ลูกไม่ยอมนอน เจ้าตัวน้อยที่ตื่นมาบรรเลงเพลงร้องไห้ตลอดทั้งคืน เป็นเพราะอะไร?

ในค่ำคืนที่พ่อแม่ทุกคนต่างก็หลับใหลด้วยความเหนื่อยล้า จู่ ๆ เจ้าตัวน้อยที่นอนอยู่ในเปลก็ลืมตาตื่นและเริ่มบรรเลงเพลงร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ จะทำยังไงดีละที่นี่เพื่อให้เจ้าตัวเล็กได้นอนหลับลงไปอีกครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงเวลาที่ลูกร้องไห้งอแง แน่นอนว่ามันอาจสร้างเหนื่อยล้า จนทำให้พ่อแม่มือใหม่ได้รู้สึกหงุดหงิดกันบ้าง แม้ว่าพวกคุณจะพยายามอย่างดีที่สุด แต่ทำไม ลูกไม่นอน จะแก้ปัญหาการนอนหลับของเจ้าตัวน้อยได้อย่างไร

ลูกไม่นอน ตื่นมาร้องไห้ตลอดทั้งคืน  เป็นเพราะอะไร?

#1 ต่อต้านไม่ยอมนอนกลางวัน

ทารกนั้นจำเป็นต้องได้นอนและใช้เวลานอนให้นาน โดยปกติแล้วเจ้าตัวน้อยวัย 8-9 เดือน ควรมีเวลานอนในช่วงกลางวันประมาณ 3 ชั่วโมง และควรได้นอนกลางวันอย่างน้อย 1 – 2 ครั้งในแต่ละวัน เพราะยิ่งพวกเขาโตขึ้น เวลาที่ใช้ในการนอนก็ยิ่งลดลง แต่เมื่อหนูน้อยต่อต้านไม่ยอมนอน สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก็คือการสร้างกิจวัตรประจำวันที่จะทำก่อนในการนอนกลางวันอย่างสม่ำเสมอ เช่น กำหนดเวลามื้อนมหรืออาหาร และการทำกิจกรรมต่าง ๆ

#2 มีเซ็นเซอร์จับ ร้องไห้ทันทีเมื่อวางลงบนที่เปล

เบบี๋ในช่วงอายุ 10 – 18 เดือนนั้น จะเริ่มติดกลิ่นแม่และกังวลที่จะแยกจากแม่ นั้นเป็นเหตุผลที่ว่าเวลาที่กล่อมลูกนอนหลับแต่พอจะวางลูกลงทีไรก็ตื่นมาร้องไห้ทุกที มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ว่า ลองวางเสื้อผ้าที่มีกลิ่นแม่ใกล้ ๆ บนที่นอนของลูก และเมื่อวางเขาลงแล้วคุณแม่ยังคงนั่งอยู่ใกล้ ๆ จนแน่ใจว่าลูกหลับสนิท จากนั้นค่อย ๆ ขยับตัวออกห่างออกไปเรื่อย ๆ ในแต่ละครั้ง ซึ่งจะทำให้ลูกค่อย ๆ ปรับตัวได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#3 กลางดึกที่ลูกตื่นได้

เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะเจอทารกแรกเกิดร้องไห้ขึ้นมากลางดึกเสมอ แต่ถ้าลูกเข้าวัยเตาะแตะแล้วตื่นขึ้นมาตอนกลางดึกหรือกลางครันนั้น อาจเป็นสาเหตุอื่น ๆ เช่น เกิดจากที่ลูกนอนฝันร้าย หรือไม่สบายเนื้อตัว ฉี่รดที่นอน เป็นต้น การสร้างกิจวัตรประจำวันก่อนนอนตอนกลางคืนและพยายามทำให้สม่ำเสมอมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น อ่านหนังสือนิทานก่อนนอน สร้างบรรยากาศห้องนอนให้ลูกอยู่ในที่เงียบสงบและแสงน้อย นอนกับลูกจนกว่าเขาจะหลับสนิท ก็จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กนอนได้มากขึ้นหรือได้นอนสม่ำเสมอไม่ลุกตื่นขึ้นมากลางดึกรบกวนพ่อแม่ได้

วิธีรับมือ ลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วง แต่ไม่ยอมนอน

เด็ก ๆ งอแงง่ายค่ะ เพราะเขาไม่สามารถจัดการอะไรด้วยตัวเองได้ หรือแม้แต่ไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ เวลาที่ลูกง่วงนอนมาก ๆ แทนที่จะนอนหลับง่าย ๆ ก็กลายเป็นยากมากขึ้นไปอีก มาดู วิธีรับมือ ลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วง แต่ไม่ยอมนอน

