ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้ ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด อันตรายไหมคะหมอ

lead image

แม่ตกใจ ลูกแรกเกิด คลอดปุ๊บมีฟันงอกออกมาเลย แม่ควรทำยังไง ปล่อยไว้ หรือให้หมอถอนฟันทิ้ง แล้วลูกจะเป็นอันตรายอะไรหรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันทารกแรกเกิด ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด

ฟันทารกแรกเกิด …โดยทั่วไปทารกแรกเกิดจะยังไม่มีฟันโผล่ขึ้นมา จนกว่าจะมีการพัฒนาของฟันที่ต่อเนื่องไปอีกจนฟันแข็งแรงจึงเริ่มโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งสาเหตุของฟันโผล่ที่แท้จริงยังไม่ทราบ อาจจากที่มีฮอร์โมนมากระตุ้น การสัมผัสกับสารพิษบางอย่าง การติดเชื้อ การขาดสารอาหารบางอย่าง เป็นต้น

 

พบอุบัติการณ์ประมาณ 1: 2,000 ถึง 1: 3,500 ของการคลอด

อุบัติการณ์นี้จะแปรเปลี่ยนไปตามเชื้อชาติอีกด้วยโดยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับเพศของทารก เรามักพบบ่อยบริเวณฟันกัดของขากรรไกรล่างและขึ้นเป็นคู่สมมาตรกัน ที่พบรองลงมาได้แก่ฟันกัดด้านขากรรไกรบน และฟันกรามด้านล่างตามลำดับ

 

การที่มีฟันของทารกโผล่ขึ้นมาเร็วเกินไป

  • ส่งผลให้มีปัญหาในการดูดนมแม่ได้
  • ทารกอาจมีอาการเจ็บเหงือกขณะดูดนม
  • เกิดแผลที่ใต้ลิ้นจนทำให้ไม่อยากดูดนมจากเต้าได้
  • ทั้งยังมีโอกาสสำลักนมได้มากขึ้น
  • แม่เองอาจมีอาการเจ็บหัวนมได้
  • เด็กทารกเองจะเข้าเต้าได้ยาก ทำให้ดูดนมได้น้อย ขาดการสื่อสารสัมพันธ์แม่-ลูก
  • และอาจส่งผลให้ลิ้นทารกผิดรูปได้

 

ทารกอาจขาดสารน้ำหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจนทารกเติบโตช้าและตัวเล็กได้ ที่สำคัญอีกประการคือต้องปรึกษากุมารแพทย์เพื่อให้ตรวจหาความผิดปกติแต่กำเนิดอื่นๆ ที่อาจแฝงอยู่ได้ เนื่องจากภาวะที่มีฟันโผล่ขึ้นมาก่อนนี้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการโรคพันธุกรรมของเด็กบางชนิดด้วย เช่น Pierre- Robin syndrome , ปากแหว่ง-เพดานโหว่ , และกลุ่มอาการเด็กดาวน์ซินโดรมด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการแสดงฟันทารกแรกเกิด

มักพบเป็นฟันสีเหลืองหรือขาว มีขนาดเล็กหรือขนาดเท่าฟันปกติก็ได้ รูปร่างต่างๆ กันไปขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของตัวฟัน โดยที่อาจจะมีรากฟันที่ไม่แข็งแรงส่งผลให้ฟันโยกได้ง่าย จึงมีความเสี่ยงที่ทารกจะกลืนฟัน หรือสำลักเข้าหลอดลมได้

แพทย์มักจะส่งเอกซเรย์ฟันเพื่อแยกว่าเป็นฟันน้ำนมที่ขึ้นเร็ว (พบได้ร้อยละ 90) หรือฟันที่เกินมาซึ่งพบเป็นส่วนน้อยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น เราสามารถจำแนกประเภทของฟันที่โผล่มาได้หลายแบบ เช่น ตามความลึกของการฝังตัวในเหงือก การปรากฏของรากฟัน และการขยับของตัวฟัน เป็นต้น บางรายอาจแค่คลำพบว่ามีฟันนูนอยู่ใต้เหงือกโดยที่ไม่เห็นโผล่พ้นเหงือกออกมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การรักษาฟันทารกแรกเกิด

เราจำเป็นต้องถอนฟันดังกล่าวทิ้งโดยเฉพาะถ้ามีฟันโยกได้เกิน 2 มิลลิเมตร โดยทันตแพทย์มักจะนัดมาถอนฟันออกหลังจากทารกเกิดแล้วได้ 8- 10 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ทารกได้มีโอกาสรับเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้ที่มีประโยชน์เพื่อช่วยในการสร้างวิตามิน K ซึ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยหลักในการแข็งตัวของเลือดเสียก่อน เนื่องจากการถอนฟันดังกล่าวอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือเลือดออกจากเหงือกได้นั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปในห้องคลอดหมอกระแทกท้องแม่ ทั้งกดทั้งดัน อยากรู้ไหมทำไปเพราะอะไร?

สิ่งที่หมอสูติอยากให้แม่รู้ก่อน ดูแลทารกแรกเกิด และการดูแลทารกแรกคลอดในห้องคลอด

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการเด็ก ทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี