พ่อแม่เล่นกับลูกอย่างไร กล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ เราไปดูกันเลยค่ะ ว่า พ่อแม่เล่นกับลูกอย่างไร ถึงจะถูกวิธี และมีความคิดสร้างสรรค์
เล่นกับลูกอย่างไร ให้ลูกกล้าคิดกล้าทำ
- เล่นบทบาทสมมุติ
คุณพ่อคุณแม่สามารถสวมบทบาท เป็นคนต่่าง ๆ เช่นลูกเล่นขายของ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเป็นลูกค้า เพื่อให้ลูกรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ทำอยู่
- เล่นตามจินตนาการลูก
เล่นกับลูกเมื่อลูกจินตนาการสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น กินข้าวปลอม ๆ หรือทำอาหาร คิดเงินต่าง ๆ
- เล่นสร้างบ้าน
เด็กส่วนใหญ่ชอบสร้างบ้าน เพราะเขาจะรู้สึกว่าบ้านนั้นปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่อาจจะทำบ้านเล็ก ๆ ให้ลูกได้เข้าไปเล่น
- เล่นอย่างอิสระ
ให้ลูกเล่นทุกอย่างตามที่อยากจะเล่น ไม่ต้องห้าม เพื่อให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
- เล่นต่อเพลง หรือเล่าเรื่องให้ลูกฟัง
การที่เล่นต่อเพลง หรือเล่าเรื่อง จะทำให้ลูกได้ฝึกคิดตาม หรือคิดเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่เราเล่า หรือร้องเพลง
- พาไปดูธรรมชาติ
พาไปสวนสัตว์ หรือสวนสาธารณะ เพื่อให้ลูกได้มีจินตนาการ หรือผ่อนคลาย
- สังเกตความสามารถของลูก
สังเกตว่าลูกชอบอะไร เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ส่งเสริมเขาให้ทำได้ดียิ่งขึ้น
- มอบความรัก
หากิจกรรมทำร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่ครอบครัว
- ให้ลูกสังเกต และถามคำถาม
คุณพ่อคุณพ่อควรตอบคำถามในสิ่งที่ลูกถาม เราะเด็กกำลังโตจะอยากรู้อยากเห็นเป็นพิเศษ และลองฝึกให้ลูกสังเกตตั้งแต่เนิ่น ๆ
พ่อแม่เล่นกับลูกอย่างไร ให้ได้ใช้เวลาร่วมกัน
- เล่นกับลูก
ชวนลูกเล่นกิจกรรมที่ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิด ความสุข สนุก ยังสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อฝึกทักษะและเรียนรู้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหา
- อ่านกับลูก
การอ่านคือการเปิดโลกความสุข และโลกการเรียนรู้ไม่รู้จบ รวมทั้งได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ให้กับลูก
- ชวนลูกคุย
ช่วยพัฒนาลูกดังนี้ ช่วยลูกพัฒนาทักษะทางภาษา ช่วยกระตุ้นสมอง ช่วยเพิ่มความรู้ ช่วยให้ลูกเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ช่วยพัฒนาการสื่อสารของลูก
- ชวนลูกทำ
ให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง ช่วยสร้างสุขนิสัยทีดี รู้จักวางแผน มีความคิดที่เป็นระบบ และฝึกความรับผิดชอบ
- ชวนลูกเที่ยว
ช่วยพัฒนาการลูกจากการเปิดโลกของลูก ช่วยให้ลูกได้เจอคนที่หลากหลาย ได้ใช้เวลาร่วมกัน ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับลูก
สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรนำมาใช้กับลูก
- รักและปกป้องลูกมากเกินไป เช่น เลี้ยงแบบคุณหนู ไม่กล้าให้ลูกทำอะไร หรือตีกรอบให้ลูกทำตาม
- บังคับขู่เข็ญ ดุดัน เจ้าระเบียบมากเกินไป
- มองการกระทำหรือการเล่นของลูกเป็นเรื่องไร้สาระและน่ารำคาญ
- เคี่ยวเข็ญเรื่องเรียน เร่งให้ลูกอ่านออกเขียนได้เร็ว ๆ
- เห็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กเป็นเรื่องของเด็กดื้อ ต่อต้าน ไม่ฟังคำสั่ง
- ไม่สนใจต่อความรู้สึกและความต้องการของลูก
- ให้อิสระหรือตามใจลูกมากเกินไปจนขาดการสร้างวินัยและความรับผิดชอบ