ทำไมง่วงแล้วไม่ยอมนอน

Overtired Baby หรือเด็กที่เหนื่อยเกินไป หรือง่วงมากเกินไปจนทำให้นอนยาก ไม่ยอมนอน หรือนอนไม่หลับนั่นเองค่ะ ลูกจะมีอาการร้องไห้งอแง หลังที่นอนหลับไปได้สักพักก็จะตื่นในเวลาที่รวดเร็ว และไม่ยอมหลับอีกรอบแล้วละค่ะ งานเข้ากันเลยนะคะคุณพ่อคุณแม่ ยิ่งถ้าเป็นกลางดึกของวันทำงานด้วยละก็

เมื่อลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วงเกินไป ร่างกายของลูก เมื่อถึงจุดที่พร้อมแก่การเข้านอนมาแล้ว ร่างกายก็จะส่งสัญญาณความเครียดที่เกิดขึ้นออกมา ฮอร์โมนความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอล และอะดรีนาลีนจะเข้ามามีบทบาทตามสะแสเลือดในร่างกาย ทำให้ร่างกายยากที่จะสงบ และผ่อนคลาย ซึ่งรูปแบบการทำงานของร่างกายนี้นั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นวัฏจักร และทำให้อาการนอนยากของลูกยิ่งยาก ๆ ขึ้นไปอีกค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการที่บอกว่า ลูกเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป

เมื่อลูกไม่ได้นอนพักผ่อนระหว่างวัน หรือช่วงระยะเวลาที่ตื่นนานกว่าระยะเวลาของการนอนหลับ เนื่องจากเด็ก ๆ ในวัยนี้ ต้องการการนอนที่มากกว่าผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่านี้ ร่างกายลูกจะไม่สามารถจัดการตัวเองให้ตื่นนานขนาดนี้ได้ โดยช่วงเวลาที่เด็กแรกเกิดตื่นในแต่ละครั้งนั้นไม่ควรเกิน 45 นาที ซึ่งทำให้เด็กแรกเกิดหลาย ๆ คน มีอาการเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป จนทำให้นอนหลับยาก นอนน้อย ตื่นบ่อยได้นั่นเองค่ะ อาการที่บ่งบอกว่าลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วงเกินไปแล้ว นั่นก็คือ

  • ขยี้หน้าขยี้ตา
  • เบือนหน้าหนีออกจากสิ่งเร้าต่าง ๆ
  • หาว สะอึก หรือจามบ่อย ๆ
  • งอแง และโวยวาย
  • ติดหนึบกับคุณพ่อหรือคุณแม่หรือพี่เลี้ยง ไม่ยอมนอนเอง
  • ช่วงที่ลูกตื่นจะนานมากขึ้นเรื่อย ๆ

วิธีรับมือให้ลูกนอนหลับได้นาน ๆ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเอาลูกนอนคือ ทำให้ลูกสงบลงก่อน อาจจะด้วยวิธีใด ๆ ก็แล้วแต่ เช่น ห่อตัวลูก กอดหรืออุ้มลูก เอาลูกเข้าเต้าดูดจนกว่าจะพอใจ กล่อมลูกหรือโยกเบา ๆ เปิดเพลงหรือเสียงธรรมชาติ (White Noise) ปิดไฟภายในห้องให้มืดสนิท ร้องเพลงกล่อมลูก

สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ในวัยเตาะแตะ หรือวัยอนุบาล ให้อ่านนิทานที่มีเนื้อหาไม่ตื่นเต้นมากนัก ในห้องที่มีแสงไฟสลัว ๆ หรือให้เล่นเงียบ ๆ คนเดียว หรือปล่อยให้อ่านหนังสือเงียบ ๆ บริเวณเตียงนอนนั่นแหละค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป

คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลาดังนี้ค่ะ หากลูกตื่นนอนไป โอกาสที่ลูกจะเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป ก็จะยิ่งสูงขึ้นทำให้นอนหลับได้ยากขึ้นนะคะ

  • ทารกแรกเกิด – 6 เดือน ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 45 – 60 นาที
  • เด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 1 – 3 ปี ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 4 – 5 ชั่วโมง

นอกจากนี้ หากลูกจะนอนนานเกินไปบ้าง ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงจนเกินไป ปล่อยให้นอนนาน ๆ ได้นะคะ อีกวิธีที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ปรับเวลาได้ก็คือ การทำตารางกิจวัตรประจำวันให้เหมือนกันทุกวัน เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้เองว่าเมื่อที่ถึงเวลากิน เล่น หรือนอนค่ะ


credit content :

sg.theasianparent.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

คลิปเมื่อแม่อยากนอน แต่ลูกไม่ยอมนอน ก็ต้องเจอแบบนี้แหละ

หลากปัญหาเรื่อง “นอน” ของลูกที่พ่อแม่อยากรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R