ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

โดยปกติ เมื่ออายุ 2 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มชันคอ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพลิกคว่ำพลิกหงายในช่วงเดือนที่ 4 แต่หากเจ้าตัวน้อยไม่ชันคอ หรือไม่พลิกคว่ำเสียที ควรนึกถึงโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ไว้ด้วยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA คืออะไร

โรค SMA (Spinal Muscular Atrophy) เป็นโรคที่แสดงถึงความอ่อนแอของกล้ามเนื้อ เนื่องมาจากการเสื่อมของ Motor neuron ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการส่งสัญญาณระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงพบบ่อยแค่ไหน

แทบไม่น่าเชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีสถิติพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคธาลัสซีเมียเชียวนะคะ ถ้าพ่อ-แม่ ต่างเป็นพาหะ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 โดยพ่อแม่มักไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นพาหะของโรคนี้ จนเมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว และพบว่าเจ้าตัวน้อยมีอาการไม่ชันคอ ไม่พลิกคว่ำ จึงได้พาไปลูกไปตรวจและคุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในขณะที่บางรายอาจแสดงอาการเมื่อโตขึ้น

บทความแนะนำ ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีกี่ชนิด

โรคนี้พบได้ตั้งแต่ในวัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ หากแสดงอาการตั้งแต่วัยทารกจะมีความรุนแรงสูงกว่า เมื่อแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ค่ะ โดยโรค SMA แบ่งเป็น 4 Type ดังนี้

  • SMA Type I : รุนแรง แสดงอาการในช่วงแรกเกิด – 6 เดือน ผู้ป่วยจะนั่งไม่ได้ การมีชีวิตรอด <2 ปี
  • SMA Type II : ปานกลาง แสดงอาการในช่วง 7– 8 เดือน ผู้ป่วยจะยืนไม่ได้ การมีชีวิตรอด >2 ปี
  • SMA Type III : เล็กน้อย แสดงอาการในช่วง >18 เดือน ผู้ป่วยอาจต้องนั่งรถเข็นในวัยผู้ใหญ่ การมีชีวิตรอด >2 ปี
  • SMA Type IV : แสดงอาการในช่วง >18 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยอาจต้องนั่งรถเข็นเมื่ออายุราว 50-60 ปี

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เป็นอย่างไร

  • หากเกิดในวัยทารก (SMA Type I) ลูกน้อยจะมีอาการสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อ เคลื่อนไหวแขนและขาได้น้อย มักจะคว่ำหรือนั่งไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการคลาน การเดิน อีกทั้งยังสูญเสียการควบคุมในส่วนของศีรษะและลำคอ ร้องเสียงเบา ดูดนมได้ลำบาก หายใจลำบาก อาการของโรคนี้จะเป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลืนอาหารไม่ได้ เพราะสำลักหรือไม่มีแรงพอ อาจต้องให้อาหารทางสายอาหาร มีกล้ามเนื้อลีบลงมาก อาจมีความผิดปกติของข้อกระดูก และมีปัญหาใหญ่ที่ทำให้เสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อยๆ คือการติดเชื้อของทางเดินหายใจเพราะมีการสูดสำลัก มีเสมหะมาก และไม่มีแรงที่จะไอออกได้ เกิดปอดบวมบ่อยๆ จนในที่สุดต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดไป และเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนนี้
  • หากอาการของโรคเริ่มเมื่อทารกอายุมากกว่า 2 เดือนไปแล้ว (SMA Type II) ทารกมีพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหวบ้างอย่างช้าๆ เช่น จับนั่งได้ แต่ลุกนั่งเองไม่ได้ มักจะถูกพามาพบแพทย์เนื่องจากตัวอ่อนปวกเปียกและพัฒนาการช้า การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และการตรวจพบต่างๆ จะคล้าย SMA Type I มักจะพบปลายนิ้วมือนิ้วเท้าสั่นเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ แต่มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่า จึงมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า
  • หากอาการของโรคเริ่มประมาณอายุ 18 เดือนขึ้นไป (SMA Type III) และการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ มากขึ้นอย่างช้าๆ เด็กจะเดินและเคลื่อนไหวแขนและขาได้ดี มักจะตรวจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อโคนขามากกว่าส่วนปลาย และมักจะมีการสั่นตัวของกล้ามเนื้อตามตัว ความรุนแรงของโรคน้อยโดยโรคจะค่อยๆ ดำเนินไปอย่างช้าๆ ผู้ป่วยจะยังคงเดินได้จนอายุ 15-40 ปี

ข้อควรระวัง : โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA จะแสดงอาการที่รุนแรงขึ้น เมื่อมีการตั้งครรภ์ในครั้งถัดไป ซึ่งลูกที่เกิดมานั้นจะมีอาการรุนแรง มากกว่าลูกคนก่อนหน้าอีกด้วย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงป้องกันได้หรือไม่

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมก่อนมีบุตร รวมถึงตรวจยีนพาหะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ก่อนมีบุตร เพื่อให้แน่ใจว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เป็นพาหะของโรคดังกล่าว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หรือหากคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะก็สามารถใช้เทคนิค PGD-PCR ซึ่งเป็นเทคนิคในการคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนปลอดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในการทำเด็กหลอดแก้วได้ค่ะ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาอย่างไร

โดยปกติผู้ป่วยจะต้องการการดูแลเป็นพิเศษในเรื่องของการดูแลกล้ามเนื้อปอด ระบบประสาท กระดูก ข้อต่อ และการทำกายภาพบำบัด หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดตามความจำเป็น รวมทั้งการดูแลในเรื่องของโภชนาการที่ถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าโรค SMA อาจจะจบลงด้วยการเสียชีวิตตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่ก็มีผู้ที่เป็นโรคนี้และมีชีวิตจนเป็นผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งแก่ก็ได้ ช่วงชีวิตที่อยู่ได้มีผลอย่างมากจากความรุนแรงของโรคในแต่ละคน และมีเด็กที่ตรวจพบว่าเป็น SMA Type I ที่เติบโตจนเป็นผู้ใหญ่เช่นกันค่ะ

หากคุณมีประสบการณ์โรค SMA ร่วมแบ่งปันข้อมูล และคำแนะนำแก่คุณแม่ท่านอื่นๆ ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างนะคะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก
www.banmuang.co.thwww.suriyothai.ac.thwww.facebook.com/thisablehttps://pond-in-icu.blogspot.com

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกน้อยส่งสัญญาณลูกจะคลานแล้วจ้ะแม่

เช็คพัฒนาการลูกน้อยขวบปีแรก สิ่งที่ลูกควรทำได้ในแต่ละช่วง