีสันน่าดึงดูดใจ รวมทั้งชอบฟังเสียงเป็นจังหวะ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกน้อยคุ้นเคยกับหนังสือ หรืออยากฝึกให้เด็กรักการอ่านตั้งแต่เด็ก ๆ แนะนำให้เลือกหนังสือที่มีบทร้องเล่น (Nursery Rhymes) และมีคำที่เป็นจังหวะคล้องจองกันจะดีที่สุดค่ะ เพราะหนังสือแบบนี้จะดึงความสนใจของเด็กได้ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หนังสือบอร์ดบุ๊คสำหรับเด็กวัย 9 เดือน

เมื่อเด็กโตขึ้นมาอีกนิด ควรเปลี่ยนไปให้เด็กเริ่มอ่านหนังสือบอร์ดบุ๊คแทน ซึ่งหนังสือบอร์ดบุ๊ค จะเป็นหนังสือที่ทำจากกระดาษทั้งเล่ม หนังสือแต่ละหน้าจะมีความหนาและเเข็ง แต่เปิดง่าย มีความทนทาน แถมยังมีจำนวนหน้าไม่เยอะจนเกินไป เหมาะสำหรับเด็ก ๆ และจะมีข้อความประกอบอยู่ในหนังสือสั้น ๆ นอกจากนี้ หนังสือประเภทนี้ ก็ยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กได้ดีอีกด้วย

 

หนังสือภาพเสมือนจริงสำหรับเด็ก 12 เดือน

หากลูก ๆ อายุได้ 12 เดือนแล้ว ลองซื้อหนังสือภาพที่ประกอบไปด้วยภาพถ่ายจริง หรือภาพเสมือนจริงให้เด็ก ๆ ดูได้ค่ะ เด็กวัยนี้จะเริ่มชี้นู่นชี้นี่ และอาจจะเริ่มใช้มือตีที่ภาพบ้าง นอกจากนี้ เด็กบางคนอาจจะเริ่มพูดตามเสียงที่ได้ยิน ดังนั้น การซื้อหนังสือประเภทนี้ให้เด็ก ๆ อ่าน จะช่วยทำให้เด็กซึมซับและเรียนรู้ได้ไวค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หนังสือภาพพร้อมข้อความง่าย ๆ สำหรับเด็กวัย 2-3 ขวบ

เมื่อเด็กมีอายุย่างเข้าสู่วัย 2 ขวบ เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการด้านการพูดมากขึ้น เด็กจะสามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว ฉะนั้น หนังสือที่เหมาะกับเด็กช่วงวัยนี้ จะเป็นพวกหนังสือที่มีข้อความง่าย ๆ เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์พื้นฐาน เด็กวัย 2 ขวบจะเริ่มแสดงออกถึงความรู้สึกและความต้องการของตัวเองมากขึ้น หากหนังสือมีเนื้อหาเป็นเรื่องราวสั้น ๆ หรือใช้ภาษาที่คล้องจอง ก็จะยิ่งช่วยดึงดูดใจเด็กได้มากยิ่งขึ้น

 

ส่วนเด็กวัย 3 ขวบ จะเริ่มสื่อสารสิ่งที่ต้องการได้แล้ว จะอยากรู้อยากเห็น และชอบตั้งคำถาม ดังนั้น คุณแม่จึงควรเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาง่าย ๆ ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก มีคติสอนใจ แต่ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่แสดงถึงการเป็นศัตรู เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ในสิ่งที่ดี ๆ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 10 วิธีฝึกให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน สอนให้ลูก รักการอ่าน ได้ง่าย ๆ

เด็กแต่ละวัย ต้องอ่านหนังสือแบบไหน วิธีเลือกหนังสือสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย หนังสือทารกแรกเกิด

 

หนังสือที่มีคำและตัวอักษรสำหรับเด็กวัย 4-6 ปี

เด็กในช่วงวัยนี้ จะยังสนุกกับเรื่องเล่าหรือนิทานอยู่ แถมยังชอบฟังเรื่องเดิมซ้ำ ๆ เด็ก ๆ จะมีความสามารถในการฟังหนังสือที่ยาวมากขึ้น สามารถจดจ่อกับอะไรได้ค่อนข้างนาน ดังนั้น คุณแม่อาจจะเลือกเป็นหนังสือที่มีเรื่องเล่ายาว ๆ ขึ้นมาหน่อยก็จะดีค่ะ แถมเด็กบางคน ก็เริ่มที่จะอ่านหนังสือออกบ้างแล้ว เพราะฉะนั้น เวลาเด็กอ่านหนังสือ ก็อาจจะชอบตั้งคำถามเยอะ ๆ คุณแม่ต้องเตรียมตัวตอบน้อง ๆ ด้วยนะคะ

 

หนังสือความยาวไม่เกิน 50 หน้า สำหรับเด็กเล็ก อายุ 5-8 ปี

เด็กวัยนี้กำลังอยู่ในวัยเรียน เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้อะไรมากขึ้น ฉะนั้น หนังสือที่เหมาะกับเด็ก ต้องมีเรื่องราว มีตัวละคร มีความยาวไม่เกิน 50 หน้า และต้องอ่านง่าย ใช้ภาษาง่าย เด็ก ๆ จะเริ่มมีตัวละครที่ชอบ มีฮีโร่ หรือเจ้าหญิงในดวงใจ เพราะเริ่มอ่านหนังสือได้ด้วยตัวเอง ในช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะให้ลูก ๆ เลือกหนังสือเองว่าอยากอ่านเรื่องไหนด้วยก็ได้ค่ะ ทั้งนี้ หากลูกน้อยยังอ่านไม่คล่อง เราต้องคอยอยู่ข้าง ๆ ลูก เพื่อช่วยอ่านให้ลูกฟัง และหากลูกมีคำถาม ก็คอยตอบให้ลูกหายข้องใจ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอ่านเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำให้เรามองโลกในมุมของหนังสือที่เราเคยอ่านมาอีกด้วย หากมีคำพูดที่ว่า you are what you eat ก็คงมีคำพูดที่ว่า you are what you read เช่นเดียวกันค่ะ

 

ที่มา : facebook , littleheartbook

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
แจกฟรี!! หนังสือนิทานสำหรับเด็ก ทั้งภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ โหลดเลย
สร้างทักษะแห่งอนาคตด้วยการให้ลูกฟัง “นิทานดนตรี”
งานวิจัยเผย: คุณพ่อเป็นนักเล่านิทานก่อนนอนที่เก่งกว่าคุณแม่

บทความโดย

Khunsiri