100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 44 พาเทาซินโดรมคืออะไร (Patau syndrome)

พาเทาซินโดรมคืออะไร คุณพ่อคุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่าภาวะดังกล่าวคืออะไร ขอนำบทความเกี่ยวกับภาวะพาเทาซินโครมมาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พาเทาซินโดรมคืออะไร คุณพ่อคุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่าภาวะดังกล่าวคืออะไร theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับภาวะพาเทาซินโครมมาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ มาดูกันค่ะว่าโรคพาเทาซินโดรมคืออะไร มันส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

 

พาเทาซินโดรมคืออะไร

พาเทา ซินโดรม คืออะไร กลุ่มอาการพาทัว

 

พาเทาซินโดรม (Patau syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง ซึ่งจะมีโอกาสเกิดได้ 1 ใน 10,000 โดยส่วนใหญ่เกิดจาก
ความผิดปกติในช่วงของการสร้างอสุจิและไข่ก่อนที่จะมาผสมกันหรือมีความผิดปกติของการแบ่งเซลล์นั่นเอง โรคความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นหูกับโรคดาวน์ซินโดรม กันมาบ้างแล้ว ดาวน์ซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม

 

โดยโครโมโซมคู่ที่ 13 เป็นสาเหตุของโรคในกลุ่มอาการ “พาเทาซินโดรม” ซึ่งทำให้เกิดอาการปากแหว่ง เพดานโหว่ ตาเล็ก หูหนวก ใบหูต่ำ นิ้วมือนิ้วเท้าเกิน หัวใจและไตผิดปกติ สมองพิการ ปัญญาอ่อน ทารกตายหลังจากคลอดไม่กี่เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกินมา 1 แท่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการ เชาวน์ปัญญาต่ำ ทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการช้า มีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อ หน้าแบน หัวแบน จมูกแบน ตาเล็กเป็นวงรี คอสั้น ตัวเตี้ยกว่าคนในวัยเดียวกันเมื่อโตขึ้น และอาจมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอายุสั้นกว่าคนปกติ นอกจากโครโมโซมคู่ที่ 21 แล้ว ยังมีโครโมโซมอื่น ๆ ที่เกินมาแล้วเป็นสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมที่รุนแรง

 

โครโมโซมคู่ที่ 18 เป็นสาเหตุของโรคในกลุ่มอาการ “เอ็ดเวิร์ดซินโดรม” ซึ่งทำให้เกิดอาการ ปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ ปากและกรามเล็ก คางเว้า ขากรรไกรสั้น หูต่ำกว่าคนปกติ มีรอยพับย่นบนเปลือกตา

 

เนื่องจากโรคทางพันธุกรรม จะยังไม่มีทางรักษา แต่ในปัจจุบันนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจคัดกรองโรคนี้ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ มีทั้งการตรวจคัดกรองแบบเจาะเลือด หรือจะตรวจวินิจฉัยโดยการเจาะน้ำคร่ำนั่นเองค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับ Panorama NIPT จะตรวจคัดกรองความผิดปกติทางโครโมโซมของทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพียง 9 สัปดาห์เป็นต้นไป ด้วยการเจาะเลือดคุณแม่ จึงไม่มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ และมีความแม่นยำสูงกว่า 99%

 

อาการของเด็กที่เกิดเป็นโรคพาเทาซินโดรม

พาเทาซินโดรมคืออะไร กลุ่มอาการพาทัว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กที่เกิดเป็นโรคพาเทาซินโดรมมีอาการปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ หูหนวก นิ้วเกิน ตาอาจพิการ หรือตาบอด โดยส่วนใหญ่อายุสั้นมาก หรือบางรายอาจจะรวมกันเป็นตาเดียวกล้ามเนื้อแขนขาอ่อน นิ้วเกิน ไส้เลื่อน หูต่ำ ปัญญาอ่อนอย่างรุนแรง ชัก ลายนิ้วมือที่ฝ่ามือมีความผิดปกติที่เรียกว่า Simian Crease มีความผิดปกติของกระดูกแขนขา ตาเล็ก ศีรษะเล็ก ขากรรไกรสั้น อัณหะไม่ลงไปในถุง เด็กอาจจะมีหลอดเลือดในสายสะดือเพียงหลอดเลือดเดียว ซึ่งมักจะเป็นอาการของโรคหัวใจแต่กำเนิด

 

พาเทา ซินโดรมคืออะไร

 

การรักษา

การรักษาโรคนี้จะขึ้นอยู่แล้วแต่กรณี แต่โดยปกติแล้วเด็กที่ป่วยเป็นโรคพาเทาซินโดรม (Patau syndrome) มักมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 1 เดือน โดย 80% ของเด็กที่ป่วยเป็นโรคพาเทาซินโดรม (Patau syndrome) มักจะเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด หยุดหายใจระหว่างนอนหลับ หูตึง มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดนม หัวใจล้มเหลว ชัก และมีสายตาพร่ามัว

การป้องกัน

โรคนี้สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยการเจาะตรวจน้ำคร่ำ ซึ่งจะทำในกรณีที่มีความเสี่ยง เช่น เคยมีประวัติการมีลูกที่เป็น พาเทาซินโดรม Patau Syndrome มาก่อน

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

Source : 1 , 2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟังจากคุณหมอ! ชวนรู้จักกับ NIPT และเหตุผลที่คุณแม่ทุกคนควรตรวจภาวะดาวน์ซินโดรม ไม่ว่าอายุจะมากหรือน้อย

ระวัง! เลี้ยงลูกแบบไทย ๆ เสี่ยงเป็นโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง(Imposter Syndrome) 

โรคเบาหวาน ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย วิธีการดูแลคนท้องเป็นโรคเบาหวาน

บทความโดย

Khattiya Patsanan