อยากรู้ ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร แหวะนมออกมาจะอิ่มพอไหม ต้องแวะอ่าน!!

คุณแม่ลูกอ่อนอย่าเพิ่งตกใจ ที่เจอลูกน้อยแหวะนมหรือสำรอกนมออกมาระหว่างที่เรอหรือหลังดูดนมเสร็จ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน จำนวนถึง 70% อาจมีอาการแหวะนมเกิดขึ้นได้ ซึ่งทารกจะมีอาการแหวะมากน้อยแตกต่างกัน บางรายอาจแหวะได้บ่อยถึง 10-12 ครั้งต่อวัน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ และไม่เป็นอันตรายต่อทารก รวมถึงไม่มีผลกระทบต่อสารอาหารที่ลูกน้อยจะได้รับแต่อย่างใด

ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร

อาการที่ลูกแหวะบ่อย เกิดจากภาวะที่เรียกว่า กรดไหลย้อย (GERD) ซึ่งเกิดจากการให้ทารกกินนมมากเกินไป หรือที่เรียกว่า overfeeding คือการป้อนนมให้ลูกบ่อยมากกว่าทุก 2-3 ชั่วโมง ที่เป็นเช่นนี้เพราะระบบการย่อยอาหารของลูกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ กล้ามเนื้อที่เป็นลิ้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารยังทำงานไม่ดี ปิดไม่สนิท เมื่อลูกน้อยเรอออกมา ทำให้น้ำนมที่เพิ่งกินเข้าไปไหลย้อนออกมาได้ง่าย แต่ไม่เพียงเฉพาะแหวะหลังให้นมเท่านั้น อาจรวมถึงแหวะออกได้เมื่อลูกร้องไห้หรือมีอาการไอด้วย

อาการเมื่อลูกน้อยแหวะนม อาจร้องกวนโยเยหลังจากทานนมเสร็จ นอนบิดตัวไปมาเหมือนอึดอัดไม่สบายท้อง อาจได้ยินเสียงที่เกิดจากนมล้นขึ้นมาที่คอเป็นลักษณะครืดคราดคล้ายเสมหะ บางครั้งแหวะนมออกมาทั้งทางจมูกและปาก โดยน้ำนมที่ออกมาอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายเต้าหู้ เนื่องจากถูกกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไม่ใช่เป็นเพราะน้ำนมไม่ย่อย หรือนมที่ให้ลูกนั้นไม่ดีนะคะ หลังทารกแหวะนม ถ้ายังสามารถดูดนมได้ตามปกติ อารมณ์ดี ก็ถือว่าเป็นอาการปกติไม่น่าเป็นห่วงค่ะ

ทารกแหวะนมบ่อย จะอิ่มไหม?

คุณแม่ที่เจอลูกแหวะนมออกมามาก กังวลว่าลูกจะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอต่อร่างกาย แต่แท้จริงแล้วปริมาณนมที่แหวะออกมานั้นมีไม่ถึงหนึ่งช้อนโต๊ะ คุณแม่สามารถเช็กได้จากน้ำหนักตัวของลูกที่แม้จะแหวะนมบ่อยแต่ถ้าน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะถ้าคุณแม่กลัวว่าลูกจะไม่อิ่มแล้วให้นมเพิ่ม การได้รับนมมากไปก็อาจทำให้ลูกแหวะตามมาได้อีก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกแหวะนม สำรอกบ่อย ควรทำอย่างไร? อ่านหน้าถัดไป >>

เมื่อลูกแหวะนม สำรอกบ่อย ควรทำอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ใช้วิธีการจับเรอก่อนหรือหลังทารกกินนมเสร็จ หรือจับทารกตั้งในท่านั่งหรืออุ้มพาดบ่าหลังให้นม เพื่อทำการไล่ลมออก
  • หลังให้นมควรเว้นระยะก่อนให้ลูกนอนอีกครั้งประมาณ 30 นาที หรือหากลูกหลับในขณะให้นม อาจทำให้ศีรษะลูกยกสูงขึ้นเล็กน้อย จับทารกตะแคงขวาสักครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ส่วนบนของกระเพาะซึ่งอยู่ด้านซ้ายอยู่สูงกว่าส่วนอื่น นมก็จะไหลย้อนขึ้นมายาก
  • ลดการแหวะให้น้อยลง ด้วยการป้อนนมให้ลูกไม่อิ่มมากจนเกินไป ให้ลูกกินนมในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ซึ่งสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน คุณแม่ไม่ควรให้นมถี่เกินกว่า 8-10 มื้อต่อวัน และทารกอายุมากกว่า 3-6 เดือน ไม่ควรถี่เกินกว่า 6 มื้อต่อวัน

อาการแหวะนมบ่อยจะค่อย ๆ หายไปเองตามธรรมชาติ เมื่อลูกเข้าสู่เดือนที่ 3 –6 เดือน เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกทำงานได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะหายสนิทเมื่ออายุครบ 1 ปีเต็ม แต่ก็อาจมีทารกบางรายที่ยังมีอาการแหวะนมถึงอายุ 2 ขวบได้เช่นกัน

สำหรับการแหวะนมที่เรียกว่าผิดปกติ คุณแม่ควรสังเกตว่านมที่ลูกแหวะออกมามีสิ่งอื่นเจือปน เช่น เลือด หรือมีสีเหลืองของน้ำดี หรือมีกลิ่นเหม็นรุนแรงหรือไม่ ลูกมีน้ำหนักไม่เพิ่มตามเกณฑ์ งอแง แหวะทุกมื้อ มีอาการไม่สบายเนื้อตัว หรือไม่ยอมดูดนม ลักษณะเช่นนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการที่ถูกต้องนะคะ


อ้างอิงข้อมูล :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

https://baby.haijai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ลูกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่?

ทำไมต้องให้ลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม ถ้าไม่เรอจะเป็นอะไรไหม

บทความโดย

Napatsakorn .R