ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น ร้องกรี๊ด อาละวาด คุณแม่จะรับมือยังไงได้บ้าง

ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกลงไปร้องดิ้นอาละวาด ? วิธีรับมือลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น กรี๊ดอาละวาด ทิ้งตัวลงไปกับพื้น ดื้อ มาครบจนแม่ปวดหัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหา ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น ถือว่าเป็นปัญหาที่คุณแม่ทุกคนต้องเจออยู่เป็นประจำ ยิ่งเด็กอายุน้อยมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งร้องไห้เก่ง และชอบงอแง เราจะรับมือกับพฤติกรรมนี้ได้ยังไงบ้าง ปัญหาลูกอาละวาด ปกติแล้วเกิดจากอะไร มาไขคำตอบกันค่ะ

 

อาละวาดคืออะไร

การอาละวาด ถือเป็นพฤติกรรมด้านลบอย่างหนึ่ง ที่คน ๆ หนึ่งมักแสดงออกตอนที่โกรธ หรือไม่พอใจ ซึ่งมักพบในเด็กที่อายุยังน้อย โดยเด็ก ๆ มักจะตะโกนร้องไห้เสียงดัง ขว้างปาสิ่งของ ก้าวร้าวรุนแรง กระทืบเท้า เหวี่ยงแขนขา นอนดิ้นที่พื้น หรืออาจทำร้ายตัวเอง เพื่อระงับอารมณ์โกรธของตัวเอง

 

ทำไมเด็กชอบอาละวาด นิสัยชอบอาละวาดเด็ก เกิดจากอะไร

ก่อนที่เราจะไปดูวิธีแก้ปัญหา เรามาทำความเข้าใจกับต้นตอของปัญหากันก่อนนะคะ โดยทั่วไปแล้ว การที่เด็กมักจะงอแงอาละวาดนั้น อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

 

  • เด็กไม่สามารถบอกความต้องการได้ หลาย ๆ ครั้ง เด็กเล็กอายุ 1-3 ขวบ มักจะอาละวาดบ่อย เพราะไม่รู้ว่าจะบอกความต้องการของตัวเองยังไง เด็กบางคนยังพูดไม่ได้ อยากได้อะไรก็บอกกล่าวพ่อแม่ไม่เป็น และเมื่อไม่ได้ดั่งใจ เด็กจึงอาละวาดและร้องไห้ออกมา ซึ่งในกรณีนี้ จะถือว่าเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็กค่ะ และเด็ก ๆ จะหยุดอาละวาดเองเมื่อโตขึ้นและสื่อสารความต้องการได้
  • พ่อแม่ตามใจจนเคยตัว เด็กวัยเตาะแตะ เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งการอาละวาด ก็เป็นหนึ่งในการเรียนรู้และทดลองของเด็ก ๆ  หากเด็กอาละวาดแล้วได้ในสิ่งที่ต้องการครั้งหนึ่งแล้ว เด็กจะเรียนรู้ว่าทำแบบนี้แล้วผู้ใหญ่จะยอมตามใจ และก็จะใช้วิธีอาละวาดต่อไปเรื่อย ๆ จนติดเป็นนิสัย เพราะฉะนั้น ทางที่ดีคืออย่าตามใจลูกตั้งแต่ต้นค่ะ
  • เลี้ยงดูลูกไม่เหมาะสม หากคนในครอบครัวชอบใช้ความรุนแรง เด็กอาจเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว หรือขาดความอบอุ่นได้ จนอาจกลายเป็นเด็กที่ชอบเรียกร้องความสนใจด้วยการอาละวาด นอกจากนี้ การเลี้ยงดูลูกแบบขาดวินัย ก็อาจทำให้เด็กติดนิสัยอาละวาดได้เช่นเดียวกันค่ะ
  • นอนไม่พอ การที่เด็กนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งนำไปสู่การอาละวาดได้ค่ะ
  • ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น เครียด เหนื่อย หรือไม่สบายตัว เป็นต้น
  • ความผิดปกติทางจิตใจหรืออารมณ์ เช่น มีปัญหาทางพัฒนาการ เป็นโรคซึมเศร้า หรือเป็นโรคบางอย่าง เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : Kids Family เลี้ยงลูกให้ฉลาด

 

วิธีรับมือหากลูกร้องอาละวาด 8 วิธีจัดการเด็กงอแง ขี้อาละวาด เอาแต่ใจ

คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจว่าพฤติกรรมร้องอาละวาดนั้น เป็นหนึ่งในพัฒนาการตามวัยของเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กอาละวาด คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เมินเฉย อย่างแรกเลย คือ ไม่ต้องไปสนใจ ให้ทำเป็นมองไม่เห็น ไม่รู้ไม่ชี้ หรืออุ้มลูกไปในที่ที่สงบ ๆ ก่อน สิ่งที่สำคัญ คือ ห้ามแสดงอาการเกรี้ยวกราดหรือดุลูก และห้ามสัญญาว่าจะซื้อสิ่งของให้เด็กเพื่อเป็นเงื่อนไขให้เด็กหยุดร้องไห้ เพราะจะทำให้เด็กเคยตัวค่ะ
  • กอดช่วยเยียวยาทุกสิ่ง เด็ก ๆ ในวัย 1-3 ขวบยังเป็นเด็กเล็ก ทำให้บางครั้งเขาไม่เข้าใจว่า จะต้องพูดหรือแสดงออกยังไง ถึงจะได้ของที่ต้องการ ดังนั้น เด็กหลาย ๆ คนจึงร้องไห้งอแงออกมาแทน บางคนก็ถึงกับชกหัวตัวเองหรือทำร้ายผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ให้เราลองกอดลูก ๆ ดูได้ การกอดถือเป็นการให้ความอบอุ่นแก่ลูก และช่วยให้ลูกสงบขึ้นได้ค่ะ
  • ห้ามใช้วิธีรุนแรง เวลาลูกงอแง อาละวาด สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรกระทำ คือ ควบคุมสติของตนเอง  อย่าเผลอทำร้ายลูกด้วยการดุด่าว่ากล่าวหรือตีแรง ๆ เพราะวิธีการแบบนี้ ถือว่าผิดและไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาค่ะ
  • เพิกเฉยกับคำว่า “ไม่” ของลูกบ้าง เมื่อลูกพูด ไม่ ไม่ และไม่ เช่น ไม่กินข้าว ไม่อาบน้ำ ไม่ไปโรงเรียน เป็นต้น เรียกว่าเป็นจุดเริ่มต้นสงครามระหว่างพ่อแม่ และลูก จนเป็นสาเหตุทำให้ลูกงอแง เอาแต่ใจและเริ่มอาละวาดในที่สุด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเพิกเฉยกับคำว่า ไม่  ของลูก อย่าไปคะยั้นคะยอ หรือดุว่าลูก แต่ให้หาวิธีระงับอารมณ์ฉุนเฉียวของลูกซะ เช่น หากลูกไม่ยอมกินข้าวเพราะลูกยังเล็ก ก็ให้ลองเอาตุ๊กตาตัวโปรดมาเชิญชวนให้ลูกหม่ำข้าว เป็นต้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลูกกลัวการอาบน้ำ จะทำอย่างไรดีเมื่อเด็ก ๆไม่ชอบที่อาบน้ำ งอแงทุกครั้งที่อาบน้ำ

 

