เจ็บน้ำตาเล็ด ลูกกัดหัวนม ความเจ็บปวดที่ต้องทนเท่านั้นรึเปล่านะ

เจ็บน้ำตาเล็ด ลูกกัดหัวนม ความเจ็บปวดที่ต้องทนเท่านั้นรึเปล่านะ รักลูกนะ แต่แม่อยากจะโกรธลูกจริงๆ เพราะการกัดครั้งนี้มันเจ็บเอามากๆ เลยละ

เจ็บน้ำตาเล็ด ลูกกัดหัวนม ความเจ็บปวดที่ต้องทนเท่านั้นรึเปล่านะ

เจ็บน้ำตาเล็ด ลูกกัดหัวนม ความเจ็บปวดที่ต้องทนเท่านั้นรึเปล่านะ หึหึ พูดถึงเรื่องนี้แล้วผู้เขียนอยากจะขำทั้งน้ำตาค่ะ มันคือความเจ็บปวดที่จมเขี้ยว จะโกรธก็โกรธไม่ลง ไม่เป็นมนุษย์แม่ก็คงไม่ได้ลิ้มรสชาตินี้หรอกนะ

เพราะอะไรลูกถึงกัดหัวนมแม่

เริ่มสนใจสิ่งแวดล้อม  ถ้ามีอะไรมาดึงความสนใจ เช่น มีคนเดินผ่าน หรือมีเสียงคุย ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุข้างต้น คุณแม่จึงควรต้องให้นมลูกในที่สงบเงียบ เพื่อให้ลูกมีสมาธิในการกินนมค่ะ

ฟันกำลังจะขึ้น ถ้าฟันกำลังขึ้นอย่างเดียว แม่อย่างเราจะแฮปปี้มากค่ะ เพราะฟันยังไม่ขึ้น เหงือกงับๆ ก็ไม่เจ็บเท่าไหร่ แต่มันมีความต่อเนื่องนี่สิ เพราะเมื่อลูกฟันขึ้นแล้ว ก็อาจจะมีความรู้สึกรำคาญหรือไม่สบายเหงือก ตอนฟันขึ้นแล้ว ลูกก็อาจจะงับหัวนมแม่ได้อีกค่ะ และนั่นมันเจ็บเกินบรรยายเสียด้วยนะคะ

ถ้าคุณแม่ไม่ห้ามปรามหรือทำอะไรสักอย่างที่จะหยุดการกระทำนี้ ลูกก็จะทำต่อไปโดยไม่รู้ว่าทำให้แม่เจ็บ อาจหัวเราะเพราะคิดว่ากำลังเล่นกับแม่เสียด้วยซ้ำ คุณแม่ควรต้องรีบแก้ไข มิฉะนั้นหัวนมอาจแตกและลุกลามเป็นแผลอักเสบได้

แก้ไขยังไงเมื่อลูกกัดหัวนมแม่

1.เรียกร้องความสนใจจากลูก

ระหว่างที่ลูกกำลังดูดนม ให้ดึงความสนใจของลูกมาที่ตัวแม่ โดยการจ้องตา ลูบไล้ลูก หรือคุยเล่นกับลูก หรือแม้กระทั่งการร้องเพลงให้ลูกฟัง ไม่ให้ลูกสนใจต่อการกัดหัวนมเด็ดขาดค่ะ

2.หาตัวแทน

การเตรียมวางนิ้วมือไว้ใกล้ๆ ปากลูก เมื่อเวลาลูกกัด ก็รีบสอดนิ้วเข้ากันไม่ให้กัดหัวนมแทนที่จะกัดโดนหัวนม ลูกจะกัดโดนนิ้วมือของคุณแม่แทนค่ะ แต่วิธีนี้อาจทำให้คุณแม่เจ็บนิ้วแทน และอาจจะทำให้นมไหลเลอะเทอะได้เหมือนกันนะคะ

