ผ่านมาครึ่งทางแล้วสำหรับ เด็กวัย 6 เดือน แต่ยิ่งโตพ่อแม่ก็ต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลง เด็กวัย 6 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
ร่างกาย
วัยนี้ใช้มือดันตัวเองขึ้นมานั่งได้แล้ว แต่ต้องระวังเพราะอาจจะล้มได้ และลูกอาจใช้มือและเข่าดันตัวขึ้นมา และเด็กยังพลิกตัวจากท่านอนหงายมาอยู่ในท่าคว่ำ หรือพลิกกลับไปนอนหงายได้แล้ว เด็กบางคนอาจจะสามารถเคลื่อนตัวไปรอบ ๆ โดยการกลิ้ง หรือเคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลัง ในท่านอนคว่ำได้ ในการหยิบจับสิ่งของ เด็กสามารถทำได้ดีขึ้น รวมถึงดึงสิ่งของเข้าหาตัว และเปลี่ยนมือในการถือของได้
การมองเห็น
การมองของลูกสามารถพัฒนาขึ้น ลูกสามารถมองหาพ่อแม่ได้แล้วแม้จะอยู่คนละที่ก็ตาม สามารถมองของใกล้ๆ อย่างของเล่นบนพื้น ดวงตาอาจเปลี่ยนสีไปจากตอนแรกเกิด หากเด็กมีสีของดวงตาที่อ่อนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งกว่าจะคงที่
การกิน
หากคุณแม่และแพทย์ตัดสินใจให้กินอาหารชนิดอื่นได้แล้ว อาหารอีกชนิดที่เหมาะกับทารกวัย 6 เดือน ส่วนใหญ่กินได้แล้ว คือ อาหารเนื้อนิ่ม เช่น กล้วย อะโวคาโด มันเทศ หรือข้าวโอ๊ต ควรให้กินปริมาณ 1 ออนซ์ ดูก่อน หากลูกชอบค่อยเพิ่มปริมาณเรื่อย ๆ เป็นปริมาณ 3 ออนซ์ นอกจากนี้ลูกสามารถกินน้ำเปล่าได้แล้ว แต่ไม่ควรให้กินมากเกินไปเพราะจะทำให้อิ่ม ไม่อยากกินนม และลูกจะขาดสารอาหารได้
การสื่อสาร
เด็กทารกในวัยนี้อาจยิ้ม หัวเราะ หรือเปล่งเสียงสั้น ๆ ได้ และยังเริ่มจดจำผู้คนและสิ่งของรอบตัวได้ อาจทำให้เด็กเริ่มรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ใกล้กับคุณพ่อคุณแม่ สมาชิกในครอบครัว หรือของเล่นชิ้นโปรด และเด็กอาจแสดงท่าทางหวาดกลัวเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้าหรือเมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงเด็กอาจตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง หรือร้องไห้เมื่อรู้สึกกลัวอีกด้วย
พัฒนาการของเด็ก 6 เดือนที่เห็นได้ชัด
- รู้จักชื่อตัวเอง หากมีคนเรียกชื่อก็จะหันมามองตาม
- ส่งเสียงสูง ต่ำ เลียนเสียงได้บ้าง
- คว้าของมือเดียว สลับมือถือของได้
- ลำไส้เริ่มดีขึ้น
- กินอาหารอื่นนอกจากนมได้
- นั่งได้มั่นคงมากขึ้น
- ชอบเคลื่อนของ หรือวัตถุ
- พลิกคว่ำ พลิกหงายได้
การกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก 6 เดือน
ให้ลูกนั่ง
- หากคุณพ่อคุณแม่อยู่กับลูกมาก จะสามารถสังเกตการเติบโตได้ง่าย ลูกจะทำท่าทางเหมือน วิดพื้น เพื่อออกกำลังกายแขน และเรียนรู้การทรงตัว เมื่อจัดให้อยู่ในท่านั่ง ก็จะเริ่มนั่งเองได้บ้างแล้ว
ฝึกการทรงตัว
