เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตบริเวณข้างหูของลูกน้อยว่ามีรูเล็กๆ หรือสิ่งผิดปกติหรือไม่ รูเล็กๆข้างหูลูก เป็นสัญญาณอะไร เกิดจากอะไร และจะรักษาอย่างไร

รูเล็กๆข้างหูลูก คืออะไร?

รูเล็กๆข้างหูลูก หรือที่เรียกกันว่า Preauricular sinus เป็นลักษณะหนึ่งของความผิดปกติแต่กำเนิด โดยจะพบรูขนาดเล็กอยู่ที่หน้าใบหูของเด็ก รูเปิดที่ผิวหนังนั้นจะมีลักษณะกลมเล็ก ขนาด 1 – 2 มิลลิเมตร โดยมักจะมีโอกาสพบได้ 0.3 – 0.5% ในเด็กทั้งหมด จากรูจะมีเส้นเล็กๆ ใต้ผิวหนังลึกลงไปในเนื้อเยื่อหน้าหู ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการได้ยินของเด็กได้

รูใกล้ใบหู หรือ Preauricular sinus นี้เกิดจากความผิดพลาดระหว่างที่หูกำลังเจริญเติบโตตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ช่วง 5 – 6 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ ซึ่งจะพบได้เมื่อเด็กคลอดออกมา บางครั้งก็อาจพบความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มีรอยบุ๋มหรือมีติ่งเนื้อเกิดขึ้นได้

รูเล็กๆข้างหูลูก เป็นสัญญาณบอกอะไร

หากพบว่าเด็กมีรูใกล้ใบหู หรือ Preauricular sinus ก็อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน รวมถึงอาจเกิดความผิดปกติในหูชั้นนอก รวมถึงหูชั้นกลางและหูชั้นใน โดยเด็กที่มีรูดังกล่าว 8 ใน 1,000 คนจะมีปัญหาการได้ยิน ในขณะที่เด็กที่ไม่มีรูดังกล่าวมีความเสี่ยง 1.5 จาก 1,000 อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กเกิดมา ควรมีการตรวจสอบการได้ยิน และหากพบความปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างใกล้ชิด

รูเล็กๆข้างใบหู อันตรายหรือไม่

รูใกล้ใบหูที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่หายไปเอง โดยรูดังกล่าวอาจพัฒนากลายเป็นซีสต์ อาจมีการติดเชื้อ อาการแดง ปวด บวม หากพบความปกติ ควรปรึกษาแพทย์ หรือศัลยแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาโดยการผ่าตัดเนื้อที่ติดเชื้อออกไปโดยเร็ว

การรักษา

หากเด็กมีรูเล็กๆใกล้ใบหูโดยไม่มีอาการติดเชื้อ ก็อาจไม่จำเป็นต้องให้การรักษาแต่อย่างใด ยกเว้นจะทำเพื่อความสวยงามหรือรูนั้นมีน้ำไหลออกมาและสร้างความรำคาญอย่างมากต่อผู้ป่วย แต่หากเกิดการติดเชื้อ ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเลาะเอาส่วนของท่อทั้งหมดออกเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ที่สำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยอยู่เสมอ หามีอะไรผิดสังเกต ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงที


ที่มา verywell.com

ภาพประกอบจาก mdmag.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

วิธีง่ายๆ ช่วยให้ลูกฟื้นไข้ใน 5 นาที

ผมและขนเด็กแรกเกิด ดูแลอย่างไร ขนดกแบบนี้เป็นสัญญาณอะไรหรือไม่

บทความโดย

P.Veerasedtakul