3.อย่ากระชากออก

เมื่อถูกกัดที่หัวนม คุณแม่อย่าเพิ่งดึงลูกออกจากเต้าทันที เนื่องจากหัวนมจะถูกดึงและลูกจะกัดแรงขึ้น ทีนี้อาจจะกลายเป็นเลือดกระฉูดเลยก็ได้นะคะ

4.ระงับการหายใจ

ถ้าลูกกัดหัวนมให้ดันศีรษะลูกเข้าชิดกับเต้านม เพื่อให้หายใจไม่สะดวก หรือบีบจมูกลูกเบาๆ เพื่อให้อ้าปากคายหัวนมออกมา วิธีนี้เป็นวิธีที่ละมุนละม่อมและได้ผลกับตัวผู้เขียนเองมากที่สุดค่ะ ยามลูกงับก็บีบจมูกลูกเลย งับอีกบีบอีก จนในที่สุดลูกก็เรียนรู้ที่จะหยุดค่ะ

5.แม่เจ็บ

แสดงปฏิกิริยาให้รู้ว่าแม่เจ็บ  แม่ไม่ชอบ เช่น  ดุลูก บอกให้ลูกรู้ว่ากำลังทำให้แม่เจ็บ ถ้าไม่ได้ผล ให้ปิดเสื้อไม่ให้ดูดต่อ เอาลูกออกจากเต้าโดยใช้นิ้วมือสอดเข้าที่มุมปากลูก แล้วค่อยๆ ถอนเต้าออกจากปากลูก และวางลูกลง ให้ลูกเรียนรู้ปฏิกิริยาในทางลบของแม่  เมื่อรู้ว่าถูกลงโทษ ลูกก็จะไม่ทำอีก

6.ให้รางวัล

เมื่อลูกดูดโดยไม่กัดนมแม่ ก็ให้รางวัลโดยการพูดชม กอดหรือจูบลูก ซึ่งลูกจะเรียนรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำค่ะ

7.สังเกตลูก

เด็กบางคนจะกัดเวลาง่วง บางคนกัดเวลาหิว บางคนกัดเวลาอิ่ม บางคนกัดเวลาหลับ ให้สังเกตพฤติกรรมของลูกและเลือกเวลาให้นมที่ปลอดภัย

8.นมไม่พอรึเปล่า

เด็กบางคนจะกัดเมื่อน้ำนมไม่ไหลในขณะยังไม่อิ่ม ดังนั้นคุณแม่ควรพยายามกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมมากขึ้น โดยให้ลูกดูดบ่อยๆ และคุณแม่ดื่มน้ำและกินอาหารให้พอ

9.กัดเพราะละเมอ

เมื่อลูกหลับ ให้เอาลูกออกจากเต้า อย่าปล่อยคาไว้ ถ้าลูกร้อง ก็ปลอบโยน กอดลูกให้รู้สึกอบอุ่นใจ

10.ไปกัดอย่างอื่นไป๊

หาอย่างอื่นให้ลูกกัดแทน เช่น ของเล่นชนิดยางที่กัดได้ อาหารที่เหมาะสมกับวัย (ขนม ผัก ผลไม้ที่แข็งหน่อย เช่น ขนมปังกรอบ คุกกี้ แอปเปิ้ล )

แก้ไขหัวนมแตกเนื่องจากถูกกัด

ให้คุณแม่บีบน้ำนมทาหัวนม ปล่อยให้แห้งโดยไม่สวมเสื้อทับ น้ำนมจะช่วยสมานแผลให้หายเร็ว อย่าใช้ครีมทา และไม่ใช้สบู่ล้างหัวนม ซึ่งจะทำให้ผิวแห้งแตกง่าย

ที่มา หมอหวาน

บทความที่น่าสนใจ

หยิบจับ กัดงับ สัญญาณบ่งชี้ว่าหนูกำลังมี พัฒนาการที่ดี นะแม่

แบบนี้เลย! อาการเดียวกันเลย! เพราะให้นมแบบนี้แหละ มันถึงได้เจ็บหัวนมขนาดนี้