พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีที่น่าจับตา

ทารกในขวบปีแรกมีพัฒนาการที่รวดเร็วมากในทุกๆ ด้าน มาดูกันว่า พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีในแต่ละช่วงมีอะไรที่น่าจับตาบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปี

ทารก เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ในช่วงเดือนแรกของชีวิตพฤติกรรมของลูกส่วนใหญ่จะเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ คือเป็นการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ โดยอัตโนมัติ เช่น รู้จักดูดเมื่อมีอะไรก็ตามมาสัมผัสที่ริมฝีปาก รู้จักกำนิ้วหรือวัตถุอะไรก็ตามที่วางลงบนฝ่ามือ และเมื่อสมองของลูกน้อยค่อยๆ พัฒนาขึ้น การกระทำต่างๆ จึงเริ่มผ่านความคิดมากขึ้น

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

  • ยกศีรษะเมื่อนอนคว่ำ
  • กำมือแน่น
  • มองเห็นวัตถุหรือใบหน้าชัดเจนในระยะ 8-12 นิ้ว และชอบที่จะมองหน้าผู้คนมากกว่าอย่างอื่น
  • ตอบสนองต่อเสียงดัง เช่น กะพริบตา สะดุ้งตื่น ขยับตัว หรือ ร้องไห้

ทารก 1-3 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ลูกน้อยวัย 1-3 เดือน ปฎิกิริยาสะท้อนกลับเริ่มหายไป การมองขึ้นเห็นดีขึ้นมาก สนใจมองสิ่งต่างๆ รอบตัวมาก ลูกน้อยอาจมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว จดจำสิ่งของหรือคนที่คุ้นเคยในระยะไกลได้ และเริ่มใช้มือและตาสัมพันธ์กัน ลูกน้อยวัยนี้สามารถหันหาเสียงที่คุ้นเคยและยิ้มเมื่อเห็นหน้าพ่อแม่หรือใบหน้าที่คุ้นเคย และเริ่มเปล่งเสียงสั้นๆ ได้

กล้ามเนื้อคอของลูกเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว ในตอนแรกลูกแค่ยกศีรษะได้ไม่กี่วินาทีเมื่อนอนคว่ำ และกล้ามเนื้อก็ค่อยๆ แข็งแรงขึ้นทุกครั้งที่ลูกยกศีรษะขึ้น เมื่อลูกน้อยอายุ 3 เดือน เขาจะสามารถยกศีรษะและยกหน้าอกขึ้นได้ด้วยแขน เมื่อนอนคว่ำ

การเคลื่อนไหวมือและแขนพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ จากกำมือแน่นเป็นแบมือ จับและตีวัตถุได้แล้ว ลูกจะเริ่มสำรวจมือตัวเอง โดยยกมือขึ้นมาดูและนำมันเข้าปาก

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 3 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทักษะการเคลื่อนไหว

  • ยกศีรษะและลำตัวส่วนบนได้เมื่อนอนคว่ำ
  • ยืดขาและเตะ เมื่อนอนคว่ำหรือนอนหงาย
  • แบมือและกำมือ
  • นำมือเข้าปาก
  • จับและเขย่าของเล่นในมือ
  • ปัด และตี ของเล่นที่ห้อยอยู่
  • มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว

ทักษะภาษา

  • เปล่งเสียงสระสั้นๆ ได้ เช่น โอ อา

ทักษะอารมณ์และสังคม

  • ยิ้มให้กับใบหน้าที่คุ้นเคย
  • ชอบเล่นกับคนอื่น

ติดตามอ่านพัฒนาการของทารกวัย 4-7 เดือน คลิกหน้าถัดไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารก 4-7 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ในช่วงอายุ 4-7 เดือน ลูกน้อยเรียนรู้ในการประสานความสามารถในการรับรู้ใหม่ๆ (การมองเห็น การสัมผัส และการได้ยิน) กับทักษะการเคลื่อนไหว เช่น การคว้าจับ การพลิกคว่ำพลิกหงาย การนั่ง และแม้แต่การคลาน ตอนนี้ลูกน้อยควบคุมสิ่งที่จะทำและสิ่งที่จะไม่ทำได้มากขึ้น ซึ่งต่างจากในตอนแรกที่เป็นเพียงปฏิกิริยาสะท้อนกลับอัตโนมัติ ลูกน้อยจะสำรวจของเล่นด้วยการจับและนำเข้าปาก แทนที่จะมองดูเฉยๆ ลูกน้อยยังสามารถสื่อสารได้ดีขึ้นมากกว่าแค่ร้องไห้เวลาหิว หรือเหนื่อย หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนกิจกรรมหรือของเล่น

ลูกน้อยพัฒนาความผูกพันกับพ่อแม่ที่แน่นแฟ้นขึ้น และจะแสดงให้เห็นว่าชอบผู้เลี้ยงดูคนไหนมากกว่ากัน แต่ก็ยังยิ้มและเล่นได้กับทุกคนที่พบ

เมื่อลูกสามารถใช้แขนดันพื้นและแอ่นหลังเพื่อยกหน้าอกขึ้นได้ เป็นสัญญาณว่าลำตัวส่วนบนของลูกมีความแข็งแรงและเตรียมพร้อมสำหรับการนั่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยวัย 4 เดือนสามารถนำของเล่นเข้าปากได้ คุณแม่จึงควรเก็บของชิ้นเล็กๆ ให้พ้นมือลูกน้อยเพื่อป้องกันอันตรายจากการกลืนสิ่งของโดยไม่ตั้งใจ

ลูกน้อยวัย 6-8 เดือนสามารถส่งสิ่งของจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้ และเริ่มสนใจเท้าและนิ้วเท้าของตัวเอง

ด้านการมองเห็น ลูกน้อยสามารถโฟกัสวัตถุที่มองตามวิ่งที่เคลื่อนที่ได้ ชอบสิ่งที่มีรูปแบบและรูปร่าที่ซับซ้อนมากขึ้น และชอบมองตัวเองในกระจก ยังคงส่งเสียงอ้อแอ้ แต่สามารถทำเสียงสูงต่ำได้แล้ว

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 7 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

ทักษะการเคลื่อนไหว

  • กลิ้งไปกลิ้งมา พลิกคว่ำพลิกหงาย
  • นั่งโดยเอามือค้ำ หรือไม่ค้ำได้แล้ว
  • ยื่นมือไปคว้าจับวัตถุด้วยมือเดียว
  • ส่งวัตถุจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง
  • ลงน้ำหนักทั้งหมดวางเท้า หรือถูกจับให้ยืน
  • สำรวจวัตถุด้วยมือและปาก
  • สำรวจวัตถุด้วยการตีและเขย่า

ทักษะภาษา

  • หัวเราะ
  • ส่งเสียงอ้อแอ้เป็นเสียงพยัญชนะ เช่น บา บา บา

ทักษะอารมณ์และสังคม

  • แยกอารมณ์ต่างๆ ของผู้พูด ได้จากโทนเสียง
  • หาวัตถุที่ถูกซ่อนไว้บางส่วนได้

ติดตามอ่านพัฒนาการของทารกวัย 8-12 เดือน คลิกหน้าถัดไป

ทารก 8-12 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ลูกน้อยจะเริ่มคลานได้ในช่วง 7-10 เดือน การคลานเป็นพัฒนาการที่สำคัญซึ่งเกิดจากการสื่อสารของสมองทั้งสองด้าน เด็กบางคนไม่คลานด้วยมือและเข่า แต่จะเคลื่อนที่ด้วยก้น หรือคลานด้วยท้องแทน  เมื่อลูกอายุ 8 เดือน จะสามารถนั่งได้โดยไม่ต้องประคอง และสามารถลุกนั่งได้เอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยเคลื่อนที่ได้มากขึ้นแล้วในช่วงนี้ คุณแม่จึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย ปิดเหลี่ยมมุม ปิดปลั๊กไฟให้เรียบร้อย นอกจากนี้ บางบ้านอาจต้องใช้ประตูกั้นบันไดเพื่อป้องกันลูกตกจากที่สูงด้วย

