วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟองอากาศ เทคนิคชงนมลดอาการท้องอืดของทารก

วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟองอากาศ พ่อแม่ต้องชงนมอย่างไรให้ถูกวิธี เทคนิคชงนมให้ทารกเพื่อลดอาการท้องอืด วิธีการชงนมให้ทารกที่พา่อแม่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟองอากาศ

ลูกท้องอืดบ่อยอาจมีผลมาจากอากาศในขวดนมที่คุณแม่ให้ลูกน้อยดื่มอยู่ เมื่ออากาศเข้าไปอยู่ในท้องลูกน้อยจำนวนมากก็จะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการปวดท้อง ท้องอืดจากก๊าซจำนวนมาก ซึ่งคุณแม่สามารถป้องกันการเกิดก๊าซได้ โดยการเลือกใช้ขวดนมที่ลดการเข้าไปของอากาศ และอีกวิธีคทอการชงน้ำที่ถูกวิธีค่ะ แล้วต้องชงน้ำแบบไหนเพื่อไม่ให้อากาศเข้าขวดนมบ้าง มาดู วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟองอากาศ กันเลยค่ะ

วิธีเตรียมขวดนมให้ลูก

  1. นำขวดนมและจุกนมไปล้างทำความสะอาดในน้ำต้มเดือด 15 -20 นาที
  2. นำขวดนมและจุกนมไปตากให้แห้งสนิท
  3. นำจุกนมมาใส่กับฝาขวดนมให้เรียบร้อย
  4. สังเกตุดูว่าขวดนมสามารถนำมาใช้งานต่อได้หรือไม่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีขวดนมเพียงขวดเดียว เพราะขวดนมที่โดนความร้อนจากการทำความสะอาดบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการชำรุดได้ค่ะ หากคุณแม่เห็นว่าขวดนมบิดเบี้ยว มีรอยร้าว มีสีขุ่นลง ไม่ใสเหมือนเดิม หรือมีรอยขีดข่วนมากก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วค่ะ

วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟอง 

ขั้นที่ 1

นำขวดนมที่ออกแบบมาเพื่อลดการไหลของอากาศเข้าไปยังขวดนมจะดีที่สุดค่ะ หากคุณแม่ไม่มีก็ไม่เป็นไร ให้นำขวดนมที่ต้องการจะนำให้ลูกดื่มออกมา และที่สำคัญควรเลือกขนาดควรนมให้เหมาะกับปริมาณนมที่จะให้ลูกดื่มค่ะ เพื่อป้องกันการเกิดอากาศในขวดนมให้มากที่สุด

วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟองอากาศ

ขั้นที่ 2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลือกจุกนมที่มีอัตราการหยดต่ำ อยู่ที่ประมาณ 1 หยดต่อวินาที เนื่องจากจุกนมประเภทนี้มีความเหมาะสมกับจังหวะการดูดนมและการกลไกการกลืนของทารก ซึ่งจะช่วยลดอากาศลดได้ค่ะ

เทคนิคชงนมลดอาการท้องอืดของทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขั้นที่ 3

นำน้ำอุ่นประมาณ 60 องศาเซลเซียสมาใช้ในการชงนม โดยเทน้ำใส่ขวดนมประมาณ 1 ใน 3 ของขวดนม แล้วตักนมผงใสลงไปในสัดส่วนที่ต้องการ จากนั้นใช้ช้อนคนให้นมกับน้ำผสมกันแล้วค่อยๆ เติมน้ำเพิ่มให้ได้ปริมาณที่ต้องการ วิธีนี้จะทำให้ช่วยลดการเกิดฟองได้ดีกว่าการเขย่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีชงนมไม่ให้เกิดฟอง

ทำอย่างไรไม่ให้ลูกท้องอืด

คอยสังเกตดูว่าลูกน้อยดูดนมหรือดูดช่องอากาศภายในขวดนม หากคุณแม่เห็นว่าลูกดูดอากศให้ลองปรับตำแหน่งของขวดนมใหม่ ถ้าเมื่อไหร่ที่นมเริ่มน้อยลงก็ให้ขยับขวดนมตั้งขึ้นเพื่อไม่ให้ลูกน้อยดูดอากาศแทนนมค่ะ และเมื่อลูกดื่มนมหมดก็ให้รีบนมขวดนมออกทันที

หลังจากที่ลูกดื่มนมจนหมดแล้ว ก็ต้องจับลูกเรอ ซึ่งตามข้อมูลของ  Healthy Children ได้แนะนำว่าให้พ่อแม่จับลูกเรอหลังจากให้ลูกดื่มนมได้ทุกๆ 2 -3 ออนซ์ เพื่อป้องกันการเกิดก๊าซในกระเพาะค่ะ

ที่มา: livestrong

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

10 เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่แม่ให้นมอยากรู้มากที่สุด แม่ให้นมอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง?

วิธีทำให้น้ำนมมาเร็ว ทำให้น้ำนมแม่ไหลมาก หลังคลอดต้องทําอะไรบ้าง เพื่อให้น้ำนมแม่มาเร็ว ๆ

ขวดนมคอแคบ ขวดนมคอกว้าง ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนให้ลูกดี

บทความโดย

Khunsiri