พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 3 เดือน สังเกตพัฒนาการเจ้าตัวน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเติบโตของ เด็กวัย 3 เดือน คุณแม่สามารถสังเกตการพัฒนาได้จากอะไร เพราะ เด็กวัย 3 เดือน ก็ยังไม่สามารถพูดได้ เรามาดูการสังเกตการพัฒนาของเจ้าตัวน้อยกันค่ะ

 

ลูกน้อย 3 เดือน การพัฒนาด้านสมองเป็นอย่างไร ?

ทารก 3 เดือน

ลูกสามารถจำหน้าได้มากขึ้นแล้ว และหากลูกติดคุณแม่ก็อาจจะร้องไห้เรียกหาได้ เมื่อมีใครเล่นด้วยหรือยิ้มให้ ลูกน้อยก็จะยิ้มต่อในทันที เริ่มอยากจะคุยด้วยเมื่อได้ยินเสียงพ่อแม่ เริ่มจ้องหน้าเป็น มีการมองตาม ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่มีของเล่นสีสดใสให้ลูกได้เห็นก็จะช่วยพัฒนาได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยจะสื่อสารอย่างไร ?

เด็ก 3 เดือน เป็นวัยที่ชอบเล่นกับพ่อและแม่มากที่สุด และเริ่มแสดงอารมณ์อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะดีใจ โกรธ หงุดหงิด อยากรู้ หรือสงสัย ภาษาที่ใช้คุยจะ อ้อแอ้ อืออา และเริ่มที่จะอยากเล่นของเล่น

ถึงว่าจะมีเสียงอ้อแอ้ และอืออา แต่ลูกก็จะใช้ร่างกายเข้ามาช่วย เช่น อ้าปากเพื่อรอดูดนม อ้อแอ้เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรืออ้อแอ้เพื่อที่จะอยากให้คุณพ่อคุณแม่พาไปเดินเล่น

วิธีสังเกตการสื่อสารลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พูดอืออา อ้อแอ้ เริ่มมีเสียงในลำคอโต้ตอบ
  • โต้ตอบคำพูด และ รอยยิ้มของพ่อแม่
  • แยกแยะระหว่างเสียงของคุณพ่อคุณแม่ กับเสียงของสภาพแวดล้อม
  • ร้องไห้เพื่อบอกความต้องการ
  • หันมองหาเสียงพูด หรือ เสียงเพลง

 

3 เดือนร่างกายจะเจริญเติบโตแบบไหน ?

ทารก3เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเจริญเติบโตของลูกเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วในช่วง 1-3 เดือนแรก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ ในวัย 3 เดือน ลูกจะสามารถหยิบจับคลำสิ่งของเป็นแล้ว และชอบเอามือเข้าปาก และหากเป็นของเล่นที่มีเสียงลูกก็จะเข้าหาทันที  ลูกจะสามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้ดีขึ้น แต่ยังไม่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่มากนัก ลูกนอนคว่ำ จะสามารถชันคอได้นานขึ้น แต่ยังไม่สามารถยกตัวได้ เมื่อนอนหงาย ยกแขนยกขาขึ้นพร้อมกันได้ เริ่มคว้าสิ่งของเข้าหาตัวได้ และลูกจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของมือและเท้าได้  หากคุณพ่อคุณแม่จับลูกยืน ลูกจะทำท่าเหมือนกระโดด จั๊มขาคู่

ทารกครบ 3 เดือน จะเริ่มบังคับกล้ามเนื้อคอได้ ลูกจะรู้สึกให้ความสนใจกับมือของตัวเองเป็นพิเศษ อาจจะจ้องมือตัวเองบ่อยๆ เอามือเข้าปาก กุมมือตัวเอง เหมือนเล่นของเล่น

 

ลูกมองเห็นชัดแค่ไหน

ลูกจะเริ่มเห็นพ่อแม่มากขึ้นไม่มัวเท่า 1-2 เดือนแรก กล้ามเนื้อตาในวัยนี้เริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น รู้จักการมองตามของวัตถุที่อยู่ตรงหน้า ลูกจะหันมองแสง สี รูปร่าง และเสียงของวัตถุ เริ่มเพ่งโมบายที่แกว่งไปมา และในวัย 3 เดือนนี้ ลูกน้อยสามารถมองไปรอบ ๆ ห้องได้อย่างเต็มตาแล้ว

 

อารมณ์ของลูกน้อยในวัยนี้

ลูกเริ่มเข้าใจความพึงพอใจ และ ไม่พอใจได้แล้ว เช่น ถ้าลูกเอามือเข้าปากจะรู้สึกพอใจ หรือเอื้อมมือหยิบสิ่งของ หรือโมบาย เพราะรู้สึกพอใจที่อยากจะทำ สามารถรอคอยคุณพ่อคุณแม่ได้ดีขึ้น เมื่อลูกได้กินนมจะสามารถทำให้ลูกอารมณ์ดี เพราะลูกจะรู้สึกมีความสุขเวลากินนมแม่

สังเกตอารมณ์ลูกอย่างไร

  • ลูกสามารถหยุดร้องไห้ได้เองเมื่อเห็นหน้าคน
  • ตอบโต้สิ่งเร้าทุกชนิด
  • ยิ้มง่าย และ ยิ้มทันที
  • อารมณ์ดีเมื่อมีสิ่งของให้เล่น
  • ไม่ค่อยงอแง และสามารถรอคอยได้บ้างแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เสียงร้องไห้ทารกบอกอะไร ? 

ทารกวัย3เดือน

  • ตกใจแสงสว่าง หรือ เสียงดัง เป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ เพราะตอนที่ลูกอยู่ในท้องนั้นมืด และเงียบ พอมาเจอแสงสว่าง หรือเสียงที่ดัง ก็ทำให้ตกใจเป็นธรรมดา แต่เมื่อโตขึ้นอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไป
    • คุณพ่อคุณแม่ ควรใช้ผ้าห่มห่อตัว หรือใช้ผ้าผืนบางห่มตัวลูกไว้ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ผ้าห่ม จะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
  • ลูกหิว ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงหลังตื่นนอน สังเกตว่าลูกหิว ลูกจะใช้เสียงร้องไห้ สั้นๆ และใช้โทนเสียงต่ำ และหากคุณแม่ยังไม่ให้นม ลูกก็จะร้องหนักกว่าเดิม
    • ตอบสนองลูกให้เร็วที่สุด เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย หากตอบสนองเร็วจะช่วยให้มีผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ในอนาคต
  • ลูกเหนื่อย ร้องไห้เพราะเหนื่อยจากการตื่นนอน เสียงร้องจะครางขึ้นจมูกและค่อย ๆ ดังขึ้น
    • ควรอุ้มและโยกตัวลูกไปมา เป็นจังหวะ หรืออุ้มลูกไว้แล้วนั่งบนเก้าอี้โยกเบา ๆ หรือจะฝึกการนอนของลูกก็ได้ เมื่อลูกร้องไห้ก็อุ้มมาวางลงบนที่นอน และลูบหน้าอกหรือตบก้นเบา ๆ ลูกก็จะค่อย ๆ สงบลง
  • ไม่สบายตัว เสียงร้องไห้ เพราะรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัว จะดังชัดเจนกว่าเสียงร้องไห้เพราะหิว สังเกตได้จากลูกจะร้องแบบทันทีทันใด ด้วยเสียงสูง แหลม ดังยาวและต่อเนื่อง
    • คุณแม่ควรเข้าไปหาลูกโดยเร็วที่สุด และตรวจดูผ้าอ้อมเปียก ว่าเลอะเทอะหรือไม่ หรือเป็นเพราะอากาศร้อนหรือเย็นเกินไป คุณแม่ควรตรวจดู ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่

 

 

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

ที่มา : amarinbabyandkids , rakluke

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

เข้าใจช่วงรับรู้ไวและส่งเสริม ให้ลูกมี พัฒนาการด้านภาษา ที่ดีได้อย่างไร

ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการลูกอย่างไร

วิธีเล่นแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูก

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow