ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน จากการงดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

ทารกน้อยอาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานได้จากการงดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน

แม่ต้องระวัง! ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน จนมีรูปร่างผอมและตัวเตี้ย

 

น้องหน่อย (นามสมมุติ) อายุ 1 ปี มาพบกุมารแพทย์เนื่องจากคุณแม่สังเกตว่า น้ำหนักตัวขึ้นช้าและดูผอมลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จากการสอบถามประวัติพบว่า น้องหน่อยทานนมแม่ล้วนจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นก็เริ่มทานอาหารเสริมตามวัย ได้แก่ ข้าวบด เนื้อไก่ ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว ร่วมกับนมแม่ โดยที่คุณแม่ไม่ให้ทานอาหารกลุ่มเสี่ยง คือ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี และอาหารทะเลเลย เพราะกลัวว่าจะแพ้อาหาร และตัวคุณแม่ก็งดอาหารดังกล่าวเองด้วย

จากการตรวจร่างกายก็พบว่า น้องหน่อยมีรูปร่างผอมและตัวเตี้ย โดยทั้งน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในช่วงประมาณเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 ซึ่งในช่วงก่อนอายุ 6 เดือนน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 มาตลอด เมื่อตรวจเลือดก็พบว่ามีภาวะซีดจากขาดธาตุเหล็ก

แม้ว่าน้ำหนักและส่วนสูงของน้องหน่อยในขณะนี้ยังไม่ได้จัดว่าเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน แต่ก็เรียกได้ว่ามี “ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน” ซึ่งต้องรีบแก้ไขพฤติกรรมการทานอาหาร ก่อนที่จะเกิดภาวะดังกล่าว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานเป็นอย่างไร?

ภาวะนี้เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการผอม และตัวเตี้ยผิดปกติ โดยมีค่าน้ำหนักหรือส่วนสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ของเกณฑ์อ้างอิงหรือต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเกณฑ์อ้างอิงเกิน 1.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสูงจะมีปัญหาเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานในอนาคตถ้าไม่ได้รับการแก้ไข
ทั้งนี้ภาวะผอมจะบ่งบอกถึงการขาดอาหารเฉียบพลัน ส่วนภาวะเตี้ยจะบ่งบอกถึงการขาดอาหารเรื้อรัง
ในเด็กที่ขาดอาหาร อาจมีภาวะใดภาวะหนึ่งหรือทั้งคู่ก็ได้

 

สาเหตุของภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานคืออะไร?

สาเหตุของภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานมี 2 สาเหตุสำคัญคือ

  1. การให้อาหารแก่เด็กที่ไม่เหมาะสมตามวัย
  2. ภาวะเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ

โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการให้อาหารทารกและเด็กที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันจะพบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มคุณแม่ที่งดอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น เพราะกลัวว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีอาการผิดปกติใด ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานได้อย่างไร?

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะนี้จากน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก ตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับการซักประวัติอย่างละเอียด และการตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อน เช่นโรคติดเชื้อเรื้อรัง โรคที่มีความผิดปกติของอวัยวะเรือรังอันมีผลต่อการเจริญเติบโต และการขาดวิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานทำได้อย่างไร ?

การรักษาเด็กที่เป็นภาวะนี้จะมุ่งที่การรักษาสาเหตุของโรค ร่วมกับการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัยและเสริมวิตามิน แร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกาย

ยกตัวอย่างเช่นกรณีของน้องหน่อย สาเหตุของภาวะนี้เป็นเพราะการให้อาหารที่ไม่เหมาะสมตามวัย เนื่องจากงดอาหารที่เป็นแหล่งของพลังงาน โปรตีนและธาตุเหล็กที่สำคัญ โดยไม่ได้ให้อาหารทดแทนอื่นๆที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ รวมทั้งไม่ได้รับการเสริมธาตุเหล็กวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ วิธีแก้ไขจึงควรแนะนำคุณแม่ให้อาหารที่เหมาะสมตามวัยของเด็กได้ทุกชนิดที่ไม่ได้แพ้ ร่วมกับ รักษาภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก รวมทั้งเสริมวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็น

 

การป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน ทำได้อย่างไร?

เนื่องจากตั้งแต่ช่วงอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะเป็นวัยที่เด็กควรได้รับอาหารอื่นนอกจากนมแม่ หากเด็กคนใดทานอาหารได้น้อยก็จะเริ่มมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ อันได้แก่ น้ำหนักเริ่มขึ้นช้า ต่อมาจึงมีน้ำหนักตัวน้อย และผอมลง หลังจากนั้นจึงพบว่ามีความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

การป้องกันภาวะนี้ในกรณีที่เด็กไม่ได้มีโรคประจำตัวอันเป็นสาเหตุอื่น ๆ จะสามารถป้องกันได้โดยการให้ทารกทุกคนได้รับอาหารที่เหมาะสมตามวัย

***ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถดาวน์โหลด “คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็ก”จัดทำโดยกรมอนามัยร่วมกับสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ที่ website ของ ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย https://www.pednutrition.org/books/คู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก ค่ะ***

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 สัญญาณเตือน ลูกของคุณกำลังขาดสารอาหาร

ถอดรหัส “แกงเลียง” เมนูสุดฮิตเพิ่มน้ำนมแม่