สำหรับ เด็กวัย 10 เดือน เขาเริ่มพึ่งพาตัวเองได้แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตว่า เด็กวัย 10 เดือน มีการพัฒนาและสังเกตได้จากอะไร วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
วัย 10 เดือนกับการพึ่งพ่อแม่ที่น้อยลง
ในช่วงวัยนี้ลูกน้อยจะพึ่งคุณพ่อคุณแม่น้อยลงกว่าเดิม เพราะเขาสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้แล้ว และคุณพ่อคุณแม่ควรเป็นห่วงลูกแต่พอดี และควรสำรวจว่าปลอดภัยหรือไม่ เพราะสภาพแวดล้อมหรือสิ่งรอบตัวของลูกน้อยในช่วงวัยนี้ต้องปลอดภัยไร้อันตราย
ปฏิกิริยาเวลาลูกเจอคนอื่น
เด็ก 10 เดือน เวลาเจอคนอื่น เด็กจะมองหาตาก่อน และจึงค่อยมองปาก หู และมองทั้งหน้า เพราะเด็กวัยนี้จะใช้ประสาทสัมผัสที่เยอะขึ้น สมองของเด็กเปิดรับสิ่งต่าง ๆ และจดจำประสบการณ์ได้ดี คุณพ่อคุณแม่อาจจะเปลี่ยนนิสัยของลูกไม่ได้ แต่สามารถทำให้เขารู้สึกปลอดภัยได้ ถ้าหากลูกไม่อยากเล่นกับคนอื่น ไม่ต้องกังวล เพราะเด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับตัวเองมากจนไม่ได้คิดถึงความรู้สึกของคนอื่น
ด้านร่างกาย
ลูกน้อยอาจมีน้ำหนักเกือบ 3 เท่าของตอนแรกเกิด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของเด็กวัยเกือบ 12 เดือน เด็กแต่ละคนจะเจริญเติบโตได้มากน้อยต่างกัน พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อทั้งขนาดและการเจริญเติบโตของเจ้าตัวเล็ก แต่สิ่งแวดล้อมและปริมาณอาหารที่เด็กกินก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน หากคุณแม่กังวลว่า ลูกอาจจะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ คุณแม่สามารถพาลูกไปให้พยาบาล ที่แผนกสุขภาพเด็กหรือพยาบาลทั่วไปตรวจ หรือพาลูกไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการเด็กเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะเมื่อการเจริญเติบโตของลูกผิดปกติ
เด็กคลานเก่งขึ้นมีท่าคลานเฉพาะตัว การเคลื่อนไหวแขนขาแต่ละข้างเป็นการช่วยเชื่อมสมองซีกซ้ายและขวา ไม่จำเป็นต้องใช้รถหัดเดิน เพราะนี่จะทำให้ลูกมีโอกาสในการคลานลดลงและยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย การปล่อยให้ลูกได้คลานอยู่กับพื้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งนี่แปลว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยทำให้พื้นสะอาดอยู่ตลอด และนอกจากการคลานแล้วยังสามารถดึงตัวขึ้นยืน หรือเดินเกาะเฟอร์นิเจอร์ได้ และยังลุกนั่งจากท่านินคว่ำได้ดี
- ยืนโดยมีอะไรช่วยเพียงเล็กน้อย
- เดินไปรอบ ๆ เครื่องเรือน
- ปีนขึ้นลงเก้าอี้ได้
- คลานโดยที่ขาเหยียดตรง
- ก้าวเดินได้ โดยที่มีคนจับทั้งสองมือไว้จูงเดิน
- นั่งลงจากท่ายืนได้
- จากท่านั่งสามารถลงมานอนคว่ำได้
- ถือของเล็กๆ สองชิ้นไว้ในมือเดียว
- ใช้มือข้างหนึ่งถือของ อีกข้างสามารถทำอย่างอื่นได้
- ปล่อยของออกจากมือได้ แต่ยังงุ่มง่ามอยู่
- ถือถ้วยหัดดื่มกินเอง
ด้านภาษา
คอยฟังเวลาลูกน้อยพูดคำว่า แม่ พ่อ ม้า ป๊า คำที่ใช้เรียกพ่อแม่และเรียกตัวเด็กในแทบทุกภาษาเป็นคำแรกๆที่เด็กพูดได้ สอนให้ลูก โบกมือบ๊ายบาย เล่นซ่อนหาและไล่จับให้บ่อยขึ้น ลูกจะพยายามเลียนแบบเกมส์ที่คุณพ่อคุณแม่สอน และให้คุณพ่อคุณแม่เล่นเกมส์แสนสนุกนี้ด้วยกัน ถึงคุณจะเบื่อก่อนลูก แต่การเล่นซ้ำๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรวมรวมความจำของลูกน้อยได้
- เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงคำต่างๆ กับท่าทางได้บ้างแล้ว เช่น ส่ายหัวหรือสั่นหัวกับคำว่า “ไม่” โบกมือ หมายถึง “บ๊ายบาย” การเอามือแตะปาก หมายถึง “ส่งจูบ” เป็นต้น
- วัยนี้เป็นนักเลียนแบบ และเขาพร้อมจะพูดตามเราได้ หากเราพูดเป็นคำๆ ช้าๆ และชัดๆ ให้เขาฟังบ่อยๆ
ด้านอารมณ์และสังคม
- การแสดงอารมณ์ของลูกค่อนข้างโดดเด่นและชัดเจน เริ่มแสดงความเป็นตัวเองให้ใครๆ เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะดีใจ โมโห โกรธเกรี้ยว หรือปฏิเสธ
- ลูกเริ่มตระหนักถึง “การยอมรับ” และ “ไม่ยอมรับ” จากคนอื่นๆ รู้ว่าถ้าทำแบบนี้แม่ไม่ชอบ ทำแบบนี้จะได้รับคำชมเชย ซึ่งลูกยังต้องการการยอมรับจากสังคมเวลาทำอะไรใหม่ๆ ได้ก็จะชอบแสดงออกเพื่อให้คนปรบมือให้ แต่ถ้าไม่มีใครสนใจ เขาก็จะเรียกร้องความสนใจทันที
- หากที่ผ่านมาลูกได้รับความรักและเวลาในการเอาใจใส่ดูแลจากคุณพ่อคุณแม่เต็มที่ เขาจะแสดงออกซึ่งสิ่งที่เขาได้รับกับตุ๊กตาตัวโปรด
- ลูกชอบเลียนแบบท่าทางที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่นหากที่ผ่านมาคุณแม่กอดหอมลูกแล้วบอกว่า รักจังๆ ลูกก็จะทำแบบที่เวลาเราบอกว่า รักกันทำยังไง หรือถ้าอยู่ในอารมณ์เศร้า ก็ทำหน้าเบ้ เป็นต้น
- เริ่มแสดงออกและบ่งบอกความเป็นเพศชายและเพศหญิง
- อารมณ์อ่อนไหว ถ้าสนใจเด็กคนอื่นมากกว่า
- อาจจะแสดงความกลัว ไม่กล้า (เป็นพฤติกรรมถดถอย)
- ชอบของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นพิเศษ รู้สึกเป็นเจ้าของ แสดงความรู้สึกกับสิ่งของ เช่น รู้สึกเล่นอ่อนโยนกับตุ๊กตา
การกินนม
นมยังเป็นอาหารสำคัญสำหรับลูกวัย 10 เดือน แต่อาหารแข็งก็เข้ามามีบทบาทเท่าๆ กัน อย่าทำให้ลูกเบื่ออาหารด้วยการป้อนอาหารเดิมๆทุกครั้ง ลองใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทำอาหารด้วยตัวเอง ตั้งแต่วัย 1 ขวบเป็นต้นไปเด็กส่วนใหญ่จะเลือกและจำกัดอาหารที่ตัวเองกิน ดังนั้นคุณแม่ควรเตรียมอาหารที่ไม่จำเจ เพื่อให้ ลูกน้อยของคุณคุ้นชินกับอาหารที่หลากหลาย
theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ที่มา : huggies.co.th , enfababy.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
การเรียนรู้และการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กวัยหัดเดินมีความสำคัญอย่างไร
เข้าใจช่วงรับรู้ไวและส่งเสริม ให้ลูกมี พัฒนาการด้านภาษา ที่ดีได้อย่างไร
ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการลูกอย่างไร