  • พูดคุย หากคุณพ่อคุณแม่อาศัยอยู่กับญาติหลาย ๆ คน ควรมีการพูดคุยเพื่อปรับความเข้าใจกับคนในบ้าน และพูดถึงวิธีการจัดการเด็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากมีใครคนหนึ่งคอยตามใจ แน่นอนว่าอาการงอแงอาละวาดนั้น หยุดได้ยากแน่นอน
  • ฝึกการรอคอย การงอแงอาละวาด บางทีก็เกิดจากการที่ลูกใจร้อน ไม่รู้จักการรอคอย อยากได้อะไรต้องได้เดี๋ยวนั้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ที่ต้องสอนลูกให้รู้ว่า เขาไม่สามารถได้ทุกอย่างที่ต้องการในทันที ให้พยายามใจแข็งเอาไว้ แม้ว่าลูกจะร้องไห้จ้า หรือลงไปนอนดิ้นที่พื้นก็ตาม หากเราตามใจลูก ก็จะยิ่งเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมงอแงอาละวาดของเด็ก
  • ฝึกให้ลูกหัดพูด และช่วยเหลือตนเอง เราควรสอนลูกให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง เพราะการช่วยเหลือตนเองจะทำให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการเล่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และรับฟังคนอื่นมากขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะให้ลูกเริ่มจากการหัดติดกระดุมเองก่อน หรือจะเริ่มจากการให้เขาหัดทานข้าวก่อนเองก็ได้ค่ะ
  • ห้ามยั่วยุอารมณ์โกรธ ข้อนี้สำคัญจริง ๆ ค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองไปยั่วยุอารมณ์โกรธลูก เท่ากับเราทำตัวเป็นเด็กเหมือนลูกนะคะ ลูกจะยิ่งทวีความโกรธขึ้น และอารมณ์ร้อนมากขึ้นไปอีก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การอาละวาดแบบไหนถือว่าผิดปกติ

โดยปกติแล้ว เด็กจะเริ่มอาละวาดในช่วงอายุก่อน 2 ขวบ ซึ่งการอาละวาดแต่ละครั้ง จะกินเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 2 นาที แต่เมื่อเด็กเริ่มโตและพูดได้แล้ว อาการอาละวาดก็จะหายไปเองค่ะ แต่ว่าในกรณีที่ลูกอาละวาดนานเกินกว่า 15 นาที อาละวาดบ่อยจนผิดปกติ หรือยังอาละวาดทั้งที่อายุเกิน 4 ขวบแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ว่าเด็กกำลังมีปัญหาด้านพัฒนาการ  และมีความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ในกรณีนี้ คุณแม่ควรพาน้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : รับมือลูกเอาแต่ใจ อย่างไรให้ได้ผล มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

 

การร้องอาละวาดจะทำให้เกิดผลเสียอย่างไร?

หากลูก ๆ ของเราอาละวาดจนเป็นนิสัย เคยชิน และไม่หยุดหย่อน อาจทำให้เด็กมีปัญหาด้านการเรียน ตลอดไปจนถึงการนอน และยังกระทบความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้อีกด้วย นอกจากนี้ ลูก ๆ อาจเริ่มทำร้ายเด็กคนอื่น หรือติดนิสัยทำลายข้าวของได้ค่ะ หากลูกเรามีพฤติกรรมเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกโกรธหรืออายคนอื่นได้ จนอาจต้องตีลูกบ่อย ๆ ดังนั้น หากรู้ว่าลูกมีนิสัยอาละวาดก็ไม่ควรเพิกเฉยนะคะ

 

สุดท้ายนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูก ๆ ได้เลือกทำในสิ่งที่ต้องการ แต่ยังอยู่ภายใต้ขอบเขตและเป็นสิ่งที่เหมาะสม พยายามนำวิธีที่แนะนำไปใช้ดูเมื่อลูกอาละวาด หากลูกเราอายุมากกว่า 3 ขวบแล้วยังอาละวาดอยู่ ก็ลองใช้วิธี time out ดูได้ค่ะ ทั้งนี้ เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ดี ไม่ร้องอาละวาด คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะพูดชมเชยและให้รางวัลแก่ลูก เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในเชิงบวกด้วยนะคะ

 

ตอนนี้ก็รู้กันไปแล้วว่าเมื่อ ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น อาละวาด แม่ ๆ ควรทำอย่างไร ทีนี้ เรามาโหวตกันหน่อยดีกว่า ว่าปัญหาสำหรับลูกเล็ก ที่คุณแม่พบเจอบ่อยคืออะไร ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ปวดหัวหนัก ลูก 3 ขวบ งอแง ลูก 2 ขวบ ก้าวร้าว เอาแต่ใจ ปราบยังไงดีให้อยู่หมัด!

พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

แม่ดีใจทารกเลี้ยงง่าย ไม่ร้องงอแง หมอส่ายหน้าเตือนอาจผิดปกติ

 

ที่มาข้อมูล : 1