ลูกร้องกลางดึก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 69

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่หลายคน คงจะเคยได้ยินอาการแปลก ๆ อาการหนึ่งในทารกที่ ลูกร้องกลางดึก เป็นเวลานาน โดยไม่มีสาเหตุ และหยุดร้องเองโดยไม่มีเหตุผล นั่นคือ อาการโคลิคในเด็ก ซึ่งคนโบราณจะกล่าวถึงอาการแบบนี้ว่า แม่ซื้อมาดูแลมาเล่นกับเด็ก หรือ เด็กสัมผัสอะไรบางอย่างได้เวลานั้น

 

อาการโคลิคในเด็ก (colic) จะเป็นอาการที่ ลูกร้องกลางดึก โดยส่วนใหญ่เด็กมักร้องในช่วงเวลา 6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม โดยที่เวลาอื่น เด็กจะปกติดี เล่นได้ กินได้ บางรายอาจร้องหลังรับประทานนม จึงแตกต่างจากการร้องเพราะหิว ที่มักจะร้องก่อนมื้อนม ในบางราย การร้องจะเกิดขึ้นหลังมื้ออาหาร ประมาณครึ่งชั่วโมง หรืออาจจะช้ากว่านี้ อาการโคลิคเกิดขึ้นในเด็กอายุ 2 - 4 สัปดาห์ และหายไปเมื่ออายุได้ 3 เดือน เด็กแต่ละคน อาจจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกัน พบได้ร้อยละ 20 ของเด็กทั้งชาย และหญิง โดยทั่วไปจะนึกถึงอาการโคลิค เมื่อเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน ร้องกวนมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน และมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลาเดิม ๆ ติดต่อกัน

 

 

สาเหตุของโรค

ทางแพทย์สันนิษฐานว่า สาเหตุหลักน่าจะมาจากอารมณ์ของแม่ในช่วงขณะที่ตั้งครรภ์ เชื่อว่าหากช่วงระยะเวลาทั้งครรภ์ ตัวคุณแม่มี อารมณ์เครียด เป็นกังวล หรือเศร้า ในช่วงนั้น ก็จะส่งผลทำให้ลูกเมื่อคลอดออกมา จะได้รับสารบางอย่างที่จะส่งผลถึงภาวะทางอารมณ์ของเด็ก เป็นสาเหตุหลักของอาการโคลิค แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาวิจัยไหนที่จะมาสนับสนุนความชัดเจนของสาเหตุการเกิดอาการโคลิคอย่างเป็นทางการ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื่อว่า เกิดจากความเครียดในการปรับตัวของเด็ก และพัฒนาการของสมองที่ยังไม่มากพอ เป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ที่มีความไวมากกว่าปกติ เมื่อเด็กเริ่มร้องแล้ว ก็จะไม่สามารถหยุดได้ง่าย ๆ แต่เมื่อถึงเวลา เด็กจะหยุดร้องเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งโดยทั่วไป จะอยู่ที่ 3 ชั่วโมงต่อวัน และมักจะเริ่ม และหยุดร้องในเวลาเดิม ๆ

 

อาการสำคัญ คือ เด็กร้องต่อเนื่องกันยาวนานกว่าปกติ อาจจะเกิดขึ้นตอนใดก็ได้ แต่พบว่ามักเกิดขึ้นในตอนเย็นเป็นส่วนใหญ่ อาการคล้ายเจ็บปวด หรืออาการปวดท้องแบบเจ็บแปลบ แต่ที่จริงแล้วเด็ก ตัวเด็กไม่ได้มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด เด็กอาจดิ้น งอแง ผายลม ท้องจะอืดโดยมีลมเต็มท้อง เวลาร้องหน้าจะแดง ขาทั้งสองข้างงอขึ้น และหดเกร็ง เด็กจะไม่ยอมกินนม อาจมีอาการเกร็งมือ และเท้าบ้างเล็กน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถือว่าอาการโคลิคในเด็ก ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงแต่อย่างใด จากการศึกษาวิจัย พบว่าตัวเด็ก สามารถมีพัฒนาการที่เป็นปกติ กินอาหารได้ และน้ำหนักเพิ่มได้ตามปกติ แม้ว่าเด็กคนนั้นจะมีอาการโคลิคก็ตาม

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีแก้ไขและแนวทางปฏิบัติ

พยายามปลอบโยนเด็กให้สบายใจ เช่น เปิดเพลง, อุ้มกล่อม, ใส่รถเข็นเดินเที่ยวก่อนเวลาที่จะร้องงอแง ปรับอารมณ์ 2 - 3 วัน จนเด็กเลิกงอแง ที่สำคัญพ่อแม่ต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบไม่วุ่นวาย

 

ไม่ควรใช้ยาใด ๆ เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้ระบบย่อยของเด็กเสียไปด้วย ยาที่พ่อแม่มักได้รับคำแนะนำให้ใช้ ได้แก่ colic drops, gripe water  ควรไล่ลมหลังดูดนมทุกครั้ง หากให้ลูกดื่มนมจากขวด บางรายอาจเกิดจากอาหาร ซึ่งถ้าสงสัยว่าเป็นสาเหตุมาจากอาหารนั้น ๆ ก็ควรให้งดเว้น ถ้าสงสัยว่าเกิดจากแพ้น้ำตาลในนมวัว ให้หยุดนมวัวทันที และรีบปรึกษาแพทย์

