เนื่องจากแนวทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จาก UNICEF แนะนำว่าคุณแม่ควรเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และไม่ควรใช้ขวดนมสลับกับการให้นมแม่ แม้ว่าช่วง 3-4 วันหลังคลอด น้ำนมจะยังไม่มีก็ตามค่ะ แต่ในทางกลับกันหากคุณแม่ไม่ยืดหยุ่นเลย จนทำให้ลูกไม่ได้กินนมในช่วงนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้ทารกขาดน้ำและกลายเป็นโรคดีซ่านได้ในที่สุดค่ะ
และอีกเรื่องนึงคือคุณพ่อคุณแม่หลายคน ไม่อยากให้ลูกติดจุกหลอก แต่ก็มีรายงานออกมาว่าการใช้จุกหลอก สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดภาวะไหลตายหรือโรคการเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารกได้นะคะ
ให้นมแม่ปลอดภัยจริงเหรอ ???
เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันในหลายต่อหลายประเทศมานานนับศตวรรษ สำหรับประเด็นนี้ระหว่างผู้ผลิตนมผง ซึ่งกล่าวอ้างว่านมผงนั้นมีคุณค่าและสารอาหารที่ดีกว่านมแม่ แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนานั้น พบประเด็นปัญหาของน้ำที่ใช้ชงนมเกิดการปนเปื้อน ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของลูกได้เช่นกันค่ะ
ด้านประเทศทางแถบตะวันตกนั้น มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การให้นมแม่มีประโยชน์มาก ทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคอ้วย แม้กระทั่งช่วยเพิ่มไอคิวให้กับเด็กๆ ได้ แต่นักวิจารณ์หลายคนก็ออกมาบอกถึงช่องว่างที่เห็นได้ชัด ระหว่างคุณแม่ที่ค่อนข้างมีฐานะ และคุณแม่ที่มีรายได้ต่ำการให้นมลูกทำได้ค่อนข้างยาก โอกาสที่จะให้นมลูกจึงมีน้อยตามลงไปด้วย
นมผงให้ตอนจำเป็น
ณ ปัจจุบันแม้ว่าจะมีหลากหลายหน่วยงาน ออกมาแนะนำว่าให้คุณแม่พยายามให้นมลูกอย่างน้อย 6 เดือน โรงพยาบาลในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเอง ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนมแม่เป็นอันดับต้นๆ
กฎต่างๆ ที่ออกมานั้น มีเรื่องของการห้ามให้ลูกกินน้ำหรืออาหารอื่นๆ โดยเด็ดขาด ยกเว้นว่าจะมีความจำเป็นทางการแพทย์ จึงอาจจะทำให้คุณแม่หลายคนหนักแน่นและยืนยันว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เท่านั้น แต่ถ้าหากนมแม่ไม่พอต่อความต้องการของลูกจริงๆ ก็จะทำให้ลูกมีอาการขาดน้ำและกลายเป็นโรคดีซ่านได้ค่ะ ซึ่งทุกวันนี้ปัญหานี้กลายเป็นเรื่องที่ทางยูนิเซฟเองก็ต้องเร่งมาตรการแก้ไขโดยด่วน แทนที่จะห้ามให้มีนมผงอยู่ในแผนกคุณแม่หลังคลอดและห้องดูแลทารกแรกเกิด
อย่างไรก็ตามคุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่แล้ว จะพบเจอปัญหาที่ทำให้ให้นมลูกไม่สำเร็จ อย่างเรื่องของปริมาณน้ำนม ท่าทางการอุ้ม หรือยังไงให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี (ไม่ได้อมจนถึงลานนม) ซึ่งเรื่องน้ำนมจะยังไม่มีใน 2-3 วันหลังการคลอดลูก ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ
ผลลัพธ์ที่ไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้น
แม้ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้ได้อย่างน้อย 6 เดือน จะเป็นคำแนะนำจากยูนิเซฟ ที่คุณแม่บางส่วนก็อาจจะทำไม่ได้ เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกันไป ขั้นตอนเหล่านี้คงจะต้องใช้เวลาอีกสักพัก จำนวนของคุณแม่ที่ทำสำเร็จจึงจะสูงขึ้นได้ในระยะยาว แต่การห้ามให้มีนมผงในท้องตลาดเลยนั้น จะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี และเป็นการทำลายความตั้งใจที่ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่เริ่มแรก
ความช่วยเหลือจาก US Preventive Services Task Force คือให้คุณแม่ได้รับการปรึกษาส่วนตัว 1 ต่อ 1 เลยค่ะ ก็ค่อนข้างแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ เพราะเป็นการให้ความรู้ และเปิดโอกาสให้คุณแม่ได้ลองลงมือทำจริง สำหรับคุณแม่ที่มั่นใจว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน ควรได้รับคำปรึกษาจากคุณหมออย่างใกล้ชิด และพาลูกน้อยไปตรวจร่างกายกับกุมารแพทย์เพื่อประเมินว่าลูกได้รับนมอย่างพอเพียงแล้วจริงๆ นะคะ
ที่มา newscientist
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่ควรรู้ของการให้นมแม่ช่วงสามวันแรก
เชื่อสิ! นมแม่ให้ได้ทุกที่ทุกเวลาจริง ๆ นะ