ล้างจมูก วิธีล้างจมูกให้ลูก ลูกป่วยภูมิแพ้ เป็นหวัด มีน้ำมูก ล้างจมูกให้ลูกโล่ง ช่วยให้ทารกหายป่วยไว

ลูกหายใจไม่ออก เป็นหวัดน้ำมูกเยิ้ม งอแงทั้งวัน วิธีล้างจมูกทารกและเด็กเล็ก ทำอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ล้างจมูก

ล้างจมูก วิธีล้างจมูกครั้งแรก เมื่อลูกป่วย ล้างจมูกให้ลูกอย่างไรดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะนำการล้างจมูกในเด็กเล็ก โดยวิธีล้างจมูกในกลุ่มเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้

ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเเละลูกยาง

สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้

วิธีล้างจมูก

  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. เทน้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% ใส่ถ้วยหรือแก้วน้ำที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็มกระบอก
  3. ให้เด็กนอนท่าศีรษะสูงพอควร เพื่อป้องกันการสำลัก (ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กดิ้นมาก)
  4. จับหน้าเด็กให้นิ่งสอดปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของรูจมูก ค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกครั้งละประมาณ 0.5 – 1 ซีซี
  5. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกโดย
  • บีบลูกยางจนสุดเพื่อไล่ลมออก ค่อย ๆ สอดเข้าไปในรูจมูกตื้น ๆ ประมาณ 1 – 1.5 ซม.
  • ค่อย ๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้า ๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยาง
  • ดึงลูกยางแดงออกจากรูจมูกแล้ว บีบน้ำมูกในลูกยางทิ้งในน้ำ โดยบีบเข้า – บีบออกในน้ำสะอาดหลายครั้ง แล้วสะบัดให้แห้ง

ทำขั้นตอนที่ 5 ซ้ำหลาย ๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก

ที่มา : https://dlibrary.childrenhospital.go.th

 

วิธีล้างจมูกให้ลูก ลูกป่วยภูมิแพ้ เป็นหวัด มีน้ำมูก ล้างจมูกให้ลูกโล่ง ช่วยให้ทารกหายป่วยไว กลับมาสบายดี

การล้างจมูกในทารก สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

นอกจากวิธีล้างจมูก ที่ทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะนำแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีก โดยรศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ อธิบายว่า

การล้างจมูก กำจัดน้ำมูกในทารก มีด้วยกัน หลากหลายวิธี ตามปริมาณน้ำมูก และอายุของทารก ได้แก่

  • การหยอดน้ำเกลือ ทำได้โดยหยอดน้ำเกลือ (Normal saline) เข้าไปในรูจมูก ข้างละ 2-3 หยด เพื่อให้น้ำมูกที่เหนียวข้นและแห้งติดจมูกอ่อนตัวลง ไม่แห้งกรัง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกไม่มาก โดยหลังจากหยอดน้ำเกลือแล้ว หากมีปริมาณน้ำมูกน้อยควรเช็ดจมูก เอาน้ำมูกออกด้วยไม้พันสำลี แต่หากมีปริมาณน้ำมูกมาก ควรดูดน้ำมูกออก ด้วยลูกยางแดงหรือเครื่องดูดต่อกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูก
  • การพ่นจมูก เป็นการกำจัดน้ำมูก โดยใช้อุปกรณ์พ่นน้ำเกลือแบบสเปรย์ เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกน้อย ไม่เหนียวข้นมาก มีข้อดีคือสามารถพกพาไปในที่ต่างได้สะดวก
  • การล้างจมูกด้วยกระบอกฉีดยา เป็นการล้างจมูกที่สามารถทำได้โดยใช้น้ำเกลือปริมาณมาก จึงเหมาะกับการกำจัดน้ำมูกปริมาณมากที่ติดอยู่ในโพรงจมูก

 

เด็กทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ที่เคยล้างจมูกมาก่อน สามารถให้ความร่วมมือได้ดี มีขั้นตอนดังนี้

  • ให้เด็กอยู่ในท่านั่ง ก้มหน้าเล็กน้อย
  • สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก
  • ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 1-5 ซี ซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกมาทางจมูกอีกข้างหนึ่ง
  • ล้างซ้ำได้หลาย ๆครั้ง จนไม่มีน้ำมูกออกมา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การล้างจมูกช่วยลดน้ำมูก บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก เมื่อลูกไม่สบาย มีน้ำมูก ควรล้างจมูกให้ลูก เพราะลูกอาจนอนหลับไม่สนิทเพราะหายใจไม่ออกได้

 

รู้กันไปแล้วว่า การล้างจมูกทำได้อย่างไร มาโหวตกันหน่อยว่า นอกจากนมแม่ คุณให้ลูกกินนมอะไร ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คู่มือดูแลลูก สำหรับทารกแรกเกิด-12 ปี แจกฟรี..ดาวน์โหลดกันเลย!

ลูกนอนหายใจทางปาก ทารกชอบนอนอ้าปาก หายใจทางปากอันตรายไหม ลูกป่วยหรือเปล่า

ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ

ควันบุหรี่ทำให้เด็กป่วย RSV อาการหนักขึ้น ทรุดตัวเร็ว พ่อแม่ต้องระวัง!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya