ระวัง!! โพสต์ภาพเด็กลงสื่อออนไลน์อาจเข้าข่ายละเมิด

ประธานมูลนืธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กเตือนการโพสต์รูปลูกอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิเด็กโดยไม่รู้ตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธานมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กได้กล่าวในเวทีสนทนาในหัวข้อ “สิทธิเด็ก…ในยุคมนุษย์กล้องครองเมือง” ว่า

“การกระทำใด ๆ ที่ทำให้เด็กรู้สึกกลัว กังวล เสียใจ โดยไม่อยู่ในสภาพความเป็นจริงแล้วนำไปโพสต์หรือแชร์ผ่านสื่อออนไลน์ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็กหลายกรณีกระทำโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ที่กระทำเพียงสนองความรู้สึกสนุก สร้างการยอมรับให้คนกดไลน์กดแชร์ ทั้งนี้ถือเป็นการสร้างตราบาปให้เด็กรู้สึกอับอายด้อยคุณค่าสะท้อนถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวที่พ่อแม่ไม่สามารถเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกว่าจะเกิดผลกระทบทางลบอย่างไร ขาดทักษะการเลี้ยงดู สิ่งเหล่านี้ ถือเป็นการกระทำที่ผิด พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550”

แพทย์หญิงพรรณวิมล วิปุลากร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า การโพสต์แชร์ภาพเด็ก แม้แต่ภาพความน่ารักของเด็ก ก็อาจะเป็นช่องทางเสี่ยงทำให้เด็กตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดีได้ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเข้ามาเกี่ยวข้องกับโลกโซเชียลเกินกว่าวัย จึงอยากขอเสนอให้องค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ออกแนวปฏิบัติกำหนดขอบเขตการใช้สื่อออนไลน์

และนี่คือ ภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรโพสต์ลงโซเชียลค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ภาพถ่ายลูกร่วมกับเด็กคนอื่น เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า ผู้ปกครองของเด็กที่อยู่ในภาพนั้น อนุญาตให้เรานำรูปลูกเขามาลงได้หรือไม่ ดังนั้น ก่อนลงอย่าลืมถามความสมัครใจของคุณพ่อคุณแม่ของเขาดูก่อนนะคะ
  2. โรงเรียนของลูก เพื่อเป็นการป้องกันเหล่ามิจฉาชีพ การไม่ลงชื่อโรงเรียนหรือแชร์โลเคชั่นโรงเรียนของลูก ก็จะสามารถช่วยป้องกันอันตรายให้ลูกได้ในเบื้องต้น
  3. ภาพถ่ายลูกตอนอาบน้ำ จริงอยู่ ที่ภาพถ่ายรูปลูกตอนอาบน้ำ หรือภาพเด็กเล็กตอนโป๊เนี่ย ช่างดูน่ารักน่าชังเสียจริง ๆ เราอาจจะรู้สึกเช่นนี้ แต่บางทีอาจจะมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีหรือคนโรคจิตบางคนคิดเห็นไม่เหมือนกันกับเราก็เป็นได้ ดังนั้น หากเลี่ยงได้ก็ควรที่จะเลี่ยงนะคะ
  4. รูปที่ลูกไม่อนุญาตให้เราแชร์ ยกตัวอย่างภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ภาพถ่ายตอนลูกกำลังเข้าห้องน้ำหรืออุจจาระอยู่นั้น ลูก ๆ อาจจะไม่อยากให้เราเอาลงก็เป็นได้

ที่มา: Thairath

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

แชร์ประสบการณ์หักดิบ งดเล่นโซเชียล 1 เดือนเต็ม!

ตามลูกให้ทันในยุคโซเชียลมีเดียครองโลก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth