วิธีพูดกับลูกเชิงบวก เมื่อต้องเจอกับคนที่พูดกับลูกแบบนี้ แม่จะสอนลูกยังไงดี ไม่ให้ดราม่า

คนนอกได้ยิน ยังรู้สึกโกรธแทน เวลาที่มีคนเปรียบเทียบเด็กต่าง ๆ นานา เพื่อตอกย้ำความต่าง แต่คุณแม่คนนี้เปลี่ยนวิกฤต เป็นโอกาสในการสอนลูก มาอ่านแนวคิดการเลี้ยงลูกของคุณแม่ท่านนี้กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีพูดกับลูกเชิงบวก

วิธีสอนลูก เมื่อเจอคำพูดแบบนี้ วิธีพูดกับลูกเชิงบวก เปลี่ยนความคิด การมองโลก ให้ลูกรู้จักความพิเศษในความแตกต่าง เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะเติบโตอย่างเข้มแข็ง โดยคุณแม่ท่านหนึ่ง นำประสบการณ์ที่ลูกเจอ มาบอกเล่า พร้อมพูดคุยกับทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ถึงวิธีสอนลูกในแบบฉบับของเธอ

 

สำหรับเรื่องที่เธอโพสต์เล่าคือ เรื่องเล่าของ…..หอยทาก

ลูก: แม่ ๆ วันนี้ที่โรงเรียน คุณครูเวรว่าหนูอีกแล้ว

แม่: ว่าหนูว่าอะไร? หนูไปทำอะไรผิดเหรอ?

ลูก: หนูทำงานไม่ทันเพื่อน ใส่รองเท้าก็ไม่ทัน ครูเลยบอกว่า หนูคือ หอยทาก เพื่อนทุกคนในห้อง คือ กระต่าย

แม่: นิ่งไปสักพัก…(ในใจรู้สึกโมโห อยากจะขับรถไปถามคุณครูเดี๋ยวนั้นเลย ว่าพูดกับเด็กได้ไง )…หอยทาก หรือลูก

ลูก: ใช่แม่ หนูไม่ชอบเลย (หน้าเศร้า)

แม่:หนูรู้จักมันเหรอ แต่แม่ชอบนะ และแม่ก็เคยคิดว่าอยากเป็นหอยทากด้วยนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูก:(สงสัย) ทำไมเหรอแม่?

แม่: เพราะมันเป็นสัตว์ที่ตัวเล็ก ๆ แต่แข็งแรงมาก สามารถแบกน้ำหนักได้ถึง 12 เท่าของน้ำหนักของมันเองไงและทุกวันนี้เมือกของหอยทาก ก็ขายได้เงินเยอะแยะเลย

ลูก:(กำลังสนใจ)

แม่:หนูลองคิดสิถ้าหนูอยากให้แม่เป็นตัวอะไรสักอย่าง หนูจะให้แม่เป็นตัวอะไรดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูก: หมา

แม่: หมาเหรอ? แม่ก็ชอบนะเพราะข้อดี คือมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ซื่อสัตย์ทีเดียวเลย

หลังจากนั้นก็ผลัดกันว่าจะเป็นอะไรดีและแต่ละชนิดมีอะไรที่เป็นจุดเด่นดี ๆ เรื่องนี้ทำให้เราเข้าใจว่า เราไม่สามารถไปบังคับเปลี่ยนความคิดของใคร หรือ อยากให้เค้าเข้าใจเราได้ แต่เราสามารถที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของเด็กที่เหมือนผ้าขาว ให้มองเห็นในข้อดีได้ในปัญหา ที่บางครั้งคนเป็นครูมองไม่เห็น..(หวังว่าประสบการณ์ตรงของตัวเองจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่เคยเจอแบบเราค่ะ)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

…ลูกของเราอายุ 7 ปีค่ะ เรียนอยู่ ป.1 คุณแม่เกริ่นให้เราได้รู้จักลูกชายตัวน้อย ก่อนจะตอบคำถามอื่น ๆ

