ลูกไม่ค่อยได้ยิน แม่จะรู้ได้อย่างไร วิธีสังเกตพัฒนาการทางการได้ยิน ต้องเช็คตั้งแต่ทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไม่ค่อยได้ยิน

ลูกไม่ค่อยได้ยิน วิธีสังเกตการได้ยิน ทารก เด็กเล็ก ก่อนไปตรวจการได้ยิน พัฒนาการทางการได้ยินของลูกเป็นอย่างไร ลูกไม่ค่อยได้ยินหรือไม่

 

ปัญหาการสูญเสียการได้ยิน

จากรายงานสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 พบว่าการออกบัตรประจำตัวคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายมากเป็นอันดับ 2 (375,680 คน) ซึ่งอายุที่มากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินสูงขึ้นตามไปด้วย โดยข้อมูลนี้เป็นจำนวนเฉพาะผู้ที่มารับการจดทะเบียนคนพิการ แต่ความเป็นจริงแล้วปัญหาการได้ยินลดลงในประชากรไทยมีประมาณ 2.7 ล้านคน

 

วิธีสังเกตว่าลูกไม่ค่อยได้ยิน

รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา ให้คำแนะนำวิธีสังเกตว่าลูกไม่ค่อยได้ยิน ว่า ปัจจุบันการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดทำในหลายโรงพยาบาล โดยราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย เรื่องการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกคลอดเป็นหนึ่งในโครงการทั้งหมด เพื่อคัดกรองภาวะบกพร่องทางการได้ยินในทารกแรกคลอด และให้ทารกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการสังเกตว่าลูกได้ยินชัดเจนหรือไม่นั้น พ่อแม่สามารถสังเกตว่าลูกได้ยิน หรือไม่ได้ยิน ได้ตั้งแต่แรกเกิด

  1. การสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินของลูก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน : ทารกที่ไม่มีปัญหาการได้ยิน จะมีอาการสะดุ้งตกใจ หรือร้องไห้ เมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ มีการเล่นเสียงในลำคอ
  2. การสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินของลูก ทารกวัย 3-6 เดือน : ทารกที่ไม่มีปัญหาการได้ยินมักจะทำท่าคล้ายหยุดฟัง เมื่อพ่อแม่มาคุยกับเด็ก มีการกลอกตาหรือหันหาที่มาของเสียงที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวแม้จะป็นเสียงเบา ๆ เด็กจะออกเสียงคล้ายพยัญชนะและสระรวมกัน เช่น กากา บาบา
  3. การสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินของลูก ทารกวัย 6-9 เดือน : ทารกที่ไม่มีปัญหาการได้ยินจะหันศีรษะไปมาเพื่อหันหาเสียงเรียกได้ ออกเสียงพยัญชนะและสระได้มากขึ้น โดยทำเสียงติดต่อกันยาว ๆ ได้ 4-6 พยางค์ เช่น ลาลา ลาลา บาคาบาคา
  4. การสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินของลูก ทารกวัย 9-12 เดือน : ทารกที่ไม่มีปัญหาการได้ยินจะมีการเล่นเสียงยาวต่อเนื่องคล้ายคำพูดที่เป็นประโยคยาว ๆ ในการโต้ตอบสื่อสาร ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย เด็กพูดคำแรกซึ่งฟังคล้ายกับคำพูด เช่น แม่ หม่ำ ไป
  5. การสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินของลูก ทารกวัย 12-18 เดือน : ทารกที่ไม่มีปัญหาการได้ยินจะสามารถหันหาเสียงได้ถูกต้อง เริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมาย 1 พยางค์ โดยเด็กสามารถพูดได้อย่างน้อย 10-15 คำ เช่น พ่อ แม่ แมว นม เอา ไป ไม่
  6. การสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินของลูก ทารกวัย 18-24 เดือน : ทารกที่ไม่มีปัญหาการได้ยินจะสามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ชี้อวัยวะได้อย่างน้อย 2 อย่าง ชี้สิ่งของที่คุ้นเคยได้ พูดได้ประมาณ 40-100 คำ และเริ่มพูดเป็นวลีสั้น ๆ เช่น เอามา ไม่ไป

 

พ่อแม่คนไหนสังเกตเห็นว่าลูกไม่ค่อยได้ยิน ลูกมีปัญหาการได้ยิน การฟัง การพูด ลูกมีพัฒนาการช้า ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : www.thaihealth.or.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี พฤติกรรมและพัฒนาการทารก ตั้งแต่แรกเกิด! ทำอะไรได้มากขึ้นแล้วนะแม่

อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ตอนท้อง คนท้องเสี่ยงแท้ง ลูกในท้องเสี่ยงพิการ-พัฒนาการช้า

ลูกพัฒนาการช้ารึเปล่า ดูได้จากสัญญาณต่อไปนี้

โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya