ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ลูกในท้องน้ำหนักน้อย ลูกในท้องตัวเล็ก อันตรายไหม อยากให้ลูกตัวใหญ่ สมบูรณ์แข็งแรง คนท้องต้องทำอย่างไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ คงเป็นเรื่องที่แม่ท้องหนักใจมาก โดยเฉพาะโค้งสุดท้ายใกล้คลอดต้องรีบทำน้ำหนักโดยด่วน กลัวลูกจะตัวเล็ก ไม่สบายบ่อย ป่วยง่าย ไม่แข็งแรง แล้วแบบนี้คนท้องควรทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ก่อนถึงกำหนดคลอด

 

คนท้องควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ถึงจะดี

โดยปกติแล้ว คนท้องควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5 กิโลกรัมใน 3 เดือนแรก สำหรับคุณแม่บางคนที่น้ำหนักตัวไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย เพราะแพ้ท้องหนักมาก กินอะไรก็ไม่ได้ อาเจียนออกมาหมด พยายามจะกินเพื่อลูกหลายต่อหลายครั้ง แต่แม่ไม่ไหวกินได้แค่นี้จริงๆ

สำหรับน้ำหนักตัวโดยรวมของหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 กิโลกรัม หากน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้นไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด เป็นไปได้สูงว่าน้ำหนักตัวของเด็กทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักต่ำกว่าปกติ หรือทารกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กผิดปกตินั่นเอง ในทางตรงกันข้ามหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป จะทำให้คุณแม่คลอดลำบาก เหนื่อยง่าย ปวดหลังมากขึ้น เส้นเลือดขอดมากขึ้น และทำให้แผลผ่าตัดติดช้า เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ง่ายค่ะ ดังนั้น คนท้องควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้

  • ไตรมาสแรก ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1-2 กิโลกรัม
  • ไตรมาสที่สอง ช่วงอายุ 3-8 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • ไตรมาสที่สาม น้ำหนักจะคงที่หรือลดลงเล็กน้อยประมาณ 1/2 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นเพียงเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 กิโลกรัม

 

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คนท้องน้ำหนักไม่ขึ้นแค่ไหนต้องไปหาหมอ

ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 2-4 เดือน แล้วน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเลย หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สอง หรือมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สาม สัญญาณเหล่านี้เริ่มอันตราย ให้คุณแม่ไปพบแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะผู้ที่นิยมกินอาหารรสจัดหรือกินบ่อยเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ตัวเล็กมากกว่าเกณฑ์

 

น้ำหนักของคนท้องมาจากไหนบ้าง

  • น้ำหนักตัวของคุณแม่ 10 – 12 กิโลกรัม
  • น้ำหนักตัวทารกในครรภ์ 3000 กรัม
  • น้ำหนักรก 500- 700 กรัม
  • น้ำหนักน้ำหล่อเด็ก 1000 กรัม
  • เต้านม 300-500 กรัม
  • ปริมาณเลือดที่เพิ่ม 1000 กรัม
  • ปริมาณน้ำในร่างกายแม่ 1500 กรัม
  • ไขมันที่สะสมในตัวแม่ 3000 กรัม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

 

วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

  1. ต้องนอนพักผ่อนเยอะๆ เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้มีเลือดสูบฉีดได้ดี หากแม่ทำงานเยอะ ออกแรงเยอะ เลือดก็ต้องไปเลี้ยงส่วนอื่นๆ ได้น้อยลง ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงลูกในท้องไม่เพียงพอด้วยค่ะ ดังนั้น คุณแม่ควรนอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชม. และช่วงกลางวันประมาณ 1-2 ชม. ค่ะ
  2. เลิกพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อลูกในท้อง ได้แก่ เลิกสูบบุหรี่ เลิกกินเหล้า เลิกสารเสพติด ยาบางชนิด
  3. อย่าเครียด เพราะความเครียดจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกในท้องตัวเล็กกว่าปกติ
  4. ทานอาหารให้ครบทุกมื้อ อย่าอด และทานให้ถูกหลักโภชนาการถึงจะดีที่สุดค่ะ หากกินอาหารไม่ได้เลย แนะนำให้ค่อยๆ กินทีละน้อย กินเท่าที่กินได้ แต่กินบ่อยๆ เพื่อให้ได้ปริมาณตามที่เหมาะสม
  5. เพิ่มปริมาณอาหารที่ให้พลังงานมากขึ้น เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก และมัน เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อันตรายไหม

น้ำหนักลูกในครรภ์ ลูกน้อยในครรภ์ตัวเล็กจะอันตรายหรือไม่ ขึ้นอยู่ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรมากกว่าค่ะ โดยสาเหตุหลักๆ ก็มาจาก

  1. มาจากตัวคุณแม่ : คุณแม่ทานอาหารไม่เพียงพอ หรือขาดสารอาหาร หรือมาจากโรคประจำตัว หรือมาจากพฤติกรรมของคุณแม่บางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ พฤติกรรมแบบนี้นอกจากทำให้ลูกในท้องโตช้าแล้ว ยังเสี่ยงต่อลูกพิการอีกด้วย
  2. มาจากโครโมโซม : ความผิดปกติของโครโมโซมของหญิงตั้งครรภ์นี้เองที่ทำให้ทารกในครรภ์โตช้า หรือแม้แต่การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ ซึ่งอาจทำให้ทารกพิการ หรือเสียชีวิตได้
  3. มาจากรกเสื่อม : สำหรับสาเหตุนี่อาจทำให้เด็กได้รับสารอาหาร และปริมาณออกซิเจนไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้ลูกในท้องตัวเล็ก ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุนี้เมื่อลูกคลอดออกมาก็มีโอกาสเติบโตได้ดีเป็นปกติค่ะ

 

(รูปจาก shutterstock.com)

 

น้ำหนักลูกในครรภ์ สำคัญยังไง?

