พัฒนาการทารก 9 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยกำลังเติบโตขึ้นทุกวัน พัฒนาการทารก 9 เดือน เด็กวัยนี้จะอยู่ในช่วงตั้งไข่ ถ้าพ่อแม่ไม่คอยสังเกตดู อาจจะไม่รู้เลยว่าลูกเริ่มได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ รู้ตัวอีกทีก็เดินได้หลายก้าวแล้ว ประสาทสัมผัสต่าง ๆ และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ก็ดีขึ้นตามช่วงวัย เหมาะกับการทำกิจกรรมเสริมพัฒนาการง่าย ๆ บ้างแล้ว

 

4 พัฒนาการทารก 9 เดือน ที่พ่อแม่ต้องรู้

เมื่อทารกมาถึงวัย 9 เดือน ถือว่าใกล้ 1 ปีเข้าไปเรื่อย ๆ แล้ว ในช่วงอายุนี้ทารกน้อยจะมีพัฒนาการในหลายมุมที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนมากขึ้น และพร้อมเรียนรู้ได้มากขึ้นกว่าช่วงเดือนก่อน ๆ สำหรับพัฒนาการที่สำคัญที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม มีดังนี้

 

1. พัฒนาการทางด้านร่างกายของทารก 9 เดือน

ลูกน้อยวัยนี้จะมีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้สามารถตั้งไข่ ลุกขึ้นยืนและทรงตัวได้ดี แถมยังสามารถยึดเกาะได้ด้วยมือเดียว แม้แต่การนั่งก็จะคล่องขึ้น หากหนูน้อยคนไหนที่ยังไม่คลานพ่อแม่สามารถกระตุ้นได้ โดยการเรียกชื่อแล้วให้ลูกคลานมาหา สำหรับเด็กที่คลานได้แล้ว พ่อแม่ก็ต้องระมัดระวังอย่าปล่อยให้ลูกคลาดสายตา เพราะลูกน้อยอาจจะเกิดอันตรายจากเหลี่ยมมุมโต๊ะภายในบ้านได้

ส่วนน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กนั้น เด็กผู้หญิงจะมีน้ำหนักประมาณ 8.2 กก. มีความสูงประมาณ 70 ซม. ส่วนเด็กผู้ชายจะหนักเฉลี่ยประมาณ 8.9 กก. และมีความสูงประมาณ 71.8 ซม. ซึ่งความสูงเฉลี่ยของลูกจะเพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 1.27 ซม. ส่วนน้ำหนักจะขึ้นประมาณ 100-140 กรัมต่อสัปดาห์ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 9 เดือน เรียนรู้ถึงขั้นไหนแล้ว

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. พัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจของทารก 9 เดือน

ในช่วงนี้ ลูกน้อยจะเป็นเด็กที่ชอบสังเกต อยากรู้อยากเห็น และขี้สงสัย แต่ทั้งหมดนี้มันจะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจที่ดี สามารถรู้จักความหมายของภาษากาย และสามารถเลียนแบบการกระทำของพ่อแม่ได้ แม้กระทั่งเสียงที่คุณพ่อคุณแม่เผลอเปล่งออกมา บางครั้งลูกอาจจะพูดคำหรือประโยคอะไรออกมา ถึงแม้ว่าจะยังไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือพูดไม่เป็นภาษา คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าลืมตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกน้อยพูดออกไปล่ะ

 

3. พัฒนาการทางด้านสังคม และอารมณ์ของทารก 9 เดือน

ลูกน้อยจะยังรู้สึกกังวลและกลัวคนแปลกหน้าอยู่ หากคุณปล่อยลูกให้อยู่กับเพื่อน หรือญาติที่เขาไม่คุ้นเคย ลูกน้อยก็จะร้องไห้ไม่อยากให้คุณไป ดังนั้น ควรทำให้ลูกน้อยได้คุ้นชินกับบุคคลเหล่านั้นก่อน แล้วค่อยปล่อยลูกไว้ให้กับพวกเขา

 

4. พัฒนาการทางด้านสุขภาพ และโภชนาการของทารก 9 เดือน

ลูกน้อยจะสามารถกินได้ 3 มื้อแล้วนะคะ ประมาณ 6-8 ออนซ์ต่อวัน และเพิ่มอาหารว่างไปอีก 2 เวลา สายกับบ่าย ประมาณ 2 ออนซ์ต่อวัน โดยอาหารเด็ก ๆ ก็เน้นเป็นอาหารที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการ ไม่ปรุงเพิ่ม และอาหารใหม่ ๆ อยู่เสมอ เด็กวัยนี้สามารถกินไข่แดงสุกได้แล้วนะคะ แต่ยังไม่ควรให้กินไข่ขาวค่ะ ส่วนในเรื่องของการนอน ลูกน้อยจะเริ่มเล่นมากขึ้น บางคนง่วงแต่ไม่ยอมนอนสักที ถึงวัยนี้ลูกควรจะต้องเริ่มนอนยาว โดยที่ไม่ตื่นขึ้นมาได้แล้วค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

กิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการทารก 9 เดือน

ลูกน้อยในแต่ละวัย สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้มากขึ้นตามช่วงอายุ แต่การส่งเสริม และการช่วยให้ลูกน้อยสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น เรียนรู้ได้รวดเร็ว เป็นทางเลือกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ สำหรับในเด็กวัย 9 เดือน สามารถทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการง่าย ๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. หันมาทางนี้สิ

  • ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกสามารถออกเสียงสระผสมกับ พยัญชนะต่าง ๆ กันได้
  • วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย : คุณแม่เล่นกับลูก และออกเสียงใหม่ ๆ ให้ลูกเลียนเสียงตาม เช่น มามา ปาปา หม่ำหม่ำ

 

2. ลูกจ๋าใครเอ่ย

  • ทักษะที่ลูกควรทำได้ : ลูกเล่นจ๊ะเอ๋ได้
  • อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ : ผ้าขนาด 30 x 30 ซม. มีรูขนาดครึ่งซม. อยู่ตรงกลาง
  • วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย :
    1. ขณะเล่นกับลูก คุณแม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าผืนเล็ก ๆ บังหน้าไว้
    2. คุณแม่โผล่หน้าออกมาจากผ้าเช็ดหน้า ด้านใดด้านหนึ่งพร้อมกับพูดว่า “จ๊ะเอ๋”
    3. หยุดรอจังหวะเพื่อให้ลูกหันมามองหรือ ยิ้มเล่นโต้ตอบ
    4. ให้คุณแม่ทำซ้ำโดยโผล่หน้าออกมาจาก ผ้าเช็ดหน้าด้านเดิมหรือสลับเป็นอีกด้าน พร้อมกับพูดว่า “จ๊ะเอ๋”
    5. คุณแม่เอาผ้าคลุมศีรษะลูกและกระตุ้น ให้ลูกดึงผ้าออก แล้วคุณแม่พูด “จ๊ะเอ๋”
    6. ให้คุณแม่ฝึกบ่อย ๆ จนกระทั่งลูกสามารถ ร่วมเล่นจ๊ะเอ๋ได้

 

3. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

แนะนำให้อ่านหนังสือ หรือเล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน อย่างน้อยวันละ 5-10 นาที ช่วงเวลาก่อนเข้านอน โดยแนะนำให้เลือกเป็นหนังสือภาพ มีสีสันสดใสเพื่อช่วยดึงดูดความสนใจเด็ก

 

การติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละเดือน แต่ละช่วงวัย ไม่ใช่เพียงแค่การคอยดูการเติบโตของลูก ๆ ที่น่ารักเท่านั้น แต่ยังเป็นการสำรวจว่าลูกของเรานั้น มีพัฒนาการช้า หรือเร็วแค่ไหน เพื่อจะได้หาทางส่งเสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อยได้อย่างถูกวิธี

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการทารก 8 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กวัยแรกเกิด

พบกับ 9 เมนูอาหารเสริมสำหรับลูกวัย 6-9 เดือนพร้อมวิธีทำสุดง่ายจากคุณแม่ทางบ้าน!

ที่มา : Theasianparent

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri