คุยกับลูก อย่างไรให้เข้าใจ พ่อแม่ต้องคุยด้วยภาษาเด็กเล็กแบบนี้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลายคนคงกำลังตั้งคำถามอยู่ในใจกันใช่ไหมละคะ ว่าการที่ลูกเล็กของเรากำลังฟังนั้น เขาเข้าใจคุณพ่อคุณแม่หรือไม่ และอาจจะกำลังท้อที่ คุยกับลูก มากแค่ไหนก็ไม่สามารถตอบกลับมา แต่อย่าเพิ่งคิดมากไปค่ะ เพราะไม่ได้บอกว่าน้องไม่ได้เข้าใจคุณพ่อหรือคุณแม่แต่อย่างใด เพียงแต่น้องยังไม่สามารถตอบกลับได้ต่างหาก

ระหว่างการพูดคุยกับลูกน้อย พ่อแม่ก็ไม่ควรที่จะเป็นผู้สื่อสารอยู่ฝ่ายเดียว แต่เราต้องคอยสังเกตปฏิกิริยาของลูกน้อยด้วย และยิ่งเราคุยกับลูกมากเท่าไร พัฒนาการของลูกก็จะยิ่งดีขึ้นตามค่ะ

 

 

ทริค 6 ข้อ คุยกับลูก ให้เข้าใจกันมาที่สุด

1. ภาษาท่าทางและน้ำเสียง

เพราะลูกน้อยยังอยู่ในช่วงที่ช่างจดช่างจำ และยังอยู่ในช่วงที่เล็กเกินกว่าจะเข้าใจความเหมาะสม อะไรควรหรือไม่ควรทำ ดังนั้นการพูดคุยกับลูกด้วยท่าทางเปี่ยมรักเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้ลูกรู้สึกวางใจ ที่สำคัญต้องห้ามอารมณ์เสียใส่ลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.ใช้คำซ้ำและเน้นคำที่สำคัญ

ช่วงเริ่มต้นที่จะพยายามจะสอนลูก การเริ่มต้นด้วยการเน้นย้ำเรื่องหรือคำสำคัญ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยสื่อสารให้เข้าใจกันอย่างมากที่สุด เช่น การเรียกชื่อลูกบ่อยๆ ย้ำๆ ก็เพื่อให้ลูกรู้จักชื่อตัวเอง และเข้าใจว่าคำนี้คือหมายถึงการเรียกเจ้าตัว

 

3. เรียกชื่อสิ่งที่เห็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ลูกน้อยจะยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ 100% แต่การจดจำของลูกดีมากพอที่จะเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูดหรืออธิบาย การยกหรือชี้สิ่งของ พร้อมกับการสัมผัสก็ยิ่งช่วยให้ลูกเข้าใจมากขึ้น

บทความน่าสนใจ วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

 

4. ใช้เสียงประกอบคู่กับสิ่งที่พูดถึง

การใช้เสียงประกอบหรือท่าทางของสิ่งที่พูดถึง ก็ยิ่งช่วยให้ลูกเข้าใจมากขึ้น เช่น เมื่อคุณแม่พยายามพูดหรืออธิบายถึงสัตว์ชนิดไหน ก็ควรที่จะทำเป็นเสียงของสัตว์ชนิดนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น พูดถึงแมว ก็ออกเสียง “เมี๊ยว” และทำท่าเลียนแบบแมวไปด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. พูดชมลูกอยู่เสมอ

ทุกครั้งที่เราพยายามคุยกับลูก เมื่อลูกพยายามพูดโต้ตอบหรือสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้ถูกต้อง หรือสื่อสารถูกตามที่เคยสอนไว้ อย่าลืมกล่าวชมเป็นกำลังใจให้ลูก หรือให้รางวัลด้วยนะคะ น้องจะได้มีความเข้าใจว่าตัวเองทำได้ดีและถูกต้อง

 

6. สบตาให้มากที่สุด ทุกการสนทนาระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อย ควรจะมองตาหรือมองหน้าไปร่วมด้วยเสมอ เพื่อเป็นอีกหนึ่งสัญญาณให้ลูกกับรู้ว่า พ่อแม่ตั้งใจคุยกับเขา

 

พ่อแม่ที่ใช้เสียงพูดคุยกับลูก ส่งเสียงต่างๆ กับลูก จะช่วยกระตุ้นการพูดคุยของลูก หรือการให้ลูกได้เลียนเสียงต่างๆ จะส่งผลดีต่อระบบประสาทด้านการรับฟัง ทำให้ลูกมีสมาธิ และช่วยเรื่องการแยกแยะเสียงได้ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสะกดคำ การเชื่อมโยงพยัญชนะกับสระต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเรียน การอ่าน และการเขียนที่ดีต่อไป

การเรียนรู้ การตอบสนอง และการสื่อสารกับเด็กในช่วงขวบปีแรก มีความสำคัญต่อพัฒนาการเป็นอย่างมาก หากพ่อแม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยผ่านการเล่นที่เหมาะสมกับวัย รวมถึงพยายามพูดคุยกับลูกอยู่เป็นประจำจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถเห็นถึงพัฒนาการของลูกรักได้อย่างชัดเจน อีกทั้งการเฝ้ามองลูกน้อยในทุก ๆ วันจะทำให้พ่อแม่สามารถสังเกตเห็นถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของลูกน้อยได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ภาษาเด็กเล็ก สื่อสารยังไงให้คุยกันรู้เรื่อง

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตไหมว่า เวลาพูดคุยกับเบบี๋มี เด็กมักมีการใช้น้ำเสียงพูดคุยในโทนเสียงสูงต่ำ มีจังหวะการพูดคุยที่แตกต่างออกไปจากผู้ใหญ่ และมีการใช้สีหน้าท่าทางประกอบการพูดคุยตลอดเวลา การสื่อสารแบบนี้เราเรียกว่า ภาษาเด็กเล็ก

จากงานวิจัยเรื่อง การใช้ภาษาเด็กเล็กหรือ Baby Talk ของ Elise Piazza หนึ่งในทีมวิจัย Baby Lab มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กเล็กจะภาษาในการสื่อสารที่พิเศษแตกต่างออกไป ทำให้คุณแม่ต้องมีการปรับคำพูด โทนเสียงให้พิเศษหรือจะเรียกว่าเสียงสองนั่นเอง เมื่อต้องพูดกับลูก

 

ในปี 2014 งานวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และมหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต มีการทดสอบ โดยใช้อุปกรณ์บันทึกเสียงของผู้ใหญ่ที่ใช้น้ำเสียงในการสื่อสารโทนปกติกับโทนเสียงภาษาเด็กเล็ก ผลปรากฎว่า เด็กมีการโต้ตอบกับเสียงในโทนเสียงภาษาเด็กเล็กมากกว่า นั่นเท่ากับว่า เด็กเล็กจะให้ความสนใจกับภาษาเด็กเล็กซึ่งเป็นภาษาเดียวกันมากกว่า ซึ่งเปรียบเหมือนกับผู้ใหญ่ไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศ ทำให้ไม่มีการโต้ตอบกันเมื่อสื่อสารคนล่ะภาษา แต่ในทางกลับกัน หากพ่อแม่พูดภาษาเดียวกับเด็ก จะทำให้เขาสามารถแยกแยะคำศัพท์ที่ใช้ในการสื่อสารได้ง่ายกว่า

ในบทความวิจัยของ Ramirez ที่ได้ตีพิมพ์ใน American College of Pediatricians ระบุว่า เด็กเมื่ออายุราว 1 ขวบ เมื่อได้รับการสื่อสารด้วยภาษาเด็กเล็กบ่อยๆ จะทำให้เขามีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นเมื่ออายุได้ 2 ขวบ

จึงสรุปได้ว่า การสื่อสารด้วยภาษาเด็กเล็กนั้น จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทั้งด้านการสื่อสาร และด้านภาษา ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เด็กสามารถพูดภาษาได้มากกว่า 1 ภาษา แต่วิธีการนี้มีข้อจำกัด เพราะ Ramirez ได้แนะว่า ควรใช้กับเด็กเล็กตั้งแต่ 7 เดือน จนถึง 3 ขวบ

บทความน่าสนใจ วิธีคุยกับลูกในท้อง เพิ่มทักษะและพัฒนาการทารกในครรภ์ก่อนคลอด

 

 

การพูดคุยกับเด็กอายุ 3 ปี ขึ้นไป

นักวิจัยได้แนะอีกว่า หลังจากเด็กอายุเกินกว่า 3 ปี ให้ใช้ภาษาปกติได้ เพราะเด็กวัยนี้สามารถแยกแยะระหว่างภาษาเด็กเล็กกับภาษาปกติได้แล้ว และยังต้องการให้พ่อแม่สื่อสารกับเขากับผู้ใหญ่อีกด้วย

 

หากพ่อแม่คนไหนอยากจะฝึกภาษาให้กับลูกที่มีอายุมากกว่า 3 ปี แนะนำให้ใช้วิธีการที่เรียกว่า Self-Talk คือ ให้ลูกได้อธิบายว่าวันนี้ทำอะไรบ้าง กับอีกวิธีที่คือ Parallel Talk เป็น การพูดถึงสิ่งของหรือกิจกรรมที่ลูกกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น ควบคู่กับการอ่านหนังสือกับน้อง สอนร้องเพลง และสอนให้เด็กทำตามหรือเลียนแบบ ที่สำคัญ พ่อแม่ควรให้เวลาในการสื่อสารกับลูกให้มากที่สุด

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

เบบี๋ก็มี ภาษาทารก ฟังดีๆนะแม่ เสียงร้องแบบนี้ ลูกพยายามบอกอะไร

10 ท่าทาง ภาษาบอกรักของทารก ถึงพูดไม่ได้หนูก็จะทำให้รู้ว่ารักแม่

วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

ที่มา (1)

บทความโดย

Khunsiri