เนื่องจากทารกไม่สามารถบอกเราได้เมื่อเขารู้สึกถูกกระตุ้นมากเกินไป จากการที่ผู้ใหญ่ต่างพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับเขาตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจด้วยว่า เจ้าตัวน้อยก็ต้องการพื้นที่และเวลาส่วนตัวเช่นเดียวกับผู้ใหญ่นะคะ
ไม่มีใครชอบที่จะรู้สึกเหมือนไม่มีใครฟัง เวลาที่เราบอกว่า “พอได้แล้ว” แต่ทารกไม่สามารถที่จะสื่อสารข้อความนี้ให้ผู้ใหญ่รับรู้ได้นะคะ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเรียนรู้ที่จะรับสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ที่ลึกซึ้งของเบบี๋ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป
สังเกตอาการเมื่อลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป
หากลูกน้อยรู้สึกเหนื่อยล้า ต้องการพักผ่อน และเกิดความเครียดจากการถูกกระตุ้นมากเกินไป คุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้
- ลูกไม่สบตา พยายามมองไปที่อื่น
- หาว บิดตัว หัวใจเต้นเร็ว
- หนักตา ทำท่าจะหลับ
- ทำเหมือนว่าหิว และต้องการที่จะดูด
- หลับทั้งที่ดูดนม แม้จะยังไม่อิ่ม
- ร้องไห้ไม่มีเหตุผล ปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุด
- ร้องเสียงดังและรุนแรงขึ้น
- ไม่สบายตัว กระสับกระส่าย
บทความแนะนำ baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก
เมื่อไหร่ที่ควรหยุดกระตุ้นลูก?
- หลังจากให้นมจนอิ่ม เจ้าตัวน้อยไม่แสดงอาการว่าหิวอีก
- เมื่อลูกรู้สึกเหนื่อย
- เมื่อลูกเล่นและใช้พลังงานเป็นเวลานาน
- เมื่อลูกถูกคนโน้นคนนี้อุ้มหลายคน
- เมื่อลูกได้ยินเสียงคนโน้นคนนี้พูดตลอดเวลา หรืออยู่ในที่ๆ มีเสียงดัง
- เมื่อลูกทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือจากกิจวัตรปกติ
- เมื่อลูกทำท่าเหมือนจะไม่สบาย
ลดการกระตุ้นลูก ควรทำอย่างไร?
- เมื่อลูกส่งสัญญาณว่าพอได้แล้ว ให้สังเกตตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ เช่น กอด ตบ โยก ทำเสียงดัง หรืออื่นๆ
- หยุดสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ และให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกกำลังบอกคุณ
- ปิดเสียงที่ดังรบกวน
- ทำห้องให้มืด
- หยุดพูด แล้วทำเสียงชูวววส์ อย่างอ่อนโยน
- เช็กว่าลูกสบายตัวหรือเปล่า เช่น ไม่หิว ผ้าอ้อมไม่แฉะ ไม่หนาว หรือร้อนเกินไป
- กล่อมลูกนอน ตบก้นเบาๆ
- หากเป็นช่วงที่ญาติๆ มาเยี่ยม อาจต้องขอตัวขึ้นชั้นบน เพื่อให้ลูกได้พักผ่อน
เด็กทารกต้องการการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้น คุณแม่ควรระวังอย่ากระตุ้นลูกมากเกินไป และคอยสังเกตสัญญาณที่เจ้าตัวน้อยส่งมาด้วยนะคะ
ที่มา kidspot.com.au
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
เคล็ดลับกล่อมลูกนอนด้วยเสียง white noise
เสียงร้องไห้แบบนี้ทารกอยากบอกอะไร