ลูกขี้อาย เป็นปัญหาสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ และหันมาเตรียมความพร้อม พัฒนาทักษะการเข้าสังคมให้กับลูกๆ ตั้งแต่ยังเล็ก วันนี้เรามี 5 วิธีมาฝาก มีอะไร และทำอย่างไรบ้าง มาดูกัน
1. สร้างพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคงให้กับลูก
คุณพ่อคุณแม่ควรตอบสนองความต้องการของลูกอย่างมีเหตุผลในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกได้รู้ว่าตัวเองเป็นที่รัก พัฒนาไปสู่ความรู้สึกปลอดภัยและไว้ใจผู้อื่น เพื่อเป็นรากฐานของความรู้สึกมั่นใจในตัวเอง และมีอารมณ์มั่นคง เมื่อเด็กรู้สึกมั่นใจในตัวเอง จะทำให้เด็กมีความกล้าพูด กล้าคิด กล้าทำกล้าแสดงออกมากขึ้น
2. เสริมสร้างความภูมิใจในตัวเองให้ลูก
ทำได้โดยฝึกให้ลูกรู้จักการช่วยเหลือตัวเอง ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยเอง เริ่มง่ายๆ โดยปล่อยให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเอง อาบน้ำแต่งตัว ติดกระดุมเสื้อผ้าเอง เลือกชุดที่จะใส่เอง ยิ่งมีโอกาสได้ทำอะไรด้วยตัวเองบ่อยเท่าไร เด็กจะได้ฝึกทักษะในการลองผิดลองถูก คิด วิเคราะห์ปัญหา และตัดสินใจลงมือแก้ไขด้วยตัวเองมากขึ้น เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้สะสม และซึมซับจากประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย และควรชมเชยทุกครั้งที่ลูกทำสำเร็จ เพื่อให้ลูกเกิดความรู้สึกภูมิใจ
3. หมั่นจำลองสถานการณ์ต่างๆ ผ่านการเล่นสมมติบทบาท หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง
การจำลองสถานการณ์ หรือเล่นละครรับบทบาทสมมติ คือการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนออกไปพบสังคมใหม่ได้ในระดับหนึ่ง โดยอธิบายในลูกฟังว่า เมื่อไปโรงเรียนแล้วลูกจะได้พบกับใครบ้าง จำลองบรรยากาศห้องเรียนวันแรก เพื่อซักซ้อมการแนะนำตัวเองกับเพื่อนใหม่ อาจให้ลูกรับบทคุณครู ให้คุณแม่รับบทนักเรียนใหม่ พูดแนะนำตัวกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนเป็นตัวอย่าง ให้ลูกรู้ถึงบรรยากาศที่อาจจะได้เจอ เพื่อลดความตื่นเต้น หรือใช้ตุ๊กตามาแสดงบทบาทสมมติ จำลองสถานการณ์สั้นๆ และไม่ซับซ้อน ในการผูกมิตรกับเพื่อนใหม่ อาจเล่านิทานให้ลูกฟังบ่อยๆ ให้ลูกได้เรียนรู้ว่าโลกภายนอกยังมีสังคมที่แตกต่าง มีผู้คนที่หลากหลายไว้รอให้เราทำความรู้จัก การฝึกฝนเตรียมความพร้อมผ่านการเล่นทำให้เด็กไม่เครียด ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ พร้อมออกไปเจอเพื่อนใหม่ และปรับตัวเข้าสังคมใหม่ๆ
4. พาลูกออกไปเข้าสังคมบ่อยๆ
การพาลูกออกไปพบปะผู้คนนอกบ้านบ่อยๆ ก็เป็นการฝึกให้ลูกเห็นตัวอย่างของผู้คนมากมายที่มีความหลากหลาย ได้พบเจอสถานการณ์ใหม่ที่แตกต่างในแต่ละครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะในการเข้าสังคม เช่น พาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่นในหมู่บ้าน เพื่อให้ได้พบเจอเด็กในวัยเดียว หรือต่างวัยกัน ออกไปพูดคุยทักทายกับเพื่อนบ้าน ให้คุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างในการกล่าวทักทาย ผูกมิตร มีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน หรือคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยใกล้เคียงกับลูกเรา พาลูกไปพบเจอเพื่อนๆ ของคุณพ่อคุณแม่บ้าง เพื่อให้ลูกเห็น เรียนรู้ จดจำวิธีการเข้าสังคมในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป และเลียนแบบ นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเองได้ในอนาคต หรือให้ลูกชวนเพื่อนมาเล่นที่บ้าน แล้วชวนลูกวางแผนต้อนรับเพื่อนด้วยกันว่าจะทำขนมหรืออาหารอะไรเลี้ยงเพื่อนๆ หรือช่วยกันทำขนมให้ลูกนำไปฝากคุณครู และเพื่อนๆ ที่โรงเรียน ให้เขามีส่วนร่วมในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ อุปกรณ์ และลงมือทำขนม และอาหารไปพร้อมกัน เพื่อให้เด็กรู้จักเป็นผู้ให้ มีน้ำใจกับผู้อื่น และช่วยให้เด็กๆ คนอื่นรู้สึกเป็นที่ยอมรับด้วยอีกทางหนึ่ง
5. เข้าใจ ยอมรับ และให้กำลังใจ
คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจว่า ความขี้อายในเด็กเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน จึงควรเข้าใจ และยอมรับในสิ่งที่ลูกเราคิด และรู้สึกด้วย เมื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกแล้วในระดับหนึ่ง ก็ควรให้เวลาเด็กได้ปรับตัวเพื่อนำสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ซักซ้อมให้ ไปใช้อย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน หากลูกยังไม่พร้อมก็ไม่ควรบังคับ ฝืนใจ ดุด่า หรือตำหนิเด็กต่อหน้าผู้อื่น หรือคอยพูดกับคนอื่นต่อหน้าลูกว่าเขาเป็นเด็กขี้อาย จะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกถดถอย เครียดมากขึ้น ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ยอมรับ กลายเป็นเด็กเก็บตัวและขี้อายมากขึ้น จึงควรให้เวลา และพูดให้กำลังใจเพื่อให้ลูกรู้สึกมีความมั่นใจที่จะเข้าไปทำความรู้จักกันเพื่อนใหม่ เมื่อลูกเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนใหม่ได้แล้ว คุณแม่ควรอยู่ดูเพื่อสร้างความอุ่นใจ และเป็นกำลังใจให้ลูกจนว่าจะแน่ใจว่าลูกปรับตัวเล่นกับเพื่อนใหม่ได้อย่างไม่มีปัญหาแล้ว จึงค่อยหลบไปทำธุระอย่างอื่น
เพราะพ่อแม่คือเพื่อนคนแรก คือคุณครูคนแรก คือสังคมแรกของลูก หากดูแลเขาด้วยความรัก ความเอาใจใส่อย่างพอดีในทุกๆ ด้าน คอยส่งเสริม และฝึกฝนทักษะการเข้าสังคมเพื่อให้ลูกมีความมั่นใจ ภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตัวเอง นำไปสู่การเป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคง มีความฉลาดทางสังคมเพียงพอ ลูกของเราก็จะเลิกขี้อาย กล้าทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การเสริมพลังปกป้องให้ลูกด้วย นมที่มีจุลินทรีย์ แอลแรมโนซัส (L.Rhamnosus) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นสายพันธุ์ที่มีผลการวิจัยทางการแพทย์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งโดดเด่นด้วยพลังการปกป้องถึง 3 ด้านคือ
- ปกป้องระบบทางเดินหายใจa โดยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- ปกป้องระบบทางเดินอาหารb โดยดักจับ ทำลายเชื้อโรค และลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพc หากลูกน้อยได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างแอลแรมโนซัสเป็นประจำ ก็จะทำให้ให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมออกไปเรียนรู้ และปรับตัวเข้าสังคมมีเพื่อนใหม่ให้คุณแม่ไร้กังวลแน่นอนค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง;
a Hojsak I et al. Clin Nutr 2010; 29: 312-6
b Hojsak I et al. Pediatrics 2010; 12r(r): 1171-7
c Isolaurl F et al. Vaccine 1995; 13:310-2
ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และรูปภาพนำไปเผยแพร่ต่อ ไม่ว่าวิธีใดๆ ถ้าฝ่าฝืนทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว
บทความที่น่าสนใจ
ลักษณะนิสัยของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก ทำให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าว คุณเป็นแบบนี้ไหม!
กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ เคล็ดลับเลี้ยงลูกให้ฉลาดตามวัย ที่พ่อแม่ควรรู้!
ลูกชอบเถียง ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ พูดจายอกย้อน นิสัยแบบนี้พ่อแม่ควรจัดการอย่างไร