ระวัง!!! ยาชาและยากล่อมประสาทเกินขนาด ในเเม่ท้องกระทบลูกในครรภ์

เพราะการใช้ยาชาเเละยากล่อมประสาทเกินขนาดในขั้นตอนของการทำคลอดหรือในคุณเเม่ตั้งครรภ์ มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของลูกที่อยู่ในครรภ์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยาชาและยากล่อมประสาทเกินขนาด ในเเม่ท้องกระทบลูกในครรภ์

FDA หรือ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาออกมาเตือนถึงการใช้ยาชา (Anesthetic) และยากล่อมประสาท (Sedative) ในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่ยาวนานเกินกว่า 3 ชั่วโมง เพราะ ยาชาและยากล่อมประสาทเกินขนาด มีผลเสียทำให้เซลล์ประสาทในสมองตาย และมีผลระยะยาวทำให้เด็กๆ มีปัญหาด้านความจำและปัญหาด้านพฤติกรรมต่างๆ รวมไปถึงพัฒนาระบบประสาทที่ล่าช้า ความบกพร่องด้านการเรียนรู้ และความผิดปกติด้านสมาธิ

แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นผลของการใช้ยา หรือมาจากปัจจัยอื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยผลกระทบที่เด็กๆ จะได้รับนั้นอาจจะขยายไปถึง 3 ปีแรกจากเดิมที่มีความเชื่อว่าจะส่งผลกระทบเพียงแค่ปีแรกเท่านั้นค่ะ

อย่างไรก็ตามในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ตัวยาเหล่านี้จริงๆ คุณพ่อคุณแม่ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรได้รับข้อมูลเหล่านี้อย่างครบถ้วน เพื่อที่จะได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบว่าควรจะเลือกหนทางได้มากกว่ากัน

ยาชาและยากล่อมประสาทเกินขนาด

ระวังทารกติดโรค

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ อธิบายถึงการที่ทารกติดโรคจากผู้ใหญ่ว่า โรคติดเชื้อซึ่งทารกได้รับมาจากผู้ใหญ่หรือเด็กโต แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ทารกติดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย เช่น ไข้หวัดใหญ่ RSV ซึ่งจะทำให้ทารกมีอาการ ไข้สูง มีน้ำมูกเยอะ ไอมีเสมหะ บางครั้งอาจทำให้มีอาการหายใจหอบเหนื่อยจากการที่ปอดอักเสบติดเชื้อได้

การติดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ เกิดขึ้นจากการที่ทารกได้รับเชื้อซึ่งจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยผู้ใหญ่หรือเด็กโต เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด เชื้อโรคก็จะเข้าไปในจมูกและปากของทารก หรือจากการสัมผัสกับของใช้และของเล่นที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคจากน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยอยู่ซึ่งเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทารกได้เมื่อเอามือเข้าปาก แคะจมูก หรือขยี้ตา

 

  • ทารกติดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า มีไข้ อาเจียน ท้องเสีย และอาจมีอาการรุนแรงจนขาดน้ำและเกลือแร่มากทำให้ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้

การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารมักเกิดจากการที่เด็กกินสิ่งที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่เข้าทางปาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร ซึ่งมีการปนเปื้อนมาจากผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่ติดเชื้อนั้น และอาจได้รับเชื้อโรคจากการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้หรือของเล่น ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน จากผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่มีการติดเชื้อโรคนั้นอยู่ เมื่อทารกนำสิ่งของหรือมือที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคนั้นเข้าปาก ก็สามารถติดเชื้อได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกติดโรคจากผู้ใหญ่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันทารกติดโรค

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสทารก โดยเฉพาะเมื่อไปอยู่ในสถานที่ ซึ่งอาจมีการติดเชื้อได้ง่าย เช่น เพิ่งกลับมาจากทำงานโดยการเดินทางด้วยรถสาธารณะ
  2. ไม่ให้ใครมาอุ้มหรือใกล้ชิดกับทารกน้อยโดยไม่จำเป็น เพราะเขาเหล่านั้นอาจมีการติดเชื้อโรคอยู่โดยไม่รู้ตัวก็ได้
    ห้ามมิให้สมาชิกในบ้านที่กำลังป่วยอยู่ มาอุ้มหรือสัมผัสใกล้ชิดกับทารก
  3. หลีกเลี่ยงการพาทารกไปยังสถานที่ชุมชนคนเยอะ
  4. คอยดูแลทารกไม่ให้เอามือหรือสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก
  5. สวมเสื้อผ้าให้ความอบอุ่นที่เพียงพอแก่ทารก
  6. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะทำให้ทารกได้รับภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ ผ่านทางน้ำนมคุณแม่
  7. ให้ทารกได้รับวัคซีนตามวัย ซึ่งโรคติดเชื้อหลายชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่หรือโรต้า สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

เพื่อป้องกันทารกติดโรคจากผู้ใหญ่ พ่อแม่ คนในครอบครัว ควรระมัดระวังและใส่ใจในการป้องกันการติดเชื้อให้แก่ทารก ซึ่งอาจเริ่มต้นจากตัวคุณพ่อคุณแม่เองควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และรักษาสุขอนามัยให้กับตนเองและลูกน้อย คอยระมัดระวังไม่ให้ผู้อื่นมาอุ้ม หอมแก้ม หรือสัมผัสใกล้ชิดกับทารก อย่าลืมว่า วัยทารกเป็นช่วงที่ร่างกายยังเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ หากมีการติดเชื้อโรคบางชนิดอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้

 

 

ผลข้างเคียงของยากล่อมประสาท

ยากล่อมประสาท (Sedatives) คืออะไร?
ยากล่อมประสาทมีประโยชน์ในการรักษาอาการวิตกกังวลและอาการนอนไม่หลับ แต่การใช้ยาเหล่านี้สามารถทำให้ติดยาได้
ยากล่อมประสาทเป็นยาประเภทที่ชลอการทำงานของสมอง ยากล่อมประสาทมีผลช่วยให้สงบและสามารถทำให้นอนหลับ ยากล่อมประสาทมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ
ยากลุ่ม Barbiturates : ยากลุ่มนี้สามารถใช้เดี่ยวๆ หรือใช้คู่กับยาสลบ (anesthesia) บางครั้งยากลุ่มนี้ใช้เพื่อรักษาโรคลมชัก ตัวอย่างของยากลุ่ม barbiturates มี Nembutal (pentobarbital) และ phenobarbital
ยากลุ่ม Benzodiazepines : ยากลุ่มนี้ใช้รักษาอาการชักเช่นกัน พร้อมรักษาภาวะกล้ามเนื้อเกร็งตัว และ คลายความวิตกกังวลก่อนทำหัตการ ตัวอย่างของยากลุ่ม benzodiazepines มี Xanax (alprazolam), Valium (diazepam), Ativan (lorazepam), Librium (chlordiazepoxide), Halcion (triazolam), Serax (oxazepam) และ Klonopin (clonazepam) ส่วน Rohypnol (flunitrazepam) เป็นยา benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์ระยะสั้นซึ่งแรงกว่ายา Valium 10 เท่า ยา Rohypnol ถูกใช้เป็นสารหรือยาสลบในการล่วงละเมิดทางเพศและยาตัวนี้ผิดกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา
ยานอนหลับกลุ่ม “Z-drug” : ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ในกลุ่มตัวรับที่เฉพาะของระบบประสาทส่วนกลางชื่อ BZ1 ซึ่งทำให้การนอนหลับเป็นเรื่องเฉพาะ ตัวอย่างของยานอนหลับกลุ่ม “Z-drug” มี Ambien (zolpidem), Lunesta (eszopiclone) และ Sonata (zaleplon)
มีรายงานของอาการประสาทหลอนและวิกลจริตในบางผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้ ซึ่งไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานาน
ผลข้างเคียงของยากล่อมประสาท
ผลข้างเคียงของการใช้ยากล่อมประสาทคล้ายกับฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ นอกจากจะทำให้สงบแล้ว ยากล่อมประสาทยังทำให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้
ง่วงซึม มึนงง และสับสน
ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและความทรงจำ
อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจช้าลง ซึ่งอาจจะแย่ลงถ้าดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย
มีความเสี่ยงในการหกล้มและการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น
อาการซึมเศร้าและอาการแสดงของความวิตกกังวลนั้นแย่ลง
สมาธิและการตัดสินใจแย่ลง
อารมณ์แกว่งและมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ความเสี่ยงในการติดยา
ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดไม่ว่าจะ
ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
ถ้าคุณสงสัยว่าตัวคุณหรือผู้อื่นนั้นใช้ยาเกินขนาด ติดต่อศูนย์ควบคุมยาพิษหรือไปที่ห้องฉุกเฉินทันที
การติดยาและการพึ่งยากล่อมประสาท
การติดยาเป็นความเสี่ยงสำหรับยากล่อมประสาททั้ง 3 ประเภท การติดยา หมายถึง มีความอยากที่จะใช้ยาแม้จะรู้ถึงผลข้างเคียงที่อันตรายต่องานและชีวิตส่วนตัว ถ้าคุณติดยา คุณอาจรู้สึกไม่สามารถหยุดใช้ยาได้ การพึ่งยา คือ การที่ร่างกายของคุณเรียนรู้ที่จะพึ่งตัวยา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ติดยาแต่มักจะเกิดขึ้นพร้อมการติดยา ถ้าคุณพึ่งยา คุณอาจต้องใช้ขนาดยาที่สูงเพื่อให้ตรงกับความต้องการ (ความทนต่อยา) หรืออาจจะมีผลข้างเคียงทางกายและจิตใจเมื่อคนหยุดใช้ยา (อาการขาดยา) ถ้าคุณใช้ยาทำสงบตัวใดเป็นประจำ คุณไม่ควรหยุดใช้โดยทันทีเพราะมันอาจทำให้เกิดอาการขาดยาที่รุนแรง เช่น อาการชัก ในการที่จะหยุดใช้ยา คุณอาจจะต้องลดขนาดยาอย่างต่อเนื่อง (ค่อยๆ ลดลง) พร้อมการช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์
ที่มาจาก: https://goo.gl/qc96rL

ที่มา Medscape

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

6 เรื่องรอบตัวทำร้ายลูกในครรภ์ โดยไม่ทันระวัง

ไม่อยากซวยต้องเลี่ยง! 5 ข้อห้ามวันปีใหม่ ปีใหม่ห้ามทำอะไร

ดื่มนมแพะดีอย่างไร? รวมประโยชน์จากธรรมชาติของนมแพะที่อยากให้คุณแม่รู้ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา