น้องโอ (นามสมมติ) อายุ 14 ปี มาปรึกษาหมอด้วยอาการผื่นเรื้อรังลักษณะเหมือนตุ่มเล็ก ๆ ผิวสาก ผิวหนังเหมือนหนังไก่ ดูคล้ายหนังไก่ ที่ ต้นแขนด้านนอกทั้งสองข้าง เป็นๆ หายๆมาประมาณหนึ่งปี ทายาสเตียรอยด์ กับ โลชั่นลดการอักเสบ ก็ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แล้วก็เป็นอีก โดยไม่มีอาการคันหรือเจ็บ เมื่อหมอได้ซักถามประวัติเพิ่มเติม และตรวจร่างกาย ก็ได้ทราบว่าน้องโอเป็น โรค ขนคุด ในเด็ก ขนคุดที่ขา จึงได้อธิบาย และให้คำแนะนำดังนี้ค่ะ
โรคขนคุดในเด็กคืออะไร ผิวหนังเหมือนหนังไก่ ขนคุดที่ขา
“ขนคุด” เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบบ่อย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นลักษณะตุ่มตามรูขุมขน ไม่มีอาการคันหรือเจ็บ แต่สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วย และผู้ปกครอง โดยเด็กอาจมีขนคุดที่แขน ขนคุดที่ขา หรือตามร่างกาย โรคขนคุดพบมากทั้งในเด็กโต และวัยรุ่น แต่ก็พบในเด็กเล็ก และทารกได้บ้าง
ขนคุดในเด็กเกิดจากอะไร ตุ่มรูขุมขนอักเสบ ?
ขนคุดในเด็กเป็นโรคที่เกิดขึ้นเอง โดยมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เช่น หากคุณพ่อ หรือ คุณแม่ เป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นด้วย ได้มากกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ ทำให้มีการสร้างสารเคอราตินมากกว่าปกติ ทำให้รูขุมขนมีการอุดตัน มีเซลล์ที่ตายอยู่รอบรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ จึงเกิดเป็น “ขนคุด”อยู่ใต้ผิวหนังนั่นเอง
อาการของโรคขนคุดในเด็กเป็นอย่างไร ขนคุดที่ขา ?
ลักษณะรอยโรคของขนคุด จะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ ที่ผิวหนัง ตามรูขุมขน ผิวหนังสาก แห้ง ดูคล้ายหนังไก่ อาจมีบางบริเวณเห็นเป็นรอยแดงรอบรูขุมขน พบบ่อยที่ต้นแขนด้านนอกทั้งสองข้าง ต้นขา อาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็น และแห้ง ขนคุดในเด็กมักพบในเด็ก ๆ ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน อาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นเพียงโรคเดียว หรือพบร่วมกับโรคอื่น เช่น ในเด็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
ทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคขนคุด ขนคุด ที่ขา?
หากลูกมีอาการตุ่มที่ผิวหนัง ตามลักษณะที่หมอกล่าวมาข้างต้น ควรพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ คุณหมอจะวินิจฉัยโรคขนคุด โดยการซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย พิจารณาลักษณะรอยโรค ก็สามารถวินิจฉัยได้
บทความที่น่าสนใจ : บทความ : วิธีดูแลผิวทารก ทำอย่างไรให้ลูกผิวดี สดใส ไร้ขุย
-o
การรักษาโรค ขนคุด ทำได้อย่างไร ?
โรคขนคุด ไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่เป็นการรักษา เพื่อบรรเทาอาการ โดยคุณหมอจะใช้ยาทา เพื่อให้สารเคอราติน ที่อุดตันรูขุมขนหลุดออก โดยทั่วไปอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-3 เดือน หลังการรักษา แต่มักจะมีอาการกลับมา เมื่อหยุดการดูแลรักษาผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปล่อยให้ผิวแห้ง ไม่รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง
หลักในการดูแลผิว คุณหมอจะแนะนำให้ใช้สบู่อ่อน สำหรับผิวแห้ง หรือผิวแพ้ง่าย เช่น สบู่เด็กอ่อน งดอาบน้ำอุ่น หรือน้ำร้อน งดการขัดผิว และหมั่นทาโลชันให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเช้า – เย็น และทาได้บ่อยขึ้นอีกบริเวณผิวที่แห้ง ถ้ามีอาการมาก คุณหมออาจให้ใช้ยาอนุพันธุ์ของวิตามินเอ ชนิดทา ยาทาสเตียรอยด์ ใช้ในช่วงที่ตุ่มของโรคขนคุดมีอาการ แดง คัน อักเสบ มาด้วย และปัจจุบันมีการใช้เลเซอร์ เป็นทางเลือกในการรักษาอีกทางหนึ่ง สำหรับเด็กโต และวัยรุ่นด้วยค่ะ
5 วิธีดูแลผิวทารก ให้สุขภาพดี
1. การอาบน้ำ
เวลาที่จะอาบน้ำให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกสบู่ แชมพู รวมถึงผลิตภัณ์อื่น ๆ ที่เป็นแบบสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หลังอาบน้ำให้ลูกเสร็จแล้ว ควรให้ลูกอยู่ในห้องที่ปิดแอร์ก่อนสักพัก เพื่อให้ลูกปรับตัวหลังอาบน้ำ และควรระวังเรื่องอุณหภูมิ ไม่ให้ลูกหนาวจนเกินไป
นอกจากนี้ ยังไม่ควรใช้สบู่ หรือแชมพูฆ่าเชื้อแบคทีเรียกับเด็กแรกเกิด เพราะสบู่หรือแชมพูเหล่านั้นมีฤทธิ์แรง และอาจทำร้ายผิวลูกน้อยได้ และระหว่างวัน ควรใช้สำลี หรือผ้าขนหนูเช็ดตัวให้ลูก เพื่อให้ลูกสบายตัวและมีผิวชุ่มชื่นทั้งวัน
2. การทาแป้ง
คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแป้งเด็กที่ปราศจากสารเคมีและน้ำหอม เพราะแป้งเหล่านั้นจะทำให้ผิวของลูกแพ้ได้ และไม่ควรเลือกแป้งที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เพื่อป้องกันการแพ้ ความอับชื้น และการติดเชื้อให้กับทารก
3. ปัญหาจากผ้าอ้อม
ผื่นผ้าอ้อม มักเกิดจากการสวมใส่ผ้าอ้อมที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน หรือเกิดจากการให้ลูกสวมใส่ผ้าอ้อมที่เล็กเกินไป หรืออาจเกิดจากสบู่ ทิชชูเปียกที่ใช้ทำความสะอาดผิวหนังลูกน้อยก็ได้
คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และเช็ดทำความสะอาดบริเวณนั้นให้สะอาด หลังจากนั้นจึงโรยแป้งเล็กน้อย เพื่อให้ผิวลูกน้อยบริเวณนั้นแห้งและสะอาดอยู่เสมอ หากลูกมีผื่นขึ้นมากและไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาและอย่างทันท่วงที และป้องกันการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นได้
4. ผิวหนังแห้ง
หากลูกมีผิวแห้ง ควรใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ที่ผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ ทาเพื่อให้ผิวของลูกชุ่มชื่นและอ่อนโยน พ่อแม่หลายคนนิยมใช้น้ำมันมะพร้าว ซึ่งผลิตจากธรรมชาติและปลอดภัยก็ได้เช่นกัน
หากลูกมีผิวแห้ง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลดังนี้
- ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกบ่อยเกินไป เพราะจะเป็นการชะล้างความชุ่มชื้นบนผิวออกไป ทำให้ผิวไม่สดใสและแห้งกร้าน
- ช่วงเดือนแรก ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้ทารกทุกวัน แต่ควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำเปล่าเช็ดตัวลูก อาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้ง เพื่อทำความสะอาดผิว และไม่ทำให้ความชุ่มชื้นในผิวสูญเสียไป
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หากลูกมีอาการแพ้สบู่ แชมพู และโลชั่น ควรเลิกใช้ยี้ห้อที่ลูกแพ้ทันที
5. วิธีดูแลผิวทารกอื่น ๆ ที่ต้องใส่ใจ
- ผิวเด็กแรกเกิดไม่ควรสัมผัสกับแสงแดดจัด หากต้องออกไปนอกบ้าน และควรให้ลูกใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และหมวกเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง
- ควรดูแลรักษาความสะอาดเสื้อผ้าของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ ควรซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกครั้ง ก่อนให้ลูกสวมใส่
- ลูกอาจรู้สึกอับชื้น จากเหงื่อใต้รักแร้ ข้อพับ คอ และบริเวณใต้ร่มผ้าอ้อม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย เพื่อให้ลูกรู้สึกเย็นสบายตัว
- ผงซักฟอก หรือน้ำยาซักผ้าที่มีสารเคมี ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ผื่น และทำให้ผิวลูกแห้งได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังในการเลือกใช้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ด้วยนะครับ
เครดิตภาพ : illinoisderm.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แม่แชร์ ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นขนแปรงเด็กหรือขนคุด
แม่กลุ้มใจ ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด อันตรายไหม
พาร์โวไวรัสบี19 ไวรัสไข้ออกผื่นในเด็กที่คุณแม่ควรทราบ