วอนช่วย เด็ก 4 ขวบ โดนรถทับหัว กะโหลกยุบ ตาบอด 2 ข้าง
วอนช่วย เด็ก 4 ขวบ โดนรถทับหัว กะโหลกยุบ ตาบอด 2 ข้าง วอนผู้ใจบุญช่วยเหลือ ด.ญ.ธิติญาภัค โสภาพล หรือ น้องไข่มุก อายุ 4 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดนรถกระบะไหลมาทับหัวขณะกำลังวิ่งเล่นกับพี่ชาย ระหว่างที่ตาคือนายอำนวย ทองบ้านโคก พาออกไปเก็บผักมาเลี้ยงหมูที่ทุ่งนา ถูกรถกระบะไหลมาทับหัวขณะกำลังวิ่งเล่นกับพี่ชาย
ได้รับบาดเจ็บสาหัสกะโหลกด้านขวายุบ และต้องผ่าตัดเอาลูกตาออก เนื่องจากติดเชื้ออย่างรุนแรงจนเป็นผลให้ดวงตาทั้งสองข้างดับสนิท โดยใช้เวลารักษาอยู่นานกว่า 3 เดือน ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษากว่า 2 แสนบาท แต่ทางบ้านน้องไข่มุกยากจน พ่อแม่แยกทางกันทิ้งไว้ให้ตากับยายเป็นคนเลี้ยงดูแทนพร้อมพี่ชายอีก 2 คน ซึ่งนางมุทิตา ใครเครือ อายุ 58 ปี ผู้เป็นยายมีอาชีพเก็บของเก่าขายรายได้ไม่เพียงพอ
เมื่อวันที่ 11 ม.ค.60 นายธานี ฉัตรนภารัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งคอก เปิดเผยว่าเทศบาลตำบลทุ่งคอก ได้จัดโครงการซื้อข้าวหอมมะลิ จำนวน 31 ตัน มาจากชาวนาเพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวนาตามนโยบายรัฐบาล โดยนำข้าวสารมาแบ่งใส่เป็นถุง ถุงละ 5 กิโลกรัม แล้วนำมาขายถุงละ 100 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วได้นำเงินกำไรส่วนที่ได้กว่า 100,000 บาท มอบให้กับน้องไข่มุก
เล่นแถวบ้านก็ไม่ปลอดภัย สถิติอันตราย ที่เกิดขึ้นกับเด็ก
คนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับคำว่า “7 วันอันตราย” ในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วยังมี “3 เดือนอันตราย” ที่ควรที่จะต้องระวัง นั่นคือ ช่วงเวลาปิดเทอมใหญ่ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเด็ก ๆ จะอยู่บ้าน และมีเวลาวิ่งเล่นมากกว่าเดิม
ที่น่าตกใจก็คือ ช่วง 12 วันของกลางเดือนเมษายน ระหว่างวันที่ 12 – 23 เมษายน มีเด็กที่มีอายุระหว่าง 4 – 12 ปีเสียชีวิตมากที่สุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ โดยสาเหตุการเสียชีวิตนั้นมาจาก
– การจมน้ำ แหล่งน้ำเสียที่อยู่ละแวกชุมชน ยกตัวอย่างเช่น บ่อน้ำ สระน้ำสาธารณะ ห้วยหนองคลองบึง และแม่บ้านใกล้บ้าน
– อุบัติเหตุจราจร ขับหรือซ้อนมอเตอร์ไซด์แล้วพลิกคว่ำ ถูกเฉี่ยวชน
– ตกจากที่สูง เช่นตกจากระเบียง หลังคา ต้นไม้ แป้นบาส เสาฟุตบอลหรือถูกของแข็งกระแทก เช่นเล่นสเก็ต ถูกเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นหล่นทับศรีษะ ทำให้ได้รับการกระทบกระเทือยอย่างรุนแรง อวัยวะภายในแตกแหลกเหลว
– ถูกทำร้าย ไฟดูดไฟช็อต การขาดอากาศหายใจ น้ำร้อนลวก เป็นต้น
และทราบหรือไม่คะว่า จากสาเหตุการเสียชีวิตที่เอ่ยมาในข้างต้นนั้น เกิดจากที่ไหน หากไม่ใช่สถานที่เล่น ใกล้บ้าน รศ.นพ.อดิศักดิ์ เผยหากเกิดอุบัติเหตุในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ความตายของเด็กกลุ่มนี้ ถือเป็นความละเลยของผู้ปกครอง ขณะที่ความตายของเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไปมักพบว่า เป็นความละเลยของผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดูแลพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น ไม่จัดพื้นที่เล่นปลอดภัยสำหรับเด็ก พื้นที่เล่นของเด็กนั้นไม่มีการแยกเด็ก ออกจากถนน แหล่งน้ำ ไม่มีการตรวจสอบเครื่องเล่นในสนาม รวมถึงไม่ตรวจสอบความปลอดภัยของสนามกีฬา เป็นต้น
ดังนั้นควรถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะช่วยกันจัด “เซฟตี้โซน” ให้ลูกหลานของเรากัน ไม่ว่าจะเล่นที่ไหน ก็ต้องเล่นอย่างระวัง และปลอดภัยไว้ก่อนนะคะ
_________________________________________________________________________________________
ที่มา: thairath
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ระทึก! รถชนพังยับ แต่ลูกน้อยไร้รอยขีดข่วน เป็นเพราะอะไร
4 กฎความปลอดภัย ใครมีลูกวัย 4 ขวบต้องอ่าน!
พี่ชายปกป้องน้องสาว จากการโดนหมากัด เด็กชาย 6 ขวบช่วยน้องจากอันตราย