จากสิ่งที่แม่โพสต์ แม่ใช้คำว่า “ว่าหนูอีกแล้ว” เราจึงถามคุณแม่อีกครั้งว่า น้องโดนคุณครูว่าบ่อย ๆ หรือเปล่า

คุณแม่ตอบว่า “ใช่ค่ะ เลยถามดูว่า คุณครูพูดกับหนูแบบนี้ทุกวันไหม น้องเลยบอกว่า ว่าบ่อยแต่บางครั้งก็ไม่ว่า ก็เลยคิดว่าคงมีการพูดซ้ำอยู่ 2-3 ครั้ง เด็กเลยเกิดความจำ หรือ เป็นคำพูดที่มีผลต่อจิตใจถึงได้จดจำค่ะ”

 

แนวคิดการสอนลูก ปรับมุมคิด มุมมองของลูกอย่างไรดี?

คุณแม่บอกว่า ตอนแรกที่คิดได้คือ เด็กที่รู้สึกแตกต่างจากคำพูดของผู้ใหญ่ เค้าคงจะรู้สึกเหมือนตัวคนเดียว เลยให้กำลังใจโดยบอกว่าแม่ก็เป็นพวกเดียวกับหนูนะ และอยากเป็นเหมือนกัน โดยบอกสิ่งที่เป็นจุดเด่นในสิ่ง ๆ นั้น แล้วก็ ยกตัวอย่างการ์ตูน ที่เป็นสัตว์ต่าง ๆ ที่เคยดูด้วยกัน ให้เค้าเห็นภาพ ไม่ว่าจะเป็น เต่า ก็สามารถเป็นฮีโร่ แบบนินจาเต่าได้ค่ะ เพราะทุกตัวต่างมีความพิเศษแตกต่างกัน

 

ทุกอย่างมีความพิเศษของตัวเอง ความธรรมดาก็พิเศษได้

เคยเล่าเรื่องหนึ่ง ให้เค้าฟังว่า หนูรู้ไหม ฮีโร่ในชีวิตจริงบางครั้งเค้าอาจจะไม่ได้มีพลังพิเศษ หรืออาวุธพิเศษ เหมือนในหนัง เป็นแค่คนธรรมดา ที่มีความกล้าหาญ ต่อสู้กับปัญหา และ อุปสรรค เค้าก็เป็นฮีโร่ได้เหมือนกันนะ

 

“เพราะความเป็นฮีโร่ และความกล้าหาญ ออกมาจากข้างใน ไม่ใช่ สิ่งที่ออกจากที่คนอื่นพูดค่ะ” คุณแม่ทิ้งท้าย

 

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอขอบคุณคุณแม่ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ด้วยนะคะ นอกจากนี้ เรายังมีวิธีพูดเชิงบวกกับลูก โดยฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้นำไปปรับใช้ในการสอนลูกด้วยค่ะ

 

