วิธีเคาะปอด ระบายเสมหะ แม่ทำให้ลูกได้ง่ายๆ ที่บ้าน

การเคาะปอดระบายเสมหะ ร่วมกับการจัดท่าระบายเสมหะ และการไอที่ถูกวิธีจะช่วยให้เสมหะหลุดออกมาจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่มีเสมหะมากๆ ในเด็กเล็กอาจต้องใช้ลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปาก หากมีบางส่วนกลืนลงไปบ้าง ร่างกายก็จะขับถ่ายออกมาได้เอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเคาะปอด ระบายเสมหะ

วิธีเคาะปอด ระบายเสมหะ แม่ทำให้ลูกได้ง่ายๆ ที่บ้าน

วิธีเคาะปอด  คืออะไรการเคาะปอด คือ การใช้แรงสั่นจากลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ ไปทำให้เสมหะหลุดจากหลอดลม โดยใช้ผ้าบางๆ วางบนตำแหน่งที่จะเคาะ โดยทำมือเป็นกระเปาะ ปลายนิ้วชิดกัน ข้อมือ ข้อศอก และไหล่เคลื่อนไหวสบายๆ ขณะเคาะ ด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที ให้ทั่วๆ บริเวณทรวงอกส่วนที่เคาะอยู่ โดยวนเป็นวงกลม หรือเลื่อนไปทางซ้ายและขวา

การจัดท่าระบายเสมหะ

การจัดท่าระบายเสมหะที่เหมาะสม จะช่วยให้เสมหะจากปอดส่วนต่างๆ ถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น ให้ทำการเคาะในแต่ละท่า ท่าละ 3-5 นาที รวมทุกท่าไม่ควรนานเกิน 30 นาที และจึงลุกนั่งหรือยืนเพื่อให้ไออย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเด็กเหนื่อยหรือเบื่อ ให้ทำเพียงบางท่าก็ได้ และควรทำก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้อาเจียนหรือสำลัก

การไอที่ถูกวิธี

การไอให้มีประสิทธิภาพ ต้องหายใจเข้าเต็มที่ แล้วกลั้นหายใจ 1-2 วินาที เพื่อให้ลมกระจายไปทั่วทุกส่วนของปอด และมีแรงขับดันเอาเสมหะออกมาได้เต็มที่ จากนั้นไอติดต่อกัน 2-3 คั้ง การให้เด็กเล็กสูดหายใจเข้าเต็มที่ อาจใช้ของเล่นที่ต้องสูดหายใจแรงๆ มาช่วย เช่น เป่าลูกโป่ง เป่าฟองสบู่ หรือเป่ากังหัน เป็นต้น

สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ให้คำแนะนำในการเคาะปอดไว้ดังนี้

เมื่อใดที่ควรเคาะปอด

  1. ไอ เสมหะมาก หายใจเสียงดังครืดคราด
  2. มีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมจำนวนมาก เช่น ปอดอักเสบ
  3. พบภาพรังสีทรวงอก แสดงภาวะปอดแฟบเนื่องจากการอุดตันของเสมหะ
  4. ผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะเสมหะคั่งค้าง
  5. ผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด ที่มีปัญหาของเสมหะคั่งค้างในปอดและหลอดลม
  6. ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่มีปัญหาของเสมหะคั่งค้างในหลอดลม ไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วยตนเอง

    ข้อควรระวังในและควรหยุดทันทีขณะเคาะปอด

    1. ลูกบ่นหรือเจ็บ ปวดบริเวณที่เคาะ หรือมีประวัติได้รับการกระแทกที่หน้าอก
    2. มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำ หายใจจมูกบาน
    3. ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ

    ข้อห้ามในการเคาะปอด

    • มีภาวะกระดูกหักบริเวณทรวงอก
    • มีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็ง วัณโรคปอด
    • มีอาการหอบเหนื่อย ตัวเขียว
    • มีแผลเปิด หรือหลังผ่าตัดที่แผลยังไม่ติดดี
    • มีภาวะกระดูกผุ
    • มีภาวะเสี่ยงต่อการเลือดออกง่ายโดยสังเกตได้จากสีผิว สีปากคล้ำ หน้าซีด สัญญาณชีพผิดปกติ เช่น มีไข้สูง หายใจเร็วและความดันโลหิตสูง

    เคาะปอดทำได้บ่อยแค่ไหน

    ส่วนมากเสมหะจะคั่งค้างมาตลอดคืน พอตื่นเช้าจึงไอมาก การเคาะปอดควรทำเมื่อตื่นเช้าและก่อนเข้านอน เพื่อให้หลับสบายและอาจทำเพิ่มก่อนอาหารกลางวัน ช่วงบ่าย รวมทั้งกลางคืน ถ้านอนหลับไปสักพักแล้วไอมาก จะช่วยให้เด็กหลับต่อได้ดีขึ้น

    Loading...
    You got lucky! We have no ad to show to you!
    ติดต่อโฆษณา

    ทราบได้อย่างไรว่าลูกดีขึ้น

    ลูกจะไอลดลง เสียงครืดคราดลดลง ดื่มนมและหลับได้นานขึ้น

    ชมคลิปสาธิตการเคาะปอดระบายเสมหะลูกอย่างถูกวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา

เอกสารเผยแพร่ ช่วยเด็กเพื่อไอเอาเสมหะออกเองได้อย่างไร โรงพยาบาลวิภาวดี

YouTube Thirathat Thongkaew สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Weerati