 

ช่วงที่ลูกเกิดมาแรก ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนต้องปรับเวลาในการนอนของตัวเองกันอย่างมาก เพราะลูกน้อยมักจะตื่นมางอแงตอนกลางคืน จนคุณแม่ไม่สามารถนอนหลับไม่เต็มอิ่ม แต่รู้ไหมว่าสาเหตุที่ลูกตื่นตอนกลางคืนนั้นเป็นเพราะอะไร

 

 

ทำไมลูกถึงตื่นมางอแงตอนกลางคืน

 

  • ความเปียกชื้น หนูไม่ชอบ เป็นปัญหาที่มักจะพบบ่อย ๆ สำหรับเด็กแรกเกิด ทันทีที่ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว เพราะความเปียกชื้นของผ้าอ้อมที่ใส่ ลูกจึงตื่นมาร้องงอแงตอนกลางคืน ดังนั้นก่อนที่จะพาลูกน้อยเข้านอน คุณแม่ควรเลือกผ้าอ้อมที่มีคุณสมบัติป้องกันความเปียกชื้น หรือผ้าอ้อมสำหรับตอนกลางคืนสวมใส่ให้ลูกน้อยเพื่อความสบายตัว
  • เสียงกวนใจลูกน้อย เพียงแค่เสียงดังเล็กน้อยก็ทำให้เจ้าตัวเล็กตื่นขึ้นมาได้ตอนกลางคืน ดังนั้นคุณแม่ควรปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องไม่ให้มีเสียงรบกวน หรือมีเสียงรบกวนน้อยที่สุด นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถเลือกใช้ดนตรีกล่อมนอน เป็นประจำทุกคืน ลูกน้อยจะคุ้นเคยกับเสียงดนตรี และหลับตานอนเองค่ะ
  • อากาศแบบนี้ หนูจะไม่ทน  อากาศเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ลูกมักจะตื่นมาตอนกลางคืน เพราะร่างกายของเด็กกับของผู้ใหญ่ไม่เหมือนกัน  และเด็กยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นเมื่อลูกรู้สึกว่าร้อนเกินไป หรือว่าหนาวเกินไปก็มักจะร้องไห้เป็นการบอกคุณแม่ค่ะ
  • แม่จ๋า หนูหิว โดยปกติแล้วลูกน้อยที่ตื่นมานั้น ก็มีสาเหตุมาจากการหิวนม เมื่อลูกไก้กินนมจนอื่มแล้วก็จะเริ่มหลับอีกครั้ง หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกหิว ให้คุณแม่สังเกตอาการของลูกน้อยค่ะ ลูกจะตื่นมาร้องไห้แล้วจะพยายามแสดงอาการไขว่คว้า และเอ้าหน้ามาซุกที่หน้าอก หรือที่หมอน อาการแบบนี้แสดงว่าลูกกำลังหิวอยู่ค่ะ
  • ลูกผวา อาการผวาเกิดขึ้นจากการตกใจ หรืออาจจะเกิดจากการเล่น และสนุกสนานมากเกินไป โดยเฉพาะก่อนที่ลูกจะนอน ทำให้ลูกสะดุ้งตื่นขึ้นมาร้องไห้ได้  วิธีแก้ไขนั้นง่ายเพียงนิดเดียว แค่คุณแม่อุ้มลูกน้อยขึ้นมา อุ้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าลูกหลับ หรือคุณแม่อาจจะร้องเพลงช่วยกล่อมด้วยก็ได้นะคะ
  • หนูไม่อยากนอนอีกแล้ว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะการนอนกลางวันของลูกน้อย เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ลูกตื่นมาตอนกลางคืน ลูกนอนจนเต็มอิ่ม และมักจะตื่นมาตอนกลางคืน โดยมีวิธีการแก้ไขเพียงแค่คุณแม่พยายามชวนลูกเล่น หรือพาออกไปเดินเล่นข้างนอกในช่วงกลางวัน จะช่วยให้ลูกนอนหลับตอนกลางคืนได้ค่ะ
  • ที่นอนตรงนี้หนูนอนไม่ได้  ความคุ้นชินของที่นอนก็สามารถทำให้ลูกตื่นมาตอนกลางคืน หรือไม่นอนตอนกลางคืนได้ค่ะ ยิ่งตอนไปนอกสถานที่ยิ่งไม่หลับกันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรแก้ด้วยการพาลูกเข้านอนให้ตรงเวลา ทำบ่อย ๆ จะทำให้ลูกชินกับเวลาในการนอน หรือการใช้สิ่งของที่อยู่ติดตัวลูกตอนนอน ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา หมอนที่ใช้นอนปกติ ก็จะสามารถทำให้ลูกนอนต่างที่ และไม่ตื่นมาตอนดึกได้ค่ะ

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกตื่นมาร้องไห้กลางคืนนั้น มีหลากหลายสาเหตุ ดังนั้นคุณแม่ควรดูดี ๆ ว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้ลูกน้อยตื่นมาตอนกลางคืน คุณแม่จะได้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา : (A) , (B)

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ – 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้

ฝึกลูกนอนยาว 6 วิธีฝึกลูกนอนยาว หมดปัญหา ลูกร้องตอนดึก

บทความโดย

ammy