4 วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก เพราะสมัยนี้ แค่ฉลาดอย่างเดียวไม่พอ

EQ หรือ อีคิว คืออะไร EQ/อีคิว ต่างจาก IQ/ไอคิว อย่างไร วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก มีอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4 วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก เพราะสมัยนี้ แค่ฉลาดอย่างเดียวไม่พอ

วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก

EQ หรือ อีคิว คืออะไร

EQ หรือ อีคิว มาจากคำว่า Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งมีประโยชน์และมีความสำคัญทั้งในเรื่องของชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว รวมไปถึงชีวิตการงานของลูกเมื่อเค้าโตขึ้น เช่น

  • บุคลิกภาพ

EQ หรือ อีคิว ช่วยส่งเสริมให้ลูกโตขึ้นมีบุคลิกภาพที่ดี มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ดี สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม เข้าใจความรู้สึก และความต้องการของผู้อื่น ทำให้โตขึ้นมาเป็นที่รักของบุคคลรอบข้าง และเป็นที่ยอมรับของสังคม

  • การทำงาน

EQ หรือ อีคิว ช่วยให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจ มีความพยายาม ส่งผลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การสื่อสาร

EQ หรือ อีคิว มีส่วนให้ลูกแสดงความรู้สึก และอารมณ์ของตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามกาละเทศะ

  • เข้าใจชีวิตของตนเองและผู้อื่น

EQ หรือ อีคิว จะช่วยให้ลูกมีความอดทน ควบคุมตนเองได้ เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

EQ/อีคิว ต่างจาก IQ/ไอคิว อย่างไร

IQ (Intelligence quotient) หรือ เชาว์ปัญญา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนหรือเด็กประสบความสำเร็จในการเรียน และมีโอกาสได้รับเลือกให้เข้าทำงาน แต่การที่จะประสบความสำเร็จในวิชาชีพ หรือความสำเร็จในชีวิตนั้น จะขึ้นกับ EQ (Emotional Quotient) หรือ เชาว์อารมณ์ มากกว่า

วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก

4 วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก

สำหรับวิธีเพิ่ม EQ ให้ลูกนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากการเลี้ยงดู บวกกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็ก ซึ่งแนวทางการพัฒนา EQ หรือ อีคิว ให้ลูกนั้น ทำได้โดย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตสังคม (Psychosocial development)

คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตสังคมให้ลูกได้ตามช่วงลำดับอายุ ดังนี้

  • แรกเกิดถึงปี : สร้างความไว้วางใจพื้นฐาน (Basic trust)

พ่อแม่ควรให้การดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ และตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างถูกต้อง แค่ไม่ตามใจจนเกินไป

  • อายุ 1 - 2 ปี : สร้างความสามารถควบคุมตนเอง (Self-Control)

พ่อแม่ควรหัดให้ลูกกิน นอน และขับถ่ายอย่างเหมาะสม แต่ไม่เข้มงวดเกินไป และควรให้เด็กมีโอกาสเล่น และสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยที่มีพ่อแม่คอยดูแลป้องกันอันตรายอย่างใกล้ชิด

  • อายุ3 - 5 ปี : พัฒนาความคิดริเริ่ม (initiative)

พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกเล่นแบบใช้จินตนาการ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และรับฟัง สนใจ และคอยตอบคำถามที่เด็กถามอย่างใจเย็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อายุ6 -12 ปี : พัฒนาความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน (industry)

พ่อแม่ควรให้โอกาส และส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ และฝึกฝนในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง และควรหัดให้ลูกช่วยทำงานบ้าน

2. ฝึกให้มีระเบียบวินัย (discipline) 

คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตั้งกฎเกณฑ์ภายในบ้านที่ชัดเจน จัดตารางกิจวัตรประจำวัน และให้เด็กรู้ว่า อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ที่สำคัญ พ่อแม่ต้องรับฟังความคิดเห็นของลูกด้วย

อย่างไรก็ตาม การฝึกระเบียบวินัย จะได้ผลต่อเมื่อผู้ใหญ่ในบ้านเห็นความสำคัญ และควรทำให้สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ด้วยท่าทีที่จริงจังแต่นุ่มนวล ไม่ใช้อารมณ์รุนแรง และหากลูกทำดี ก็ควรแสดงความชื่นชม ด้วยคำพูด หรืออาการอย่างเช่น ยิ้ม โอบกอด เป็นต้น

เพราะเด็กที่มีระเบียบวินัย จะมีความอดทน สามารถรอคอย ควบคุม และจัดการกับอารมณ์ได้ดีนั่นเอง

3. ฝึกให้รู้จักแก้ปัญหา (Problem solving skills)

ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ลูกคิด และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ไม่ทำให้ลูกทุกอย่างจนลูกทำอะไรเองไม่เป็น

และควรให้คำปรึกษา แนะนำอย่างมีเหตุผล และเข้าช่วยเหลือเมื่อสิ่งนั้นยากเกินความสามารถของลูก

4. ฝึกทักษะทางอารมณ์ (Emotional coaching) 

พ่อแม่ คนเลี้ยง และคุณครูในโรงเรียน ต้องคอยสังเกต และรับรู้อารมณ์ของเด็ก ๆ ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ช่วยปลอบโยน ระงับอารมณ์เวลาที่ลูกอารมณ์ไม่ดี ไม่โมโหลูก

และที่สำคัญที่สุด พ่อแม่ต้องเสียสละเวลาให้ลูก ใช้ความอดทน ใจเย็น ไม่ปิดกั้นการแสดงอารมณ์ด้านลบของลูก แต่ควรใช้เป็นโอกาสในการแนะนำพฤติกรรมที่เหมาะสม แล้วลูกของคุณ ก็จะมีพัฒนาการที่ดีควบคู่กันไปกับการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม


ที่มา si.mahidol.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

16 วิธีพัฒนา EF ช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาด เสริมสร้างทักษะการคิด

พ่อแม่อย่าเมิน 17 วิธี เลี้ยงลูกให้เก่งกว่าคนอื่น

อาหารอันตรายกินแล้วทำให้ลูกโง่ และพัฒนาการช้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul