ซีรีย์ ไหว้พระ 9 วัดที่อยุธยา คราวที่แล้วเราพาไป วิหารพระมงคลบพิตร วันนี้ theAsiantparent Thailand ขอเสนอ วัดที่ 3 นั่นก็คือ วัดใหญ่ชัยมงคล เราไปดูประวัติความเป็นมาของวัด กันเลยดีกว่า
วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ “วัดป่าแก้ว” หรือ “วัดเจ้าไท” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเกาะพระนคร ปัจจุบัน เป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จุดเด่นของวัดได้แก่ เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัด ยังเป็นที่ประดิษฐาน ของศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย
วัดใหญ่ชัยมงคล ถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญ ทางประวัติศาตร์มากที่สุด และเป็นวัดที่นักท่องเที่ยว นิยมมามากที่สุดวัดหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงเป็นธรรมดา ที่จะพบเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เดินทางมายังวัดแห่งนี้ จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือเรื่องราวทางประวัติศาตร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัด มีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วย นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาด
ประวัติวัดใหญ่ชัยมงคล
ที่นี่เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นคือในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิปดีที่ 1 หรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองพระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.1900 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดศพเจ้าแก้ว ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคขึ้นมาเผา ที่ปลงศพนั้นโปรดให้สถาปนาเป็นพระอาราม นามว่า วัดป่าแก้ว
ต่อมา คณะสงฆ์สำนักวัดป่าแก้วบวชเรียนมา จากสำนักรัตนมหาเถระ ในประเทศศรีลังกา คณะสงฆ์นี้ได้เป็นที่เคารพเลื่อมใส แก่ชาวกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทำให้ผู้คนต่างมาบวชเรียนในสำนักสงฆ์คณะป่าแก้วมากขึ้น สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จึงทรงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้ เป็นสมเด็จพระวันรัตน มีตำแหน่งเป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายคันถธุระ
เรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์ ของวัดป่าแก้วมีอยู่ว่า อุโบสถของวัด เคยเป็นที่ซึ่งคณะคิดกำจัดขุนวรวงศาธิราช กับท้าวศรีสุดาจันทร์มาประชุมเสี่ยงเทียนอธิษฐาน ครั้งนั้น ได้รับผลสำเร็จ จึงอัญเชิญพระเฑียรราชาลาผนวช ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. ๒๑๐๔ ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้นเอง ได้มีพระบรมราชโองการ ให้เอาสังฆราชวัดป่าแก้ว ไปสำเร็จโทษ ฐานฝักใฝ่ให้ฤกษ์ยามแก่ฝ่ายกบฎ พระศรีศิลป์ พ.ศ. ๒๑๓๕ ในแผ่นดินของพระนเรศวรมหาราช มีเหตุการณ์สำคัญ ที่ชวนให้เข้าใจว่า มีการสร้างปฎิสังขรณ์เจดีย์ประธานวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ของพระองค์ที่ได้ชัยชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่า จึงทำให้เชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อวัดใหญ่ชัยมงคล
จุดที่น่าสนใจ เจดีย์ชัยมงคลอนุสรณ์แห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรบชนะ มังกะยอชวาพระมหาอุปราชของหงษาวดี ที่ต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรีในครั้งนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาในขอบขันฑสีมา สมเด็จพระนเรศวรฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถผู้เป็นพระอนุชาจึงได้นำทัพไปรับศึก และได้ขับช้างเข้าไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึกทีคอยระดมยิงปืนเข้าใส่พระและพระคชาธาร โดยที่เหล่าแม่ทัพนายกองวิ่งตามพะรองค์มาไม่ทันพระองค์จึงประกาศด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่าเชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว พระอุปราชของพม่าจึงไสยช้างออกมากระยุทธถีด้วยกันในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงพลผ่ายฟาดฟันพระอุปราชขาดตะพายแล่ง
เมื่อกลับมาสู่พระนครแล้ว พระองค์ก็จะลงโทษเหล่าทหารที่ตามพระไปไม่ทันตอนกระทำศึกยุทธหัตถี ซึ่งมากฏระะเบียบแล้วต้องโทษถึงขึ้นประหารชีวิต ช่วงเวลาที่รออาญาสมเด็จพระพันรัตน พระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ 25 รูปได้ขอให้พระนเรศวรพระราชทานอภัยยกเว้นโทษให้กับทหารเหล่านั้น โดยให้เหตุผลว่าพระองค์เปรียบดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แวดล้อมด้วยหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ เป็นการประกาศเกียรติและบารมีความกล้าหาญและเก่งกาจของพระองค์ให้ขจรกระจายไปทั่วแคว้นทั่วแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความมีน้ำพระทัยของพระองค์ ที่มีต่อเหล่าทหารเหล่านั้น และพระะราชทานนามว่า“เจดีย์ชัยมงคล”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พาเที่ยวกรุงเก่า ไหว้พระ 9 วัด วัดที่ 2 ที่ วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา
เปิดซีรีย์พา ทำบุญ 9 วัด ที่อยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อน (วัดที่ 1 วัดพนัญเชิง)
ไหว้พระขอลูก อยากมีลูกต้องขอที่ไหน ขออย่างไร วิธีขอลูกที่ถูกต้อง ลูกติดทันที!
ที่มา: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา , facebookประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา