ลูกไม่อึแบบนี้ ท้องผูกหรือเปล่าเนี่ย ลูกไม่ถ่ายได้กี่วัน แม่กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง

ลูกไม่ถ่าย ทารกท้องผูก ลูกท้องผูกเรื้อรัง วิธีป้องกันลูกท้องผูก วิธีรักษาอาการท้องผูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไม่ยอมอึ แบบนี้เรียกว่าท้องผูกหรือเปล่า ทารกท้องผูกต้องทำไง กลัวลูกท้องผูกเรื้อรัง วิธีป้องกันลูกท้องผูก และวิธีรักษาอาการท้องผูก

 

วิธีสังเกตว่า ลูกไม่ยอมอึ เพราะท้องผูก

  • อย่างที่ได้เกริ่นไว้ว่า ให้สังเกตที่อุจจาระว่าแข็งหรือไม่ แม่ต้องดูว่า ลูกอุจจาระแห้ง แข็ง เป็นก้อนกลม หรือมีลักษณะคล้ายกระสุน
  • หากลูกร้องไห้โยเย แสดงท่าทางอึดอัดไม่สบายตัว พยายามเบ่งอุจจาระ นี่แหละใช่เลย
  • ลูกไม่ถ่าย แล้วยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยอยากทานนม หรือทารกที่แม่ป้อนอาหารเสริมแล้ว ก็จะไม่อยากกินอาหารเสริม
  • แม่สามารถดูได้ว่าลูกท้องผูก ไม่ถ่าย จากลักษณะของท้องที่แข็งและป่อง
  • เวลาถ่ายมีเลือดออกมากับอุจจาระ

 

ทารกไม่ถ่าย ลูกไม่อึ ทารกต่ำกว่า 6 เดือน ไม่ถ่ายได้กี่วัน

  • ทารกกินนมแม่

ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกกินนมแม่มักจะถ่ายหลายรอบ จนแม่เข้าใจว่า ทารกท้องเสีย แต่หลังจากนั้น การขับถ่ายของทารกจะค่อย ๆ ลดลง เพียงวันละครั้ง หรือ 2 – 3 วันครั้ง ทารกบางคนอาจไม่ถ่ายได้นาน 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากในน้ำนมแม่มีโอลิโกแซกคาไลน์ (Oligosaccharide) ซึ่งเป็นใยอาหารธรรมชาติ ย่อยง่าย ร่างกายจึงดูดซึมไปใช้ได้ดี ทำให้เหลือของเสียที่ต้องขับถ่ายออกไปไม่มาก โดยทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะมีอุจจาระนิ่ม ถ้าอุจจาระลูกไม่แข็ง ถึงลูกไม่ถ่ายแต่ก็ไม่ได้ท้องผูกนะคะ

  • ทารกกินนมผง

ความแตกต่างของทารกกินนมแม่กับทารกกินนมผง คือ ลูกกินนมผงจะมีอุจจาระที่แข็งกว่า การขับถ่ายไม่คล่องเมื่อเทียบกับทารกที่กินนมแม่ ทารกกินนมผงบางคน ไม่ถ่ายได้นาน 3 – 4 วัน หากอุจจาระไม่แข็งจนผิดปกติ หรือมีอาการอื่น ๆ ที่ทำให้คิดว่า ท้องผูก การที่ลูกไม่ถ่ายก็ยังไม่น่าเป็นกังวล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกไม่ถ่ายแบบไหนถึงเรียกว่าท้องผูก

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน อธิบายว่า อาการท้องผูกในเด็ก หมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าหรือเท่ากับสองครั้งในหนึ่งสัปดาห์ รวมทั้งการถ่ายอุจจาระแข็งแห้งเป็นก้อนใหญ่หรือคล้ายเม็ดกระสุน ลูกจะถ่ายท้องลำบาก ต้องออกแรงเบ่งมาก เจ็บปวดเวลาถ่าย และอาจมีเลือดปน

 

อันตรายแค่ไหนเมื่อลูกไม่ถ่าย

อาการท้องผูกเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่น เช่น

  • มีอาการอุจจาระเล็ดเปื้อน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ
  • ปวดท้อง แน่นท้อง รับประทานอาหารได้ลดลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีป้องกันลูกท้องผูก 4 หลักป้องกันลูกไม่ถ่าย