- ลูกชอบให้อุ้มจับยืน และคว้าสิ่งของที่สนใจ ในช่วงนี้ควรให้ลูกอยู่บนพื้นนิ่ม เช่นเบาะนวม เพื่อให้ได้หัดใช้กล้ามเนื้อขา และฝึกการทรงตัว
ฝึกปล่อยของตกพื้น
- ลูกชอบเอามือจับสิ่งของต่าง ๆ ขึ้นมาเขย่า โดยที่ลูกยังไม่สามารถแยกได้ว่า เสียงที่เขย่าไม่ได้เกิดมาจากมือ เด็กชอบโยนของ ปล่อยของลงพื้น เพื่อสังเกตดูของที่ตกลง และคนอื่น ๆ ว่าจะมีท่าทางอย่างไร
พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- การมองเห็น และการใช้มือ และนิ้วเล็ก ๆ ของลูกเริ่มดีขึ้น ลูกสามารถมองเห็นของชิ้นเล็ก ๆ ได้ดี แม้ว่าเขาจะยังไม่สามารถ เอานิ้วหยิบจับมันขึ้นมา เพราะในช่วงนี้ ลูกจะยังใช้มือทั้งมือ และชอบกำของ จะเริ่มจับของสองมือได้ และอาจเริ่มจะสลับของ จากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง (transferring things) ในช่วงนี้ ดูเหมือนเขาจะยังไม่เข้าใจคอนเซปต์ ของการให้ของที่เขามีอยู่ในมือออกไป คุณอาจจะลองเล่นกับเขา โดยการเอาของให้เขา ทีละชิ้น ให้เขากำไว้ทั้งสองมือ พอให้ชิ้นที่สาม เขาจะยังอยากได้ แต่ก็จะไม่ยอมปล่อยของ ที่มีในมือ คุณลองขอ แล้วดูปฏิกิริยาของเขาว่า จะทำอย่างไร
ฝึกการออกเสียง
- ลูกจะเริ่มพูดส่งเสียงสูงต่ำได้หลายโทนเสียง เริ่มจะรู้จักชื่อสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว เมื่อคุณเรียกชื่อสิ่งนั้น เขาจะทำท่ามองหาได้ ลูกจะเข้าใจ “ความหมาย” ของสิ่งที่คุณพูด โดยการเรียนรู้ท่าทาง และฟังโทนเสียงของคุณ ฉะนั้นเขาจะทำหน้าตา และท่าทางตอบสนอง ต่อเสียงเรียกของคุณหรือเสียงดุ ได้แตกต่างกัน
สังเกตการผิดปกติของพัฒนาการ เด็กวัย 6 เดือน
- เด็กไม่สามารถนั่งได้แม้จะคอยประคองอยู่ด้วยก็ตาม
- เด็กไม่สามารถย้ายสิ่งของจากมือข้างหนึ่งไปสู่มืออีกข้างหนึ่งได้
- เด็กไม่ค่อยสนใจคนอื่น หรือไม่ค่อยออกเสียงและยิ้มอย่างที่ควรจะเป็น
- เด็กไมค่อยสบตา หรือไม่ค่อยใช้นิ้วชี้ไปยังสิ่งของต่าง ๆ
- เด็กไม่ค่อยตอบสนองเมื่อได้ยินเสียง
- เด็กมีปัญหากับการกินอาหารด้วยช้อน หรือคายอาหารออกมาแทนที่จะกลืนลงไป
เด็กทารกนั้นเป็นช่วงวัยที่ร่างกายยังคงอ่อนแอ เพราะพัฒนาการด้านต่าง ๆ ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โดยหากเกิดปัญหาต่าง ๆ พ่อแม่ควรไปปรึกษาแพทย์
theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ที่มา : (pobpad),(mamaexpert)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
หนังสือผ้าเสริมพัฒนาการทารก เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ให้ฉลาด เรียนรู้ไว shoppable 25 nov
ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการลูกอย่างไร
พ่อแม่ต้องรู้! เสริมพัฒนาการเด็ก 5 เดือน วิธีเสริมพัฒนาการวัย 5 เดือน