น้ำหนักลูกในครรภ์7เดือน สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังตั้งอยู่ในตอนนี้ นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เราควรระวังและต้องดูแลเอาใจใส่นั่นคือ เรื่องของน้ำหนักลูกในครรภ์ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าการที่เราตั้งครรภ์หรือตั้งท้อง ถ้าเราอยากจะให้ลูกเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีอวัยวะร่างกายที่แข็งแรงครบถ้วน เราก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและหันมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองและลูกในท้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่เราจะรู้ได้ว่าน้ำหนักลูกในครรภ์เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ เราก็อาจจะดูได้จากการคำนวณ และผลตรวจอัลตราซาวด์จากคุณหมอนั่นเอง

 

วิธีการวัดน้ำหนักลูกในครรภ์ทำอย่างไรนะ?

น้ำหนักทารกในครรภ์7เดือน หากคุณแม่คนไหนที่อยากจะรู้น้ำหนักตัวลูก อยากจะทราบว่าลูกในท้องของเรามีน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ เราก็อาจจะดูหรือสังเกตได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ซึ่งจะต้องทำยังไงกันบ้างนั้น มาดูไปกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

(รูปจาก shutterstock.com)

 

1. ดูจากขนาดหน้าท้อง

สิ่งแรกเลยการที่เราจะลูกขนาดลูกในครรภ์ได้ เราอาจจะต้องทำการสังเกตด้วยวิธีการง่าย ๆ ก่อน เช่น ดูจากขนาดหน้าท้องของตัวเอง เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้ ในช่วงการตั้งครรภ์แต่ละเดือน แน่นอนว่าขนาดหน้าท้องของเราก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและขนาดใหญ่มากขึ้น สิ่งนี้จึงเป็นการสังเกตได้เบื้องต้นว่าลูกในท้องของเราเริ่มโตขึ้นมา

 

2. ปริมาณน้ำคร่ำในท้อง

การที่เราจะรู้ได้ว่าลูกในท้องของเรามีน้ำหนักปกติหรือไม่นั้น แน่นอนว่าการเจาะตรวจดูน้ำคร่ำสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เราพอทราบได้อยู่บ้าง ซึ่งวิธีการนี้คุณหมอก็อาจจะทำการตรวจเป็นช่วง ๆ และถ้าน้ำคร่ำของเราน้อยหรือมากกว่าปกติ ปัจจัยเหล่านี้ก็อาจจะทำให้รู้ว่าน้ำหนักลูกในท้องของเรามีความผิดปกตินั่นเอง แต่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำตามคำแนะนำของคุณหมอ พร้อมกับไปตามหมอนัดทุกครั้ง เชื่อว่าปัญหาเหล่านี้จะหมดไปแน่นอน

 

3. ดูจากการอัลตราซาวด์

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เราลูกว่าลูกในท้องนั้นมีน้ำหนักปกติหรือไม่ เราก็อาจจะดูได้จากการอัลตราซาวด์ โดยการอัลตราซาวด์ของแต่ละช่วงอายุครรภ์ก็อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ช่วงแรก ๆ เราก็อาจจะยังไม่สามารถอัลตราซาวด์ได้ และเมื่อคุณแม่มีอายุที่เพิ่มมากขึ้นคุณหมอก็จะทำการอัลตราซาวด์ให้เราได้ นอกจากเราจะได้รู้น้ำหนักตัวของลูกในท้องได้แล้ว เราก็อาจจะดูปัจจัยอื่น ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ดูจากน้ำหนักของคุณแม่

มาต่อกันที่ข้อนี้บ้าง สิ่งนี้อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทุกคนน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่า การที่เราจะรู้น้ำหนักลูกในท้องได้ เราก็อาจจะสังเกตได้จากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของตัวเอง ซึ่งเมื่อไหร่ที่คุณแม่เริ่มมีอายุครรภ์ประมาณ 3 เดือน แน่นอนว่าน้ำหนักของเราจะเพิ่มขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม และถ้าใครที่น้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ ก็อย่าพึงตกใจไปนะคะ เพราะสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นกว่าปกติ เราก็อาจจะต้องขอคำปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อที่จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องต่อไป

 

สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้อย่าพึงกังวลใจไปนะคะ เราอาจจะต้องดูแลรักษาตัวเองให้มากกว่านี้ พร้อมกับทำขอคำแนะนำหรือปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ

 

ที่มา: หมอชาวบ้าน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

กินกล้วยแฝดได้ลูกแฝดจริงหรือ ความเชื่อโบราณที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้

ท่ายืดกล้ามเนื้อเตรียมคลอด คนท้องเตรียมฝึกเอาไว้ จะได้คลอดลูกง่ายขึ้น

4 ท่าโยคะสำหรับคนท้อง ช่วยเสริมทารกกลับหัว ให้อยู่ในท่าเตรียมคลอด

บทความโดย

Khunsiri