ถึงคราวที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ในไม่ช้านี้ รัฐบาลผุดไอเดีย นโยบายมีลูกเพื่อชาติ เพิ่มจำนวนเด็กแรกเกิด รับสังคมผู้สูงวัย ด้วยเหตุที่ว่าลักษณะการใช้ชีวิตที่แตกต่างออกไปของคนในปัจจุบัน ซึ่งมีบุตรช้า และจำนวนบุตรต่อครอบครัวน้อย ส่งผลให้ตัวเลขสถิติ ของเด็กแรกเกิดในประเทศไทย น้อยลง ยิ่งเมื่อดูตัวเลขต่อหัวของประชากรวัยกลางคน ที่มีกำลังในการดูแล และให้ความช่วยเหลือประชากรวัยพึ่งพิง อย่างผู้สูงวัย และเด็กแรกเกิดแล้ว มากเกินไป อีกทั้งยังมีแน้วโน้มว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า ก็จะมากขึ้นกว่านี้อีก
หลังการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2560 พบประชากรสูงวัย หรืออายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ในสัดส่วนร้อยละ 16.7 ต่อประชากรไทยทั้งประเทศ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นผู้สูงอายุวัยต้น อายุ 60 – 69 ปี ร้อยละ 57.4 ผู้สูงอายุวัยกลาง อายุ 70-79 ปี ร้อยละ 29 และผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 13.6 ในขณะที่ประชากรเด็กแรกเกิดลดลงอย่างมาก และมีแน้วโน้มที่จะลดลงอีกอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากวิถีชีวิตของคนในยุคสมัยปัจจุบัน ที่แต่งงาน มีครอบครัว และมีลูกช้าลง รวมถึงมีอายุที่ยืนยาวขึ้นจากเทคโนโลยีทางการแพทย์อีกด้วย
สนับสนุน นโยบายมีลูกเพื่อชาติ
นายภุชพงศ์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ผอ.สสช.) กล่าวในหัวข้อ สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต ว่า จากการคำนวณปรากฏเป็นผลพยากรณ์ว่า ในปี 2570 ประชากรวัยทำงาน จะต้องช่วยเหลือผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง โดยปี 2560 ประชากรวัยทำงาน หรืออายุ 15 – 59 ปี 100 คน จะต้องดูแลประชากรวัยเด็ก อายุ 0 – 14 ปี 26 คน และดูแลประชากรสูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป 25 คน รวมสัดส่วนวัยพึ่งพิง เด็ก บวกกับ คนชราจำนวน 51 คน ต่อวัยทำงาน 100 คน แต่ในปี 2570 ประชากรวัยทำงาน 100 คน จะต้องดูแลประชากรวัยเด็ก 25 คน และผู้สูงวัยถึง 39 คน รวมสัดส่วนวัยพึ่งพิงทั้งหมด 64 คน ต่อวัยทำงาน 100 คน
การใช้ชีวิตของทุกวัยต้องปรับเปลี่ยน
นายภุชพงศ์ กล่าวเพิ่มว่า วัยเด็กที่เกิดน้อยอยู่แล้ว ต้องได้รับการส่งเสริมด้านการเรียนรู้ ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนต้องมีคุณภาพ ต้องรู้จักการออม และต้องได้รับการปรับทัศนคติ ไม่ให้มองผู้สูงอายุเป็นภาระ
- ส่วนวัยหนุ่มสาวที่พบว่าเมื่อแรกเริ่มทำงานจะเป็นช่วงเวลาที่ใช้เงินเก่งที่สุด กว่าจะไปเอาจริงเอาจังกับการออม ก็เข้าสู่วัยกลางคนไปแล้ว ตรงนี้ก็ต้องปรับพฤติกรรมเช่นกัน
- สุดท้ายวัยสูงอายุต้องดูแลสุขภาพ ส่งเสริมการทำงานเพื่อเลี้ยงตนเองได้ มีกิจกรรมทางสังคม และปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อผู้สูงอายุมากขึ้น
การหาทางเพิ่มประชากรนั้นถือว่าจำเป็น โดยหากอัตราการเกิดของเด็กไทยยังน้อยเช่นนี้ ในปี 2570 จะปรากฏภาวะที่เรียกว่าสังคมเยาว์วัย หมดไป ซึ่งในขณะนี้ สัดส่วนประชากรวัยเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 17.3 ของประชากรไทยทั้งหมด และคาดว่าในปี 2570 จะเหลือเพียงร้อยละ 15.2 ของประชากรไทยทั้งหมด
ก็คงต้อรอดูกันว่า นโยบายมีลูกเพื่อชาตินี้ จะมีอะไรมาดึงดูดใจ ให้คู่แต่งงานใหม่ หรือ คนวัยหนุ่มสาวที่รักอิสระ ยอมสละชีวิตโสด เพื่อสร้างครอบครัวกันบ้าง แต่หากคิดจะมีลูกแล้ว ก็ต้องมองการณ์ไกล เพราะจำนวนประชากร ต้องมาพร้อมกับคุณภาพที่ควรจะเป็น จึงจะดีอย่างที่สุด
ที่มา : https://www.naewna.com/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลดหย่อนภาษี ลูกคนที่ 2 ครม.ไฟเขียวแล้ว สำหรับเด็กที่เกิดปี 2561
มีลูกช่วยชาติได้!! เหตุคนไทยปั๊มลูกลดลง อัตราการเกิดต่ำจนน่าเป็นห่วง
คนท้องต้องตรวจอะไรบ้าง การตรวจโรคของ คนท้องแต่ละไตรมาส ฝากครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง
มีลูกยากอยากมีลูก ทำท่าไหนก็ไม่ท้องสักที ผอมเกิน อ้วนไป มีผลหรือเปล่า