หากลูกไม่ยอมเลิกเล่น ควรทำอย่างไร
- ต้องคิดก่อนตักเตือน
เช่น ถ้าลูกกำลังเล่นของเล่นอยู่ ให้ถามว่ากำลังเล่นอะไร แล้วค่อยชวนเลิกเล่น เด็กจะรับฟังมากกว่าสั่งไปเลย
- บอกความอยาก แทนห้าม อย่า ไม่
เช่น แม่อยากให้หนูลงมากระโดดข้างล่าง หรือแทนที่จะบอกว่าอย่าวิ่ง ให้เปลี่ยนเป็นเดินช้า ๆ สิลูก
- หมั่นตั้งคำถาม
เช่น ให้ถามว่ากลับบ้านวันนี้ต้องทำอะไรบ้างนะ? แทนการสั่งว่ากลับบ้านต้องทำสิ่งนั้นสิ่งนี้
- สั้น ๆ เข้าไว้
อย่าบ่นยืดเยื้อ ยืดยาว เช่น อยากสั่งให้ลูกถอดรองเท้า ก็พูดแค่ว่า ‘รองเท้าลูก’ แค่นี้ก็เพียงพอ
- บอกล่วงหน้า
เช่น อีก 5 นาที เราต้องเลิกเล่นแล้วนะลูก เด็กจะได้เตรียมตัว ไม่โวยวาย
- ให้ทางเลือก
เพราะลูกจะรู้สึกมีอำนาจตัดสินใจ เช่น จะเล่นต่ออีก 1 หรือ 2 นาทีดีคะ
- พูดให้คิด
ให้เด็กๆได้คิดวิเคราะห์ถึงผลที่ตามมา จากการกระทำของตนเอง เช่น ถ้าเราไม่กินผัก จะเป็นไงนะลูก ท้องผูกใช่ไหม
- สั่งเป็นเพลง
ทำให้คำสั่งดูเป็นความรื่นเริง ลื่นหู
- ใช้ท่าทาง
เช่น แทนที่สั่งลูกให้หยุดเล่น ipad ให้เดินไปหา ยิ้ม มองไปที่ไอแพด แทนการสั่งเสียงแข็ง ๆ
- นับ 1 ถึง 10
แทนที่จะสั่งให้ลูกหยุดทำนู่นทำนี่ทันที ควรให้เวลาลูก โดยการนับ 1 – 10 ถ้าลูกทำตามโดยที่นับไม่ถึงให้ชมลูกด้วยนะคะ
หากลูกชอบเล่นคนเดียว พ่อแม่ควรทำอย่างไร
- หาสาเหตุแล้วแก้ให้ถูกจุด
การที่เด็กไม่ยอมเล่นกับเพื่อน ๆ อาจจะมีปัญหากับบางสถานการณ์ เช่น เคยถูกเพื่อนล้อเลียนหรือรังแก หรือขาดความมั่นใจในการทำกิจกรรม เช่น กลัวจะเล่นไม่ได้ หรือเป็นกิจกรรมที่เด็กเคยเล่นแล้วจึงไม่อยากเล่นอีก ซึ่งเมื่อทราบสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่และคุณครู ต้องให้คำแนะนำกับเด็กเพื่อปรับความเข้าใจ และแก้ไขเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ คอยดูแลเอาใจใส่เวลาเด็กทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง
- พาลูกไปร่วมกิจกรรมกับเด็กคนอื่นบ่อย ๆ
เด็กบางคนถูกเลี้ยงมาท่ามกลางพี่ ๆ หรือเป็นเด็กคนเดียวในบ้าน เมื่อต้องมาอยู่กับเพื่อนวัยเดียวกันก็รู้สึกไม่คุ้นเคย ทำให้ปรับตัวไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้พบปะกับคนทุกเพศทุกวัยเพื่อให้ลูกรู้จักปรับตัวให้ได้ทั้งกับคนที่อายุมากกว่าและน้อยกว่า
- คุณพ่อคุณแม่ต้องหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกบ้าง
ผู้ใหญ่ควรให้ความใส่ใจในการร่วมกิจกรรมกับเด็ก เช่น เล่านิทานให้ฟัง หาเกมมาเล่นด้วย ชวนลูกดูสารคดี หรือนั่งดูการ์ตูนที่ลูกชอบด้วยกัน และถือโอกาสสอดแทรกคำสอนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ การที่ลูกได้ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในบ้าน เป็นการสนับสนุนให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยให้เขากล้าเข้าสังคมมากขึ้น
- ปรึกษาแพทย์และนักจิตวิทยาเด็ก
หากคุณพ่อคุณแม่และคุณครูลองทุกวิธีแล้ว จนเด็กอายุประมาณ 3 ขวบครึ่งแล้ว เด็กยังคงขี้อายมาก ๆ และไม่ยอมเล่นกับเพื่อน ๆ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก เพราะเด็กอาจมีปัญหาอื่น ๆ ด้านพัฒนาการ ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
รวม 10 ฟาร์มและแหล่งการเรียนรู้ สำหรับคุณลูก ไปง่าย ใกล้เมืองกรุง
รีวิว ของเล่น6-12เดือน เสริมสร้างพัฒนาการสำหรับลูกน้อย
อยู่บ้านก็เล่นได้ : 15 กิจกรรมแสนสนุก อยู่บ้านก็เพิ่มทักษะให้ลูกได้ (ตอน 2)