วิธีพูดเชิงบวกกับลูก

เวลาที่ลูกงอแง ทำตัวไม่น่ารัก หรือกำลัง โกรธเคืองเรื่องใด ๆ วิธีการและการเลือกใช้ คำพูดของพ่อแม่นั้นสำคัญมาก ไม่เฉพาะกับ สถานการณ์ตรงหน้า ที่อาจทำให้ดีขึ้นหรือแย่ลง ก็ได้ทั้งนั้น แต่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเป็น ตัวตนของลูกที่จะคงอยู่ไปจนโตเลยทีเดียว ลองดูทางเลือกที่น่าสนใจกันนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. รับฟังอย่างตั้งใจ โดยนั่งลงให้สายตาอยู่ใน ระดับเดียวกับลูก ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้น ให้ลูกแสดงความคิดความรู้สึกออกมา เช่น “ตอนนั้นลูกรู้สึกอย่างไร?”
  2. ไม่ด่วนตัดสิน อย่าเพิ่งดุหรือโต้เถียงลูก แม้ลูกจะผิดจริงก็ตาม ลองเปิดใจฟังความคิด ลูกก่อน ลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่อยู่ฝ่ายเดียวกับ เขา และอยากให้ความร่วมมือมากกว่าต่อต้าน เช่น “ไหนบอกหน่อยสิ ว่าทำไมถึงไม่อยากไป โรงเรียน?” “ทำไมลูกถึงไม่ยอมเก็บของเล่น?”
  3. ยอมรับความรู้สึก เป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกจะยังควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ พ่อแม่ต้องยอมให้ลูก ได้ปล่อยพลังด้านลบออกมาบ้าง อย่าเพิ่งห้าม ว่า “อย่าโกรธนะ!” หรือ “หยุดร้องไห้ได้แล้ว!” แค่แยกตัวลูกออกมาจากสถานการณ์ต้นเหตุ ไม่ต้องพูดอะไรมาก คอยอยู่เคียงข้างและบอก ว่า “แม่เข้าใจนะ” รอให้ลูกสงบ แล้วค่อยมาว่า กันด้วยเหตุผล พูดไปตอนนี้ก็ไม่ฟังหรอก
  4. ตำหนิที่การกระทำ ไม่ใช่ตัวตน เรื่องนี้สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกพูดคำหยาบ ให้ย้ำว่า สิ่งที่ไม่ดีคือ คำพูด ไม่ใช่ตัวลูก วิธีนี้จะช่วยให้ ลูกแยกแยะพฤติกรรมไม่ดีออกมาได้ง่าย และ เรียนรู้ที่จะไม่ทำอีก โดยไม่รู้สึกแย่กับตัวเอง หรือคิดน้อยใจไปว่าแม่ไม่รัก แทนที่จะพูดว่า “ลูกแย่มากเลยที่พูดแบบนั้นกับแม่” ให้เปลี่ยน เป็น “คำพูดแบบนั้นไม่ดีเลย ไม่ควรใช้พูด กับคนอื่น”
  5. เป็นตัวอย่างเรื่องการจัดการกับความรู้สึก พ่อแม่ก็คือคนธรรมดาทั่วไปที่มีอารมณ์ความรู้สึกได้เหมือนกัน บอกให้ลูกรู้ได้ ที่สำคัญต้อง แสดงให้ลูกเห็นว่าความรู้สึกต่าง ๆ ไม่ได้อยู่กับ เราตลอดไป หาเหตุให้เจอ และหาวิธีจัดการ กับมัน เช่น “แม่รู้สึกเสียใจนะที่ลูกใช้คำพูด แบบนั้น” “ขอเวลาแม่อยู่เงียบ ๆ สักห้านาที นะ” หรือ “รอให้พ่อใจเย็น หายหงุดหงิดก่อน นะ แล้วเรามาคุยกันใหม่”
  6. นำเสนอทางเลือก เด็ก ๆ ก็อยากมีสิทธิในการ เลือกและตัดสินใจได้ด้วยตัวเองแบบผู้ใหญ่ บาง ครั้งเมื่อลูกงอแงไม่ยอมทำตาม ลองเปลี่ยน จากการใช้คำสั่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกเลือก บ้าง เช่น แทนที่จะบอกว่า “มาแต่งตัวได้แล้ว ลูก” ให้พูดว่า “ลูกอยากใส่ชุดสีส้ม หรือสีฟ้า จ๊ะ?” เปลี่ยนจาก“แปรงฟันได้แล้วลูก” เป็น “ลูกอยากแปรงฟันก่อน หรือจะอาบน้ำก่อน” ให้หลีกเลี่ยงคำถามที่จะเปิดช่องให้ลูกตอบว่า “ไม่!” ได้ง่าย ๆ

 

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเลี้ยงลูกสาวสำหรับคุณพ่อ เลี้ยงยังไงให้ได้ใจลูกสาว

เผยสาเหตุ ลูกก้าวร้าว ที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้มาก่อน

15 พฤติกรรมเสี่ยงออทิสติกเทียม เจ้าตัวเล็กบ้านไหน ดูทีวี เล่นเกม ต้องอ่าน!

ลูกดื้อ สอนไม่จำ ผิดที่ลูกหรือเป็นเพราะเราเองที่สอนลูกผิดวิธี

พ่อแม่ ไม่ควรพูดกับลูก เพียงประโยคเดียว ทำร้ายลูกได้ทั้งชีวิต พูดไปจะเสียใจทีหลัง

 

บทความโดย

Tulya