หลังจากที่ลูกคลานได้ เขาจะเริ่มดึงตัวเองให้ยืน และเริ่มเกาะเดิน เมื่อการทรงตัวของลูกดีขึ้น ลูกจะค่อยๆ ก้าวเดินโดยไม่ต้องประคองได้ เด็กส่วนใหญ่เริ่มเดินเมื่ออายุราว 12 เดือน แต่หากเร็วหรือช้ากว่านั้นก็ยังถือว่าปกติ

ลูกจะสามารถใช้นิ้วมือหยิบสิ่งของเล็กๆ ได้ ลูกจะเรียนรู้ที่จะกางนิ้วและทิ้งหรือโยนของ ลูกน้อยจะสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยการเขย่า ตี ย้ายของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง และยังชอบเอานิ้วจิ้มเข้าไปในรูด้วย

พัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อยก็เป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ ลูกน้อยเริ่มเรียก “แม่” “พ่อ” และเลียนแบบเสียงที่คำอื่นทำ ภายใน 12 เดือนลูกน้อยจะสามารถพูดอย่างน้อย  1 คำที่ไม่ใช่ “แม่” “พ่อ” ได้อย่างชัดเจน เข้าใจความหมายของคำว่า “ไม่” และเริ่มทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เริ่มสื่อสารด้วยท่าทาง การชี้ การคลานไปยังสิ่งที่ต้องการ และยังสามารถเช่นเกม ตบแปะและจ๊ะเอ๋ได้

ในช่วงอายุนี้ ลูกน้อยยังเรียนรู้เรื่องการคงอยู่ของวัตถุแม้สิ่งนั้นจะไม่อยู่ในสายตา ลูกน้อยสามารถเปิดผ้าห่มหาของเล่นที่ซ่อนอยู่ได้

เด็กวัยนี้เริ่มกลัวคนแปลกหน้า และการพรากจาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 9-18 เดือน และจะหายไปเมื่ออายุ 24 เดือน

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 12 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

ทักษะการเคลื่อนไหว

  • นั่งเองได้
  • คลานโดยใช้มือและเข่าได้
  • ดึงตัวเองให้ลุกยืน และเกาะเดินได้ ยืนโดยไม่ต้องประคอง ก้าวได้สองสามก้าวโดยไม่ต้องประคอง และเริ่มเดิน
  • หยิบด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้
  • วางวัตถุในภาชนะ และหยิบออกจากภาชนะได้
  • เริ่มจับช้อน หรือพลิกหน้าหนังสือได้

ทักษะภาษา

  • เรียก “แม่” “พ่อ” และใช้คำอื่นที่สื่อความหมายถึงพ่อแม่ได้
  • อุทานได้
  • พยายามเลียนแบบคำพูด และอาจพูดตามคำแรกได้
  • ใช้ท่าทางง่ายๆ เช่น ส่ายหน้า คือ “ไม่” หรือโบกมือ คือ “บ๊ายบาย”
  • เช่นตบแปะ หรือจ๊ะเอ๋ได้

ทักษะอารมณ์และสังคม

  • หาวัตถุที่ซ่อนอยู่ได้
  • ใช้สิ่งของอย่างถูกวิธี เช่น ถือโทรศัพท์โดยหูอยู่ด้านบน ดื่มน้ำจากแก้ว
  • อาย กลัวคนแปลกหน้า
  • ร้องไห้เมื่อแยกจากแม่หรือพ่อ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกช่วงขวบปีแรก

พัฒนาการเด็กวัย 1 เดือนและเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย