วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

แม่ใกล้คลอดกลัวคลอดแล้วหมดแรง มีวิธีเบ่งคลอดอย่างไร หายใจแบบไหนถึงมีลมเบ่ง

วิธีเบ่งลูก การเบ่งคลอดที่ถูกวิธี คลอดธรรมชาติ คลอดลูกต้องหายใจแบบไหน ถึงมีลมเบ่ง ลดความเจ็บปวด ตอนคลอดไม่เหนื่อย วันนี้เราได้รวบรวม เทคนิคการหายใจ วิธีเบ่งลูก ที่แม่ท้องต้องรู้ !!

 

แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงระยะคลอด

  • เมื่ออายุครรภ์ถึงกำหนดคลอด เริ่มเจ็บท้องคลอดเริ่มด้วยการปวดหน่วง ๆ ที่หลังหรือปวดร้าวลงไปถึงต้นขา
  • รู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัว ปวดเหมือนเวลาปวดประจำเดือนมาก ๆ
  • มดลูกหดรัดตัวแรงและถี่ ประมาณทุก 5 นาที ควรตัดสินใจมาโรงพยาบาลทันที
  • การเจ็บครรภ์จริง แตกต่างจากการเจ็บครรภ์เตือน ซึ่งจะมีการหดรัดตัวของมดลูกเช่นกัน แต่จะไม่สม่ำเสมอและไม่รุนแรง อาการจะหายไปได้เอง
  • อาการสำคัญที่อาจเกิดร่วมกับการเจ็บครรภ์ ได้แก่ ถุงน้ำคร่ำแตกหรือที่เรียกว่าน้ำเดิน โดยจะมีน้ำปริมาณมากไหลออกมาจากช่องคลอด และแม้ว่า แม่อาจจะไม่รู้สึกเจ็บท้อง ก็ควรรีบมาโรงพยาบาล เพราะเมื่อมีน้ำเดินจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • อาจมีมูกหรือมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดได้

ทั้งนี้ ความเจ็บปวดในระยะคลอดเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อทำให้ปากมดลูกเปิด ให้ทารกผ่านออกมาได้ ซึ่งการเจ็บครรภ์นี้ในระยะที่หนึ่งของการคลอดจะใช้เวลาราว 10-12 ชั่วโมงในคุณแม่ท้องแรก แต่คุณแม่ท้องหลังจะใช้เวลาสั้นกว่า

 

วิธี การ เบ่ง ลูก

 

ความเจ็บปวดตอนเบ่งคลอด

  1. เมื่อความเจ็บปวดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ร่างกายก็จะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมา ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายสารมอร์ฟีนช่วยระงับความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ ทำให้ในระยะใกล้คลอดคุณแม่จะเจ็บปวดน้อยกว่าในระยะแรก
  2. ถ้าคุณแม่รู้สึกเจ็บปวดมากจนทนไม่ไหว ก็สามารถขอยาระงับปวดจากแพทย์ในรูปแบบต่างๆ ได้
  3. คุณแม่สามารถลดความเจ็บปวดได้ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีฝึกการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวด

 

ฝึกการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดตอนเบ่งคลอด

  • การเปลี่ยนความสนใจจากความเจ็บปวดที่กำลังเกิดขึ้นมาอยู่ที่การฝึกการหายใจ คล้ายกับการฝึกสมาธิโดยฝึกหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ เพ่งสมาธิมาที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก พร้อมกับนึกถึงแต่สิ่งดี ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น การที่จะได้พบกับหน้าลูกที่รอคอย หรืออาจมีการสอนการลูบหน้าท้องเพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ จากบริเวณที่เจ็บปวดไปยังส่วนอื่นด้วย
  • ช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในการเจ็บท้องคลอด จะเกิดตอนสิ้นสุดระยะที่หนึ่งของการคลอด ซึ่งการเจ็บครรภ์จะรุนแรงที่สุดและถี่มากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกอ่อนล้า หมดกำลัง อาจหดหู่ถึงกับร้องไห้ และจะม่อยหลับเมื่อการเจ็บท้องคลายลง
  • เมื่อคุณแม่เข้าสู่ระยะที่สองของการคลอด หรือระยะเบ่ง เมื่อคุณแม่รู้สึกอยากเบ่งหรือตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิดหมดและเริ่มเบ่งได้ คุณแม่จะรู้สึกดีกว่าในระยะแรกเพราะสามารถออกแรงเบ่งร่วมไปกับการหอรัดตัวของมดลูกได้
  • ท่าที่สบายโดยส่วนใหญ่จะใช้ท่านอนหงายชันเข่า พยาบาลจะคอยแนะนำให้กำลังใจในการเบ่งคลอด ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในระยะนี้ได้โดยการค่อย ๆ เบ่งอย่างนุ่นนวล และออกแรงอย่างสม่ำเสมอในแต่ละครั้งที่มดลูกหดรัดตัว
  • พยายามผ่อนคลายอวัยวะทุกส่วน ไม่ต้องกังวลเรื่องกลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะขณะเบ่งรวมทั้งพักและผ่อนคลายให้มากที่สุดในช่วงพักจากการเบ่งแต่ละครั้ง เพื่อเก็บแรงใช้เบ่งในครั้งต่อไป

หลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว จะเข้าสู่ระยะที่สามของการคลอด แพทย์หรือพยาบาลในห้องคลอดจะทำการช่วยคลอดรก เนื่องจากหากรอให้รกคลอดตามธรรมชาติอาจจะเสียเลือดมากหรือเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเสียเลือดได้โดยจะใช้วิธีใช้มือกดบริเวณท้องน้อยร่วมกับดึงสายสะดือเพื่อทำให้รกคลอด ภายหลังรกคลอดแล้วจะตรวจดูความครบถ้วนของรกอีกครั้งหนึ่ง

 

วิธีเบ่งลูก วิธีเบ่งคลอดลูก วิธี การ เบ่ง ลูก

วิธีการเบ่งลูก วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ระยะที่ 1 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 เซนติเมตร

ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด ให้หายใจเข้าทางปากหรือจมูกก็ได้อย่างช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้ทรวงอก นับจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 (จะหายใจได้ประมาณ 6 – 9 ครั้ง/นาที) อัตราการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นะคะ ตลอดระยะเวลาที่เจ็บท้อง พอมดลูกบีบตัวหดเกร็งก็ให้หายใจเข้าลึกและพอมดลูกคลายตัว และผ่อนอีกหนึ่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าในเวลานั้นคุณแม่ไม่สามารถใช้การหายใจวิธีนี้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดได้ ให้เปลี่ยนวิธีการหายใจเข้าทางจมูกหรือปากก็ได้ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางจมูกหรือปากช้า ๆ โดยจำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 6 – 9 ครั้ง / นาที

ระยะที่ 2 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 – 7 เซนติเมตร

ในระยะนี้ปากมดลูกเปิดใกล้จะหมดแล้ว การบีบตัวของมดลูกจะค่อย ๆ บีบตัวจากน้อยไปจนถึงบีบตัวเต็มที่ และมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรง หลังจากนั้นมดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวเต็มที่ที่สุด ในระยะนี้ให้หายใจเข้า – ออกช้า ๆ ควบคู่ไปกับการบีบตัวของมดลูกแล้วค่อย ๆ หายใจเร็วขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก และเมื่อมดลูกเริ่มคลายตัวลงก็ให้หายใจช้าลง จนช้าที่สุดเมื่อมดลูกเปิดหมด

การหายใจในตอนนี้จะเป็นลักษณะเร็ว ตื้น วิธีปฏิบัติ คือ

  • เมื่อเริ่มเจ็บท้องให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง แล้วหายใจเข้า ออก ผ่านปากและจมูกแบบเบา ๆ ตื้น ๆ เร็ว ๆ จำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที
  • เมื่ออาการเจ็บท้องขณะเบ่งคลอดทุเลาลง ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง

ระยะที่ 3 : ระยะปากมดลูกเปิดหมด 7 – 9 เซนติเมตร

ในช่วงนี้ปากมดลูกเปิดกว้างเต็มที่เป็นระยะใกล้คลอดและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุด จนไม่สามารถใช้วิธีการหายใจตามที่กล่าวมาใน 2 ระยะแรก ขอให้คุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำใจให้เป็นสมาธิจากความเจ็วปวดไปอยู่ที่ลมหายใจ วิธีปฏิบัติ คือ

  • เมื่อมดลูกเริ่มหดตัวให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง เพื่อล้างปอด
  • ต่อจากนั้นให้หายใจแบบตื้น เร็ว เหมือนหายใจหอบค่ะ 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกัน ต่อจากนั้น หายใจออกและเป่าลมออกยาว ๆ 1 ครั้ง ในอัตราการหายเข้าเท่ากับหายใจออกทุกครั้ง ทำสลับกันไป จำนวนของการหายใจอยู่ที่ประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

ระยะที่ 4 : ระยะเบ่งคลอด

ในระยะนี้คุณแม่ควรอยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะและไหล่ยกขึ้น งอเข่า แยกมือไว้ใต้เข่า ดึงต้นขา ให้เข่าชิดหน้าท้องให้มากที่สุด จากนั้นให้หายใจเข้า – ออก ในลักษณะพีระมิด

การหายใจลักษณะพีระมิด ทำได้ดังนี้

  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ คือ หายใจเข้า / หายใจออก,แล้วเป่า ไปจนถึงหายใจเข้า / หายใจออก 5 ครั้งแล้วเป่า จากนั้นให้ลดจำนวนครั้งการหายใจเข้า – ออก แล้วเป่ามาเป็น 5, 4, 3, 2, 1 จนเมื่ออาการเจ็บทุเลาลง
  • ให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ เพื่อล้างปอด 1 – 2 ครั้ง และเริ่มต้นใหม่เมื่อมดลูกบีบตัวใหม่ การหายใจในช่วงที่มีลมเบ่งคลอด ให้หายใจเข้าให้เต็มที่ให้ลึกที่สุดทั้งทางปากและทางจมูก แล้วกลั้นหายใจไว้ปิดปากให้แน่น ออกแรงเบ่งไปบริเวณช่องคลอดพร้อมกับหายใจออก ทำหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน

 

การหายใจในระยะเบ่งคลอดทั้ง 4 วิธีนี้ ควรฝึกทำทุกวันในช่วงไตรมาสที่ 2 เพื่อให้เกิดความชำนาญ การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เมื่อถึงเวลาจริงคุณแม่จะได้ใช้ควบคุมตนเองได้เมื่อเวลาเจ็บครรภ์คลอด

ส่วนการหายใจในระยะเบ่งคลอดนั้น การฝึกหายใจไม่ต้องออกแรงมาก เพราะจะเกิดแรงดันต่อทารกในท้อง การฝึกหายใจให้คุณแม่สมมติว่าตนเองกำลังอยู่ในระยะเจ็บครรภ์ที่มีการบีบตัวของมดลูกตั้งแต่ ช่วงที่มดลูกเริ่มบีบตัว มดลูกบีบตัวเต็มที่ จนมดลูกเริ่มคลายตัว และคล้ายตัวได้ทั้งหมด ซึ่งจะกินเวลาครั้งละประมาณ 1 นาที คุณแม่จะรู้สึกหายเจ็บไปได้บ้าง ได้พักประมาณ 5 – 10 นาที มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวครั้งใหม่เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

 

วิธีเบ่งคลอดให้มีลมเบ่ง แม่ต้องฝึกการหายใจและเบ่งคลอดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ต้องฟังหมอและพยาบาลที่คอยเชียร์ให้เบ่งคลอด เพื่อให้การเบ่งคลอดเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่หมดแรงไปเสียก่อน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีท่าอะไรบ้าง แม่ท้องคลอดลูกเองควรเลือกท่าอะไรดี?

เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด

ขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้ ขั้นตอนคลอดลูกแต่ละสเต็ป

อาหารที่มีไอโอดีนสําหรับคนท้อง ความต้องการไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันลูกในท้องสมองพิการ

ที่มา : https://www.si.mahidol.ac.th

บทความโดย

Tulya