อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
ภาวะน้ำคร่ำน้อยคือภาวะที่คุณแม่ท้องมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ หรือลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 5 ของปริมาตรน้ำคร่ำในอายุครรภ์นั้น ๆ ซึ่งเราจะทราบได้จากการตรวจอัลตราซาวนด์ โดยทั่วไปมักจะพบได้ร้อยละ 1 – 2 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว แม่ท้องมักจะไม่ค่อยรู้ตัวเองว่ามี ภาวะน้ำคร่ำน้อย ซึ่งสามารถสังเกตได้จากครรภ์ที่ไม่โตขึ้น มีถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกที่เห็นได้ชัดกว่าปกติ เพราะจะมีน้ำไหลออกมาจนเปียกหน้าขา หรือหากคลำที่ท้องแล้วรู้สึกว่าสัมผัสถึงตัวทารกได้ใกล้ขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าอาจมีครรภ์ผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจจะดีที่สุด
น้ำคร่ำมาจากไหน ?
อีกหนึ่งคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยก็คือ น้ำคร่ำมาจากไหน ซึ่งในช่วง 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ของเหลวจะผ่านจากระบบไหลเวียนต่าง ๆ ไปยังถุงน้ำคร่ำ ในช่วงต้นของไตรมาสที่สอง ทำให้ลูกน้อยเริ่มกลืนของเหลวเหล่านั้นแล้วส่งผ่านมันไปยังไต เพื่อที่จะได้ขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ จากนั้นทารกก็จะกลืนลงไปอีกครั้ง โดยจะรีไซเคิลน้ำคร่ำเต็มปริมาตรในทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าของเหลวส่วนใหญ่ก็คือปัสสาวะของลูกน้อยนั่นเองค่ะ
ดังนั้น ลูกน้อยจึงมีบทบาทสำคัญ ในการรักษาปริมาณของเหลวในถุงน้ำคร่ำให้เพียงพอ แม้บางครั้งระบบนี้จะพังลงก็ตาม ส่งผลให้มีของเหลวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน
เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีน้ำคร่ำน้อย ?
แพทย์จะสังเกตจากขนาดท้องที่เล็ก สำหรับระยะการตั้งครรภ์ หรือมาจากการที่ไม่รู้สึกว่าลูกน้อยเคลื่อนไหวมากพอ ซึ่งแพทย์จะมองหาภาวะนี้หากคุณแม่เคยมีลูกซึ่งการเจริญเติบโตถูกจำกัดมาก่อน หรือหากมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ และถ้าต้องการทราบว่าเกิดอะไรขึ้น แพทย์จะส่งไปตรวจอัลตราซาวนด์ เมื่อเครื่องตรวจคลื่นเสียงจะวัดถุงน้ำคร่ำที่ใหญ่ที่สุดในสี่ส่วนของมดลูก และรวมเข้าด้วยกันเพื่อดูว่าได้คะแนนดัชนีน้ำคร่ำ (AFI) อยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งการวัดปกติสำหรับไตรมาสที่สามอยู่ระหว่าง 5 ถึง 25 เซนติเมตร หากรวมแล้วได้น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ก็ถือว่าน้ำคร่ำต่ำ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกคลอดทั้งถุงน้ำคร่ำ ภาพทารกคลอดในถุงน้ำคร่ำ หายาก 1 ใน 9 หมื่น โผล่มาแบบนี้แม่ตกใจเลย
สิ่งที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย
ภาวะน้ำคร่ำน้อย มักไม่มีสาเหตุที่ระบุได้ชัดเจน ยิ่งอาการปรากฏให้เห็นช้าเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นแนวโน้มที่ดีกว่าสำหรับลูกน้อย
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ ได้แก่
- ทารกตัวเล็ก ทำให้ผลิตของเหลวได้น้อยลง
- เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของมารดา เช่น ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน รวมไปจนถึงโรคลูปัส
- ปัญหาเกี่ยวกับรก เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งการที่รกลอกตัวออกจากผนังด้านในของมดลูก มีความเสี่ยงในการทำให้น้ำคร่ำอยู่ในระดับต่ำ หากรกไม่ส่งเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงลูกในครรภ์ได้เพียงพอ เขาก็จะหยุดผลิตปัสสาวะไปด้วย
ต่อมาจะเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย ได้แก่
- เยื่อหุ้มรั่วหรือแตก หากมีการฉีกขาดเล็กน้อยในเยื่อน้ำคร่ำก็มีโอกาสทำให้ของเหลวบางส่วนรั่วไหลออกมาได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในการตั้งครรภ์ แต่ก็มักเกิดขึ้นเมื่อใกล้คลอด โดยสามารถสังเกตเห็นของเหลวที่รั่วออกมาเองตามชุดชั้นใน หรือแพทย์อาจค้นพบระหว่างการตรวจครรภ์
- เยื่อที่แตกไปแล้ว สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้ เพราะเป็นช่องทางให้แบคทีเรียเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ แต่บางครั้งการฉีกขาดในถุงจะหายได้เอง พวกการรั่วไหลต่าง ๆ จะหยุดลง และระดับของเหลวจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยปกติจะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเจาะน้ำคร่ำแล้ว
เป็นอันตรายต่อลูกน้อยหรือไม่ ?
ในกรณีที่ภาวะนี้เกิดในไตรมาสที่สามจะไม่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ กับลูกน้อยเท่าไร แม้ว่าระดับของเหลวจะต่ำมากก็ตาม แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อลูกน้อยอยู่บ้าง เพราะสายสะดืออาจเกิดการบีบตัวทำให้ทารกไม่ได้รับอาหารและออกซิเจนที่เพียงพอ จึงเป็นเหตุผลที่คุณแม่ภาวะนี้ในไตรมาสต้น ๆ มีความเสี่ยงสูงขึ้น ได้แก่
- ทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด หรือไม่ก็ทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
- การผ่าคลอด
- ทารกแรกเกิดคะแนน Apgar ต่ำ
- ทารกแรกเกิดที่ต้องเข้ารักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต (NICU)
บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะน้ำคร่ำอุดตันปอด อันตราย เสี่ยงตายทั้งแม่และลูกในครรภ์
สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะน้ำคร่ำน้อย มีอะไรบ้าง ?
ภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือถุงน้ำคร่ำแตก
- มีความผิดปกติของรก เช่น ภาวะรกเสื่อม
- ความพิการของทารก เช่นการไม่มีไตทำให้ไม่สามารถผลิตปัสสาวะออกมาได้
- มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่นภาวะครรภ์เป็นพิษ หรืออายุครรภ์เกินกำหนด
- การติดเชื้อของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เกิดจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดลดอักเสบ (ponstan, brufen)
ภาวะน้ำคร่ำน้อย อันตรายอย่างไร ?
หากแม่ท้องมีภาวะน้ำคร่ำน้อยก็อาจส่งผลร้ายอื่น ๆ ตามมาเช่น
- ทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์เคลื่อนไหวไม่สะดวก ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกได้
- สายสะดืออาจถูกกดทับได้ง่าย ทำให้ทารกขาดออกซิเจน ส่งผลให้ทารกพิการตั้งแต่กำเนิดหรือเสียชีวิตในครรภ์ได้
- เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด
- มีโอกาสที่จะต้องทำการผ่าคลอดมากขึ้น
- มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเสียชีวิตแรกคลอดได้
- หากน้ำคร่ำมีปริมาณน้อยตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ จะทำให้ปอดของทารกไม่ขยายตัว อาจทำให้ทารกมีปัญหาหลังคลอดได้
จะป้องกันและหลีกเลี่ยง ภาวะน้ำคร่ำน้อย ได้อย่างไร
ภาวะน้ำคร่ำน้อยนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงไม่มีแนวทางที่เฉพาะเจาะจงในการป้องกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก ซึ่งบางสาเหตุนั้นสามารถป้องกันได้ดังนี้
- ปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์
- ฝากครรภ์และมาพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
- หากแม่ท้องมีโรคประจำตัวก็ควรรักษาและควบคุมให้ดี
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์นั้น เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากของแม่ท้องทุกท่าน ดังนั้นแม่ท้องจึงควรดูแลสุขภาพ ใส่ใจกับอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงนี้ และไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร มีอาการแบบไหน ใกล้คลอดหรือยังแบบนี้
น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?
ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์
ที่มา : haamor, americanpregnancy, story.motherhood