ระทึก! หมอกว่า 16 คนทำคลอดแม่หนัก 160 กก.

เพราะเป็นการผ่าคลอดลูกที่อันตรายทั้งแม่และเด็กเป็นอย่างมาก จึงต้องใช้ทีมแพทย์กว่า 16 คนปฏิบัติภารกิจนี้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อสำนักข่าวประเทศจีนรายงานว่า ที่โรงพยาบาลประชาชนมณฑลหูหนาน ได้มีการขอความร่วมมือจากแพทย์หลากหลายแผนกไม่ว่าจะเป็นแพทย์สูตินรีวเช วิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ รวมทั้งหมดกว่า 16 คน เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญ นั่นก็คือ การทำคลอดแม่ท่านหนึ่งที่มีน้ำหนักมากถึง 160 กิโลกรัม

โดยคุณแม่ท่านนี้มีโรคประจำตัวหลากหลายโรค และมีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ทำให้การใช้ยาในการผ่าตัดทำคลอดนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก และมีความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นกว่าปกติมากหลายเท่าตัว

แพทย์สูตินรีเวชกล่าวว่า จากการตรวจวินิจฉัยพบว่า คุณแม่ท่านนี้มีอาการครรภ์เป็นพิษตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก และมีโรคประจำตัวทั้งโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นการผ่าคลอดลูกที่ค่อนข้างลุ้นระทึกเลยก็ว่าได้

วิสัญญีแพทย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า การผ่าตัดในครั้งนี้อันตรายมาก เพราะมีความยากลำบากในการให้คนไข้ดมยาสลบ เนื่องจากโรคที่คนไข้เป็นนั้น อาจทำให้เธอขาดออกซิเจนและหยุดหายใจได้ในขณะทำการผ่าตัด ซึ่งเป็นอันตรายมากสำหรับแม่และตัวทารกเอง

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความสามารถของทีมแพทย์ ทำให้การผ่าตัดในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งแม่และทารกปลอดภัย เรียกได้ว่า เป็นการผ่าตัดที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง และเคร่งเครียดของทีมแพทย์จริง ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะมีคำถามว่า แล้วควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าใดในระหว่างตั้งครรภ์ วันนี้เรามีคำตอบค้ะ

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับ

1) คุณ “ตั้งครรภ์” ลูกคนเดียวหรือแฝด

2) น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณ

เมื่อคุณได้คำนวณค่า BMI แล้ว ให้ใช้ชาร์ทต่อไปนี้เป็นข้อมูลในการตัดสินว่าน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นระหว่าง ตั้งครรภ์ คือเท่าใด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.34-15.87 กก.

ค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.07-18.14 กก.

ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 6.8-11.34 กก.

ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 4.99-9.07 กก.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากไหนกัน

น้ำหนักต่อไปนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น ไม่มีคุณแม่คนไหนที่จะมีน้ำหนักตรงเป๊ะตามที่ระบุไว้ ดังนั้น ข้อมูลนี้จึงเป็นภาพรวมให้คุณเข้าใจ แต่ไม่ได้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เที่ยงตรงแม่นยำ

เด็ก: 3.15-3.62 กก.

รก: 0.45-0.90 กก.

น้ำคร่ำ: 0.90 กก.

มดลูก: 0.90 กก.

เนื้อเยื่อเต้านมที่พัฒนาระหว่างตั้งครรภ์: 0.90 กก.

ปริมาตรเลือดที่เพิ่มระหว่างตั้งครรภ์: 1.81 กก.

ของเหลวในเนื้อเยื่อที่พัฒนาระหว่าง ตั้งครรภ์ : 1.81 กก.

ไขมันและสารอาหารที่สะสมระหว่าง ตั้งครรภ์ : 3.17 กก.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: Sanook

กำลังใจแด่คุณแม่ท้องที่กังวลเรื่องการลดน้ำหนัก

ลูกน้ำหนักเกิน ภัยร้ายที่แฝงมากับความน่ารัก

บทความโดย

Muninth