ลูกจะพูดได้ตอนกี่ขวบ พ่อแม่บางคนเริ่มเป็นกังวลเข้าอายุหนึ่งขวบแล้ว ทำไมยังไม่ส่งเสียงพูดมาให้ได้ชื่นใจซักที มาดูพัฒนาการด้านการพูดแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยกันค่ะ
เมื่อไหร่ที่ เด็กพูด ลูกจะพูดได้ตอนกี่ขวบ เด็กพูดได้กี่เดือน กันนะ?
โดยทั่วไป เด็กพูดได้กี่เดือน เด็กพูด จะเริ่มเป็นคำ ๆ ให้แม่ได้ยินชัด ๆ เมื่ออายุประมาณ 12-18 เดือน ซึ่งบางคนอาจจะพูดได้เร็วหรือบางคนอาจจะส่งเสียงพูดเป็นคำ ๆ ออกมาได้ช้ากว่านี้ แม้จะมีผู้เฒ่าผู้แก่บางคนในครอบครัวบอกว่า “ไม่ต้องเป็นห่วงไป เจ้าตัวเล็กอาจจะพูดช้าไปสักหน่อย แค่ต้องให้เวลามากขึ้นอีกนิดเพื่อให้เขาได้เรียนรู้” ก็ตาม แต่อย่างไรก็ไม่ควรเกิน 2 ขวบ ถ้าเกินไปจากนี้คุณแม่อาจจำเป็นต้องไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับพัฒนาการพูด
การเรียนรู้ที่จะพูดสำหรับเด็ก ๆ ส่วนใหญ่นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อเวลานั้นเหมาะสม แต่อะไรล่ะคือเวลาที่เหมาะสม ? มีอะไรที่ควรเกิดขึ้นก่อนที่ลูกน้อยเริ่มต้นที่จะพูด ?
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกพูดไม่ชัดเกิดจากอะไร และแก้ไขได้อย่างไร ปัญหาลูกพูดไม่ชัด
พัฒนาด้านการพูดและภาษาของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย
ช่วงก่อนคลอด
ลูกน้อยสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในท้อง ในสัปดาห์ที่ 18 เป็นช่วงที่ลูกน้อยจะเริ่มได้ยินเสียงเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม เสียงที่ทารกได้ภายในครรภ์จะแตกต่างจากเสียงภายนอกที่เราได้ยิน เพราะในครรภ์นั้นลูกน้อยจะถูกห่อหุ้มไปด้วยน้ำคร่ำ และเนื้อเยื่อชั้นต่าง ๆ ของร่างกายคุณแม่ ทำให้เสียงที่ทารกได้ยินในครรภ์นั้นค่อนข้างอู้อี้ แต่เสียงที่ทารกได้ยินชัดเจนที่สุดคือเสียงของคุณแม่ เพราะในเวลาที่แม่พูดเสียงก็จะดังก้องสะท้อนผ่านไปยังกระดูกและร่างกาย ซึ่งก็จะง่ายต่อการได้ยินของทารกและลูกก็จะคุ้นเคยและจดจำเสียงของคุณแม่ได้
ช่วงแรกเกิด
การร้องไห้ของทารกแรกเกิดถือเป็นวิธีการสื่อสารที่ลูกน้อยเรียนรู้ถึงการเข้ามาตอบสนองของพ่อแม่ การร้องไห้เต็มไปด้วยความหมายต่าง ๆ ที่พ่อแม่นั้นจำเป็นต้องคอยแยกแยะว่า เสียงร้องของลูก หมายถึงอะไร เช่น หิว ง่วงนอน เจ็บปวด รอให้อุ้ม หรืออื่นๆ ดังนั้นแล้วทารกจึงมีภาษาที่เริ่มต้นส่งเสียงประกอบไปด้วยเสียงสระอย่าง เอะ อาว เฮะ ที่มีช่วงเสียง ความต่อเนื่อง และความชัดเจนที่จะแปรเปลี่ยนไปตามการเจริญเติบโต และเมื่อเข้าสู่อายุประมาณ ประมาณ 4 เดือน ทารกก็จะเริ่มต้นในการพัฒนาความสนใจของใบหน้าพ่อแม่เมื่อก้มลงคุยกับเขาใกล้ ๆ และจะตอบสนองด้วยเสียงอ้อแอเหมือนเป็นบทเริ่มต้นสนทนาที่น่าอภิรมย์
ช่วงอายุ 7 ถึง 10 เดือน
ทารก 7 ถึง 10 เดือน พัฒนาการการส่งเสียงของลูกจะมีความก้าวหน้า จากแค่การส่งเสียงเดียวไปเป็นการส่งเสียงพยัญชนะซ้ำ ๆ เหมือนเป็นจังหวะเพลงที่คุณแม่จะได้ยินเสียงอย่าง “บาบาบา” หรือ “ดาดาดา” ทารกน้อยจะใช้เสียงนี้เวลาที่กำลังเล่น เรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ แสดงอารมณ์ ยิ่งกว่านั้นทารกจะสนุกที่ได้ฟังเสียงของตัวเองเวลาพูดขึ้น และมันจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการในการพูดมากขึ้นด้วยการทำเสียงที่แตกต่างออกไปจากนี้
ช่วงอายุ 10 ถึง 12 เดือน
วัยนี้ เจ้าตัวน้อยเริ่มสร้างเสียงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระที่แตกต่างกันอย่าง “อะบุดามินาตา” แน่นอนว่ามันเป็นภาษาที่ไม่มีความหมาย แต่นี่แหละที่เป็นภาษาของเจ้าตัวน้อยที่ใช้ในการสื่อสาร และเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของพ่อแม่ พัฒนาการของทารกในช่วงนี้ยังเข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งที่ทำเป็นประจำได้ เช่น “นั่งลง, บ๊ายบาย, ส่งจูบซิ” และรู้จักชื่อของของเล่นชิ้นโปรดของตัวเอง
ช่วงอายุ 12 ถึง 18 เดือน
เจ้าตัวเล็กจะเริ่มต้นพูดคำที่มีความหมายคำแรกได้แล้ว ซึ่งจะเริ่มต้นจากคำที่คุ้นชินอย่าง “พ่อ, แม่” หลังจากการมาของคำแรก ก็จะมีการเพิ่มจำนวนของคำที่เข้าใจตามออกมาอย่างต่อเนื่อง ประมาณอายุ 18 เดือน ลูกจะสามารถใช้คำที่มีความหมายได้ประมาณ 10 คำ และเข้าใจคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ เมื่อพวกอายุ 24 เดือน เด็กควรที่จะเข้าใจได้ถึง 250 คำ ตอนนี้ลูกควรเริ่มต้นที่จะผสมคำสองคำเข้าด้วยกันเป็นรูปแบบของวลีสั้น ๆ ได้แล้วอย่าง “แม่อยู่ไหน” หรือ “หิวนม”
ช่วงอายุ 3 ขวบ
เด็ก ๆ สามารถที่จะเข้าใจและพูดคำศัพท์ได้ประมาณ 400 คำ ซึ่งมันจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคุณเป็น 20,000 คำ เมื่อลูกอายุประมาณ 6 ถึง 7 ขวบ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนคำที่น้อยที่สุดสำหรับเด็กที่ต้องใช้ความพยายามและเรียนรู้ในการเข้าสู่การเรียนในระดับปฐมวัย
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากความล่าช้าทางภาษาซึ่งเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก หรือการเรียนรู้คำศัพท์ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ผลที่ตามมานั้นอาจเป็นหายนะต่อการพูดของเด็กน้อย ความล่าช้านี้เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ หากพ่อแม่ไม่ได้ให้ความสนใจในช่วงเวลาที่ทารกน้อยพูด เพิกเฉยตั้งแต่ตอนเริ่มต้น สิ่งที่ยากก็คือการเรียนรู้และการสื่อสารของลูกที่จะลำบากตามมาภายหลัง ดังนั้นแล้ว มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องใส่ใจต่อพัฒนาการด้านการพูดและภาษาของลูกน้อยตามช่วงเวลาที่เหมาะสม และอีกกรณีที่พบว่าลูกไม่เข้าใจหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้หลังจากอายุ 18 เดือนไปแล้ว ควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์เพื่อตรวจเช็กพัฒนาการด้านภาษาและการพูด แม้กระทั่งการตรวจดูว่าลูกน้อยอยู่ในภาวะหูหนวกด้วยหรือไม่
ที่มา : theasianparent
บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :
ลูกจะได้ยินที่แม่พูดหรือเปล่า 10 ปัจจัยเสี่ยง ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด
ป่านนี้แล้ว ลูกไม่พูดทําไงดี ปัญหานี้พ่อแม่กลุ้มใจจัง!!
ตาบอดสีในเด็ก เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาหรือวิธีแก้อย่างไร?