ลูกนอนกรน สัญญาณร้าย สกัดกั้นพัฒนาการเด็ก

ลูกนอนกรน เกิดจาก การที่ทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ทำให้หายใจลำบาก ร่างกายจึงพยายามที่จะสร้างแรงเพื่อให้ลมเข้า จึงเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น  ซึ่งการที่ ลูกนอนกรน ถือเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งของ “ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในเด็ก”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่ ลูกนอนกรน มาจาก 3 ปัจจัย

  1. ต่อมท่อน้ำเหลืองรอบทางเดินหายใจมีขนาดใหญ่ เช่น ต่อมทอนซิลอะดีนอยด์โต รวมถึงโพรงจมูกอุดกั้น เช่น ในเด็กที่เป็นภูมิแพ้
  2. มีโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสรีระใบหน้า เช่น ความผิดปกติของพันธุกรรม หรือความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด เช่น เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม จะมีใบหน้าผิดปกติ ลิ้น ผิดระยะ ทำให้ทางเข้าของลมหายใจมีน้อย
  3. กรามเล็ก หรือกรามหดเข้าไปข้างใน ทำให้ช่องทางเดินหายใจเล็กลง

กลุ่มเสี่ยงโรคนอนกรน

  • เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคระบบทางเดินหายใจ มีอาการของต่อมทอนซิล หรือต่อมอดีนอยด์โตผิดปกติ
  • เด็กที่มีรูปร่างอ้วน น้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน
  • บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนอนกรน

ลูกการนอนกรน ส่งผลต่อพัฒนาการอย่างไร

พบภาวะนอนกรนที่เป็นอันตรายในเด็กเพิ่มขึ้นประมาณ 10%  โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ระหว่างอยุ 2-6 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์จะโตขึ้น ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ จนเกิดเสียงกรนดังขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองของลูก

เมื่อลูกนอนกรน จะทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ เนื่องจากร่างกายไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ และจะอันตรายมากเมื่อมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย  เพราะการหยุดหายใจตอนหลับมีผลทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง   หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายมากขึ้น  หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน  จะทำให้มีอาการหัวใจโตขึ้น ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้

หากลูกนอนกรน ในเบื้องต้นควรทำอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ดูแลสภาพแวดล้อมในห้องนอนของลูก ว่าขัดขวางสุขลักษณะการนอนที่มีคุณภาพหรือเปล่า เช่น อากาศไม่ถ่ายเท มีแสงสว่างส่องตาลูก อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป มีอะไรมาปิดกั้นการหายใจของลูกหรือเปล่า เช่น หมอน ผ้าห่ม
  2. บตรวจดูว่าลูกน้อยมีน้ำมูกหรือเปล่า เพราะหากลูกเป็นหวัด มีน้ำมูกก็เป็นอุปสรรคต่อการนอน ทำให้ ลูกนอนกรนได้ หากพบว่าลูกมีน้ำมูก ควรจัดการล้างจมูกของลูกให้โล่ ลูกก็จะหายกรนเอง
  3. ให้ลองจับลูกนอนตะแคง จะช่วยลด อาการนอนกรนของลูกลงได้

อ่านต่อ สัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ควรจับตา คลิกหน้าถัดไป>>

สัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ควรจับตา

  • ลูกอ้าปากหายใจ
  • นอนกรนเสียงดังเป็นประจำ
  • เสียงกรนขาดๆ หายๆ หายใจเฮือกเหมือนขาดอากาศ
  • นอนกระสับกระสาย นอนหลับไม่สนิท ตื่นนอนบ่อย
  • หยุดหายใจขณะหลับ หน้าอกไม่ขยับขึ้นลง
  • รอบปากเขียว หรือริมฝีปากคล้ำขณะหลับ
  • ปวดหัวตอนเช้า ง่วงนอนตอนกลางวัน
  • เหงื่อออกมาก และปัสสาวะรดที่นอนหลังอายุ 5 ปี
  • หายใจเข้าแล้วหน้าอกยุบแต่ท้องป่องซึ่งถือว่าผิดปกติ เพราะปกติเวลาคนเราหายใจเข้าแล้วหน้าอกต้องขยายแต่ท้องยุบ
  • การเจริญเติบโตและมีพัฒนาการช้า ผลการเรียนตกต่ำลง
  • ก้าวร้าว สมาธิสั้น ซน และปัญหาด้านพฤติกรรมอื่นๆ

หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ให้ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ

วิธีตรวจวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจุบันจะวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ด้วยการตรวจ Polysomnography (PSG) เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดทั้งรูปแบบการหายใจ ลักษณะคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ระดับความอิ่มตัวของก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ขณะหลับ โดยนอกจากจะทำให้ทราบว่าลูกน้อยเกิดภาวะดังกล่าวหรือไม่แล้ว การตรวจ PSG ก็ยังสามารถบอกระดับความรุนแรงของโรคได้ด้วย

การรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรงของโรค อายุของ  และความร่วมมือของผู้ป่วย  หากไม่รุนแรงจะเน้นการดูแลสุขอนามัยในการนอน ควบคุมอาหาร หรือใช้ยารับประทานและยาพ่นจมูก หากจำเป็นอาจต้องผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลออก  นอกจากนี้ยังมีการรักษาแบบอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจ ชนิด non invasive ในขณะหลับ ตลอดจนการผ่าตัดแก้ไขรูปหน้าและจมูก เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกนอนกรนเสียงดัง ควรปรึกษาคุณหมอเมื่อใด?

5 วิธีแก้สามีนอนกรน ทำยังไงไม่อยากให้สะเทือนหู