รู้เท่าทัน "โรคปอดบวม" กับวิธีเคาะปอดที่ทำเองง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกหลานมีอาการหนาวสั่น ไอมีเสมหะ หายใจเร็วกว่าปกติ หรือหอบระวังให้ดีเพราะลูกอาจเป็น "โรคปอดบวม" ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกท่านค่ะ นี่ก็ใกล้เข้าสู่หน้าฝนเข้ามาทุกทีแล้ว ในช่วงที่อากาศกำลังแปรปรวนแบบนี้ ระวังลูกหลานของเราไว้ให้ดี เพราะลูกหลานอาจติดเชื้อดังกล่าวได้โดยไม่รู้ตัว

โรคปอดบวมคืออะไร

โรคปอดบวม (Pneumonia) หมายถึง ภาวะที่เกิดการติดเชื้อในปอดโดยเฉพาะในถุงลมหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยถุงลมอาจจะเต็มไปด้วยหนอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการโรคปอดบวม ดังต่อไปนี้

อาการโรคปอดบวม

  • หายใจลำบาก
  • มีไข้ หรือตัวอุ่น ๆ
  • รู้สึกไม่สบายตัว ซึม
  • อาการเหมือนคนเป็นหวัด หรือไข้หวัด เช่น เจ็บคอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ
  • ไอแห้ง ๆ ถี่ ๆ
  • หายใจเร็ว มีเสียงหวีด
  • ปวดท้อง
  • เจ็บหน้าอก
  • อาเจียน
  • มีเสมหะปนเลือด หรือมีสีเขียวหรือสีสนิม
  • ไม่ยอมกินนม และเบื่ออาหาร

ทั้งนี้อาการปอดบวมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่า เกิดการติดเชื้อที่ส่วนไหนของปอด หากติดเชื้อบริเวณส่วนกลางหรือส่วนบนของปอดอาจทำให้หายใจลำบากกว่าติดเชื้อที่ปอดส่วนล่าง

สาเหตุการเกิดโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคปอดบวมสามารถเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไมโครพาสมา เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา สารเคมี

การติดต่อของโรค

  • การหายใจเอาเชื้อโรคปอดบวมหรือที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป รวมถึงการรับเชื้อจากการไอ จามของผู้ป่วย
  • มีการติดเชื้อไวรัสในในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด หรือไข้หวัด
  • พบภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆ เช่น โรคอีสุกอีใส หรือ โรคหัด
  • หายใจเอาน้ำย่อยและอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าไปในปอด หรืออาเจียนเข้าไปในปอด ซึ่งมักเกิดเมื่อมีอาการชักหรือโรคหลอดเลือดสมอง

หมายเหตุ จมูกของคนเรา แม้ในช่วงที่มีสุขภาพแข็งแรงก็จะมีเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมอาศัยอยู่แล้ว เมื่อเชื้อโรคเหล่านี้แพร่กระจายไปยังปอด ทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ ซึ่งจะมีโอกาสเกิดมากขึ้นระหว่าง หรือหลังมีอาการหวัด หรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ดี “เสมหะ” ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวด้วยเช่นกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นว่า ลูกน้อยเริ่มมีเสมหะแล้วละก็ สามารถช่วยลูกระบายเสมหะเองได้ง่าย ๆ บ้าน ด้วยวิธีง่าย ๆ ตามคลิปที่เรานำมาฝากในวันนี้กันเลยค่ะ

[youtube

อ้างอิงข้อมูลจาก: Hamoor และThirathat Thongkaew สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ไอกรน” โรคอันตรายที่ทำให้เด็กปอดอักเสบ

เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว ทำไงให้ลูกไกลจากไข้หวัดยามฝนตก

บทความโดย

Muninth