พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย2เดือน มีพัฒนาการและสื่อสารอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กวัย2เดือน จะสามารถสื่อสารได้แล้วหรอ เด็กวัย2เดือน จะมีพัฒนาการที่ปกติหรือไม่ วันนี้เรามาดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยกันค่ะ

 

การเจริญเติบโตของเด็ก 2 เดือน

เด็ก2เดือน

เด็กวัย 2 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจากเดือนแรกประมาณ 0.7-0.9 กิโลกรัม และมีลำตัวที่ยาวขึ้นประมาณ 2.5-3.8 เซนติเมตร

  • ทารกเพศชาย มีน้ำหนักเฉลี่ย5.6 กิโลกรัม และมีความยาวตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 58 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิง มีน้ำหนักเฉลี่ย 5.1 กิโลกรัม และมีความยาวตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 57 เซนติเมตร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการด้านการมองเห็น

สีภาพที่ลูกมองเห็นยังเป็นขาวดำอยู่ ลูกจะเริ่มแยกแยะความห่วงของวัตถุได้ แต่ประสาทหูและตายังไม่สัมพันธ์กัน ในวัยนี้จะสนใจสิ่งที่เห็นมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน ภาวะตาเหล่นิดหน่อยในช่วงเดือนแรกจะหายไป ตาควรอยู่ตรงกลาง ไม่ควรมีอาการตาสั่น เพราะถ้ายังสั่นนั่นแปลว่า อาจจะมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากลูกตากับระบบประสาท

  • เริ่มมองหน้าคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น
  • สายตาเริ่มทำงานอย่างเต็มที่

 

การกระตุ้นการมองเห็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โมบาย

  • คุณพ่อคุณแม่ควรแขวนของเล่น 3  มิติ เช่น โมบาย นกกระดาษ แขวนในจุดที่ลูกมองเห็นได้บ่อย ๆ สามารถใช้มือหยิบถึงเพื่อช่วยพัฒนาสายตาได้เร็วขึ้น
  • เปลี่ยนตำแหน่งที่นอนของลูก เพื่อให้ลูกได้มองเห็นสภาพแวดล้อมใหม่ๆ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรหาของเล่นให้ลูกจับ เริ่มตั้งแต่วัยนี้

 

เด็ก 2 จำพ่อแม่ได้แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็ก 2 เดือนจะสามารถจำพ่อแม่แล้วคุ้นเคยอ้อมกอดของพ่อแม่ หากใครที่ไม่ใช่พ่อแม่มาอุ้มก็อาจจะทำให้ร้องไห้ หรืองอแงได้ เนื่องจากในวัยนี้ลูกจะแกว่งแขนขาเมื่อตื่นเต้น และมีความสุขกับการดูดนิ้วหัวแม่มือ

 

พัฒนาการด้านการสื่อสาร

ในช่วงลูกน้อย 2 เดือน ส่วนใหญ่แล้วจะร้องไห้เป็นหลัก อาจจะส่งเสียงอ้อ แอ้ ฟังไม่รู้เรื่อง แต่จะเริ่มหันมอง สนใจฟังเสียงรอบตัว และจดจำเสียงนั้นเมื่อได้ยิน

การกระตุ้นการสื่อสาร

  • คุณพ่อคุณแม่ควรคุยกับลูกมากขึ้น เพราะลูกเริ่มจำริมฝีปากและหัดพูดไปด้วย
  • ลูกจะชอบฟังเสียงคุณแม่มากที่สุด เมื่อลูกได้ยินเสียงก็จะหันหา หรือส่งเสียงตอบทันที

 

พัฒนาการด้านร่างกาย

พัฒนาการด้านร่างกาย

  • ในวัยนี้ จะเริ่มเรียนรู้และหัดใช้นิ้วมือสัมผัส หยิบจับของรอบตัวมากขึ้น เริ่มยืดแขนยืดขา และลูกอาจจะตกใจเมื่อเห็นอวัยวะแขนขาของตัวเองขยับไปมา

การกระตุ้นด้านร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หาของเล่นที่มีความนุ่ม และปลอดภัยให้ลูกเล่น

 

ท่าอุ้มกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของลูก 

  • อุ้มตะแคง จะช่วยให้ลูกพลิกตัวตะแคง พลิกคว่ำหงายได้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ลูกไม่นอนผวา
  • อุ้มนั่งหันออก มือประคองช่วงขา ส่วนมืออีกข้างประคองตรงช่วงกกหูโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ ใช้ฝ่ามือกดเบา ๆ บริเวณหน้าอก
  • อุ้มประคองศีรษะ เหมือนท่าให้นม ให้แขนของคุณแม่พาดอยู่ด้านหลังของลูก โดยฝ่ามืออยู่ตรงบริเวณก้นและต้นขา ข้อศอกงอรับศีรษะ ลำตัว แขนขาของลูกอยู่ในแนวเดียวกัน ท่านี้หากคุณแม่อุ้มลูกซบไหล่ซ้ายของแม่ ลูกจะได้ยินเสียงหัวใจแม่เต้น ให้ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย เหมือนตอนอยู่ในท้องเลยค่ะ

 

การให้นมเด็ก 2 เดือน

ในวัยนี้จะแสดงอาการหิวอย่างชัดเจน เป็นช่วงที่ลูกกำลังกำหนดเวลาการนมด้วยตัวเอง คุณแม่ก็เพียงแค่ป้อนนมตามที่ลูกน้อยให้สัญญาณ ในช่วงเดือนที่ 2 ลูกจะยังตื่นกลางดึกเพื่อให้คุณแม่ตื่นมาป้อนนมอยู่ แต่จะเริ่มปรับตัวด้วยการนอนที่ยาว เป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง คุณแม่จะสามารถพักผ่อนได้นานขึ้น

 

การนอนเริ่มมีระบบ 

การนอนของลูกมีระบบมากขึ้น โดยเริ่มนอนกลางวันนานกว่าเดิม ลูกจะงีบหลับหลังจากกินนมผ่านไปประมาณ 30 นาทีขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ช่วยการนอนของลูกได้ โดยการจัดที่นอนสบาย ๆ และสร้างบรรยากาศการนอน ในวัยนี้จะเริ่มใช้เวลานอนประมาณ 9-18 ชั่วโมงต่อวัน

 

ท่าทางของลูกน้อยบอกอะไรบ้าง

ส่งเสียงร้อง

  • มองแล้วยิ้ม : เมื่อทารกกินนมอิ่มแล้ว ก็จะคายปากออกมา บางครั้งอาจจะเงยหน้ามองแม่แล้วส่งยิ้มให้ เป็นการบอกว่ากินอิ่มแล้ว
  • หันหน้าหนี : ไม่ยอมมองหน้าหรือสบตาคุณพ่อคุณแม่ อาจเพราะคุณพ่อคุณแม่สัมผัสลูกน้อยเกินไป ทำให้ลูกเล่นมือเล่นเท้าตัวเองมากกว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้ลูกหันมามองหน้า แต่ควรเพิ่มเวลาที่ใช้ร่วมกับลูกให้มากขึ้น และรอให้ลูกหันมาหาคุณพ่อคุณแม่เอง
  • หาว : บางทีการหาวอาจจะไม่ได้บอกว่าลูกง่วงเสมอไป อาจจะเป็นเพราะ เสียง แสง หรือการสบตากับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นตัวกระตุ้นมากเกินไป เลยทำให้ลูกอึดอัด และอยากพักช่วง ลูกอาจจะมีอาการหาว สะอึก หันหน้าหนี เมื่อรู้สึกเหนื่อย การอุ้มพาดบ่าจะสามารถช่วยผ่อนคลายได้
  • ส่งเสียงร้อง : หากลูกส่งเสียงแบบไม่พอใจ อาจเพราะลูกรู้สึกไม่สบายตัว และอยากให้คุณพ่อคุณแม่อุ้ม
  • ขยี้หูขยี้ตา : บ่งบอกว่าลูกเหนื่อย ง่วง หรือคัน
  • ยืดแขน : ลูกยืดแขนพร้อมกางขา บ่งบอกว่า ลูกกำลังอารมณ์ดี หากคุณแม่มีงานบ้านให้ทำรีบทำช่วงเวลานี้จะเหมาะที่สุดค่ะ และจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกร่วมไปด้วย

 

 

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

ที่มา : (1),(2)

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 1 เดือน พัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 61 การเสริมพัฒนาการในครรภ์ เริ่มต้นที่ 27 สัปดาห์

วิธีเล่นแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูก

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow