ลูกแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงที่แม่กิน ผ่านทางนมแม่ อุทาหรณ์ที่อยากเตือนแม่ให้นม

ลูกแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงที่แม่กิน ผ่านทางน้ำนมแม่ โดยทีแม่ไม่รู้ตัว ทำเอาลูกน้อยเกิดผื่นแพ้เต็มใบหน้า มีน้ำเหลืองออกตามข้อพับ จากโรคภูมิแพ้

ลูกแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงที่แม่กิน

อาหารกลุ่มเสี่ยงประกอบไปด้วย อาหารจำพวกแป้งสาลี ไข่ ถั่วเหลือง และนม โดยทั่วไปจะเริ่มให้ทารกได้กินเมื่อมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่บางบ้านอาจเริ่มได้เร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทารกในแต่ละคน แต่สำหรับกรณีนี้ที่คุณแม่ได้แชร์ประสบการณ์กับเรา เพราะว่าลูกน้อยไม่ได้แพ้อาหารจากที่แม่ป้อน แต่เป็นการแพ้อาหารจากที่แม่กินเข้าไป และลูกก็ได้รับสารอาหารเหล่านั้นจากน้ำนมของแม่

โดยเรื่องราวต่อจากนี้ เกิดจากที่ลูกชายคุณแม่ท่านหนึ่ง ในขณะนั้นน้องอยู่ในวัยประมาณ 2 เดือน มีอาการเกิดผื่นขึ้นทั่วใบหน้า รวมถึงมีน้ำเหลืองออกตามข้อพับ จึงพาลูกไปพบคุณหมอทำให้ทราบว่าลูกน้อยแพ้อาหาร

ลูกแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยง

จากนั้นคุณแม่จึงพาน้องไปทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือเรียกว่า "สกินเทส" จึงพบว่าน้องแพ้ทั้งไข่แดงสุก ไข่แดงดิบ ไข่ขาวสุก ไข่ขาวดิบ ตามภาพ

ลูกแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงที่แม่กิน

นอกจากนี้ น้องยังแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ คือ แป้งสาลี นมวัว ถั่วเหลือง ถั่วทุกชนิด อาหารทะเลอย่างกุ้ง รวมถึงหญ้าสนาม ขนหมา ขนแมว ซึ่งคุณหมอบอกว่าประมาณ 7 ขวบการแพ้ก็น่าจะดีขึ้น

สาเหตุที่ลูกแพ้อาหารก็มาจากที่แม่ได้กินอาหารกลุ่มเสี่ยงเข้าไป เพราะคิดว่าหลังคลอดน่าจะกินอะไรง่ายๆ อย่างไข่ดาว ไข่เจียว และกินในช่วงที่ให้นมลูกอยู่ด้วย ทั้งยังบอกอีกว่าตัวคุณแม่เองก็เป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืด ทำให้น้องแพ้อาหาร หรือเป็นโรคภูมิแพ้ไปด้วย

ทำไมทารกถึงมีอาการแพ้อาหาร

1.ครอบครัวมีประวัติเป็นภูมิแพ้

จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า ถ้าครอบครัวมีประวัติเป็นภูมิแพ้ โดยเฉพาะถ้าคุณแม่เป็นภูมิแพ้ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-50% แต่ถ้าพ่อเป็นภูมิแพ้ ความเสี่ยงก็จะเหลือประมาณ 30% และความเสี่ยงจะยิ่งเยอะมากขึ้นถ้าทั้งพ่อแม่แม่เป็นภูมิแพ้ โดยอยู่ที่ประมาณ 60-70% แต่ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ แต่เป็นน้องของพ่อ หลานของตา อันนี้ไม่เกี่ยว

2.สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ขณะท้อง

หากในช่วงที่คุณแม่ท้องอยู่แล้วเกิดได้ไปสัมผัสเอาสารก่อภูมิแพ้ หรือได้รับปริมาณของสารก่อภูมิแพ้เพิ่มขึ้นอาจทำให้ลูกเกิดการแพ้อาหารได้ ซึ่งโดยทั่วไปถ้าได้รับสารก่อภูมิแพ้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ค่อยมีผลอะไรมากนักกับความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในอนาคต แต่ถ้าได้รับสารก่อภูมิแพ้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ขึ้นไปก็อาจจะมีผลขึ้นกับปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับ
ถ้าได้รับในขนาดที่น้อยถึงน้อยมากก็จะไม่มีผลอะไร แต่ถ้าได้รับในขนาดปานกลางก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน
แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจจะก่อให้เกิดการแพ้

3.แม่ได้รับสารก่อภูมิแพ้หลังคลอด

สำหรับคุณแม่ที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้หลังคลอด (อาหารที่คุณแม่กินหลังคลอด) ในปริมาณเล็กน้อยคงไม่มีผลมากนัก แต่ถ้าได้รับมันในปริมาณมากก็จะทำให้เกิดการแพ้ขึ้นได้ค่ะ

อาหารกลุ่มเสี่ยงเด็กแพ้อาหาร

แม่ควรกินอย่างไรลูกจะได้ไม่แพ้อาหาร

แม่ควรกินตออาหารแต่ละอย่างในสัดส่วนที่พอดีๆ กัน ไม่ควรกินอะไรมาเกินไป เช่น พอหมอบอกว่า ให้กินนมเสริมแคลเซียม เกิดมาในชีวิตนี้ไม่เคยกินนมเลย พอท้องกินเข้าไปวันละ 3-4 แก้ว พอคลอดออกมาลูกก็แพ้นมวัว หรือว่าบางคนได้ยินเรื่องแพ้นมวัว เลยเปลี่ยนไปกินนมถั่วเหลืองแทน วันนึง 3-4 กล่อง พอคลอดลูกก็แพ้นมถั่วเหลือง หรือว่าบางคนพอท้องแล้วไม่รู้อะไร อยากกินแต่พิซซ่า สปาเกตตี้ กินขนมเบเกอร์รี่เช้า เที่ยง เย็น คราวนี้ลูกแพ้หมดเลย นม ไข่ แป้ง ชีสต์

สรุปแล้ว เวลาที่คุณแม่เลือกรับประทานอาหาร คงวรเลือกกินให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ ดีที่สุดค่ะ และต้องพยายามเปลี่ยนชนิดอาหารให้หลากหลาย อย่าจำเจอยู่แต่ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น มื้อนี้กินข้าวกับหมูผัดขิง แล้วก็ไข่ต้ม 1 ฟอง
แล้วมื้อต่อไปก็เปลี่ยนเป็น แกงจืดตำลึง กับปลาทอด ตอนเย็นก็กินก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น

ที่มา: ใกล้มิตรชิดหมอ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ล้างจมูก วิธีล้างจมูกให้ลูก ลูกป่วยภูมิแพ้ เป็นหวัด มีน้ำมูก ล้างจมูกให้ลูกโล่ง ช่วยให้ทารกหายป่วยไว

อันตรายจากควันบุหรี่ บุหรี่มือสอง บุหรี่มือสาม ไม่อยากให้ลูกป่วยเลิกด่วน

ทำไมทารกนอนกัดฟัน ลูกฟันขึ้น ลูกเครียด ลูกป่วยไหม อันตรายหรือเปล่า

บทความโดย

Khunsiri