  1. เลือกอาหารช่วยการขับถ่าย วัยทารกควรให้ลูกทานนมแม่เพราะโปรตีนในนมแม่ย่อยง่ายทำให้ทารกท้องผูกน้อย หากจำเป็นต้องใช้นมผสมควรเลือกนมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนใกล้เคียงนมแม่ สำหรับทารกที่เริ่มทานอาหารเสริมแล้วหรือเด็กโตควรให้อาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ ผลไม้และผัก เช่น มะละกอสุก ส้ม ผักกาดขาว แครอท ธัญพืชต่าง ๆ
  2. ดื่มน้ำให้พอช่วยถ่ายคล่อง การที่ ลูก 1 เดือน ไม่ถ่าย อาจเป็นเพราะไม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอจากนมเป็นหลัก แต่เด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือนอาจให้ดื่มน้ำผลไม้เช่นน้ำลูกพรุน น้ำส้มคั้น เสริมได้
  3. ฝึกสุขนิสัยการขับถ่ายเพื่อป้องกันลูกไม่ถ่าย ให้ลูกหัดนั่งถ่ายเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการท้องผูก ควรเริ่มฝึกในวัยที่เด็กเริ่มสื่อสารได้แล้ว
  4. ส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวก็ช่วยลดอาการท้องผูกได้

 

วิธีแก้ปัญหาลูกไม่อึ

สำหรับทารกให้กินนมอย่างต่อเนื่อง แล้วแม่ลองนวดท้องให้ลูก วิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย เริ่มด้วยการคลึงเบา ๆ บริเวณท้องของทารกวนตามเข็มนาฬิกา และกดเบา ๆ ที่ท้องด้านขวา ถ้าลูกท้องผูกจะสัมผัสได้ว่า ท้องของลูกนั้นแข็ง หรือยกข้อเท้าของทารกขึ้นเบา ๆ และหมุนช้า ๆ เหมือนกับการปั่นจักรยาน ซึ่งการออกกำลังกายเช่นนี้ จะช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ภายในลำไส้ ทำให้ลำไส้ของทารกคลายตัวลงได้

เรื่องอาหาร พ่อแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำและทานอาหารที่มีเส้นใย (สำหรับลูกอายุมากกว่า 6 เดือน หรือลูกที่อยู่ในวัยทานอาหารเสริมได้แล้ว) หากอาการยังไม่ดีขึ้น ยืดเยื้อเรื้อรัง ไม่ควรซื้อยาระบายหรือยาสวนทวารมาใช้เองเพราะอาจเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะในทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภญ.กษมา กาญจนพันธุ์ ระบุว่า เมื่อเด็กท้องผูกหรือลูกไม่ถ่าย คุณหมออาจจะให้ยาระบายที่เหมาะกับลูก โดยจะเลือกยาที่ปลอดภัยแลมีผลข้างเคียงต่ำ เช่น หากลูกมีอุจจาระอัดแน่นในลำไส้หมออาจจะให้ยาสวนทวารหนักหรือให้ยากลีเซอรีนเหน็บทวารหนักซึ่งให้ผลเร็วกว่าการรับประทานไปก่อน หลังจากนั้น จึงจะให้ยาระบายที่ทำให้อุจจาระนุ่มขับถ่ายออกได้ง่าย แล้วจึงค่อย ๆ ลดยาจนหยุดยาได้ กรณีที่ท้องผูกเรื้อรังไม่ควรหยุดยาระบายเร็วเกินไป และไม่ควรหยุดยาเองเพราะทำให้อาการกลับมาเป็นใหม่ทั้ง ๆ ที่กำลังดีขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมใช้ยาตามที่คุณหมอด้วยนะคะ

 

รู้ถึงวิธีป้องกันและรักษาเมื่อลูกไม่ถ่ายกันไปแล้ว มาโหวตกันหน่อยว่า คุณแม่จัดการอย่างไร เมื่อลูกน้อยท้องผูก หากกดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ทำไงดี

ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง

น้ำมะนาวกับน้ำอุ่นเช็ดตัวลดไข้เด็ก ได้ผลดีจรืงหรือ ไม่ลองไม่รู้ อ่านเลย

หลอดลมอักเสบ เพราะบุหรี่ที่พ่อสูบ ทุกมวนของพ่อ ส่งผลให้ลูกป่วยนะรู้ไหม

 


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya