พฤติกรรมเด็กที่ดี ต้องฝึกฝนอย่างไร เปลี่ยนเด็กดื้อให้เป็นเด็กดี

lead image

พฤติกรรมเด็กที่ดี ต้องฝึกฝนอย่างไร เปลี่ยนเด็กดื้อให้เป็นเด็กดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พฤติกรรมเด็กที่ดี คุณพ่อคุณแม่กำลังมีปัญหานี้กันอยู่ใช่รึเปล่าคะ ที่พูดเท่าไหร่ลูกก็ไม่ยอมฟัง ดื้อรั้น วันนี้เรามาดูการฝึก พฤติกรรมเด็กที่ดี กันเลยค่ะ

พฤติกรรมเด็กที่ดี ต้องฝึกอย่างไร

พฤติกรรมเด็กที่ดี

พฤติกรรมเด็กที่ดี

  • คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังคำพูด 

ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่บั่นทอนและทำร้ายจิตใจของลูก ๆ หรือคำพูดที่อาจจะมาจากความหวังดี แต่อาจสร้างความเครียดและความกดดันให้กับพวกเขาได้ และพ่อแม่ควรเปลี่ยนมาใช้คำพูดอีกแบบแทนจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น คำพูดของพ่อแม่ส่งผลต่อลูก ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งพวกเขาโตขึ้น คำพูดดี ๆ ที่เต็มไปด้วยความรักและการให้กำลังใจ สามารถทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างดี และคำพูดที่บั่นทอนจิตใจก็อาจฝังอยู่ในความคิดและจิตใจไปตลอดกาล

  • อย่าบอกว่าเหลือเวลาเท่าไหร่

หากคุณพ่อคุณแม่ บอกว่าเหลือเวลา 5 นาที ในการเล่นเกมหรือกิจกรรมใด ๆ เด็กอาจไม่เข้าใจและไม่รู้ว่ามันนานแค่ไหน เพราะเขาไม่ได้จับเวลา แนะนำว่าให้บอกว่า “ลูกสามารถโยนบอลได้อีก 5 ครั้งนะ” แบบนี้จะเข้าใจง่ายกว่า

  • เด็กในวัยที่เริ่มทำอะไรได้ด้วยตนเองแล้ว

คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้เขาดูก่อน เพื่อให้เขาสามารถทำเองได้ ด้วยการดูตัวอย่างของคุณพ่อคุณแม่ แบบนี้ลูกจะได้เข้าใจง่ายกว่าว่าควรทำอย่างไร เพราะมีตัวอย่างจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว

  • ขอบคุณ และ ขอโทษ

หากลูก ๆ อยากช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ อย่าละเลยจุดนี้ ผู้ใหญ่ทุกคนล้วนชอบฟังคำยกยอ เด็กก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ใหญ่ควรฝึกพูดชมเช่น “ขอบคุณ” เมื่อลูกช่วยเหลือเรา และ “ขอโทษ” เมื่อเราทำผิดต่อลูก ลูกจะได้ดูเป็นตัวอย่างและทำตามจนเป็นนิสัย

  • เบี่ยงเบนความสนใจลูก 

เช่น ถ้าลูกร้องไห้ จากที่จะพูดว่า “พอแล้วนะ อย่าร้องไห้” หรือ “ไม่เป็นไรแล้ว อย่าร้องไห้” ในตอนนั้น ลูกของคุณกำลังอยู่ในอารมณ์แห่งความเศร้าโศก คุณต้องพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ด้วยการถามถึงประเด็นอื่น เพื่อให้ลูกตอบคำถาม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พฤติกรรมเด็กที่ดี

  • ใช้สัปดาห์ในการแยกให้เด็กจดจำ

หากมีเด็กอายุรุ่นราวคราวเดียวกันในบ้าน ก็อาจเกิดปัญหาแย่งของเล่นได้ ดังนั้น ผู้ใหญ่อย่างเราก็ควรยื่นมือออกไปช่วยด้วยการใช้สัปดาห์ เพื่อให้เด็กสามารถรู้จักแบ่งแยก และการเรียงลำดับ เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะกัน เช่น วันจันทร์ให้ใครเล่นก่อน จากนั้นค่อยให้อีกคนเล่นทีหลัง

  • ให้เลือกคำว่า โอเค ลูกจดจำไว้นะ แทนการปฏิเสธ

อย่าพยายามปฏิเสธเด็กโดยตรง แม้ว่าคุณพ่อคุณจะรู้ว่าลูก ๆ มีของเล่นมากมายที่เหมือนกันอยู่แล้ว เพราะความรู้สึกแบบนี้ไม่มีใครชอบหรอก ดังนั้น อย่าปฏิเสธ แต่บอกพวกเขาว่า “ตกลง หนูจดจำไว้นะ” แล้วเรากลับบ้านไปดูกันว่า เรามีของเล่นชนิดนี้แล้วหรือยัง วิธีนี้สามารถช่วยได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การให้ลูกเข้านอน 

ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำพูด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็ควรขึ้นไปนอนเป็นเพื่อนลูกด้วย ปิดทีวี ปิดมือถือ ปิดไฟ จากนั้นก็แกล้งนอน แบบนี้จะทำให้ลูกสงบลง และมีอารมณ์ร่วมในการอยากนอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำอย่างไรหากลูกไม่ยอมนอน เคล็ดลับทำให้ลูกนอนง่าย และไม่ตื่นช่วงกลางคืน

  • พ่อแม่ไม่ควรพูดแทนลูก ๆ ของตัวเอง

โดยเฉพาะในเรื่องง่าย ๆ อย่างเช่น เมื่อมีคนแปลกหน้าถามชื่อ พ่อแม่นั้นสามารถแนะแนวทางให้เด็ก ๆ ตอบคำถามอย่างถูกต้องได้ แต่ไม่ควรพูดแทนเพราะจะทำให้เด็ก ๆ ไม่มั่นใจในตัวเอง

  • งานอดิเรกของลูก

นอกจากรสนิยมแล้ว งานอดิเรกหรือความสามารถพิเศษ ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรบังคับลูก ๆ เช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้พวกเขาไม่มีความสุขแล้ว ยังทำให้ความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ๆ ต้องถูกละทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

  • การเก็บออม

แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมเป็นห่วงเรื่องการใช้เงินและการเก็บออมของลูก ๆ แต่สิ่งที่ไม่ควรทำก็คือ ไปควบคุมหรือวุ่นวายกับเงินเก็บของเด็ก ๆ แต่ควรให้คำแนะนำหรือสอนวิธีการเก็บเงินให้กับพวกเขาอย่างถูกต้องต่างหาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การบังคับ

พ่อแม่หลายคนมักบังคับให้ลูกทำทุกสิ่งตามความคิดเห็นหรือความต้องการของตนเอง ด้วยวิธีการที่ออกแนวบังคับมากกว่าสอนหรือแนะนำ ซึ่งจะทำให้ลูกๆ กลายเป็นคนที่ไม่กล้าคิดกล้าทำ หรืออาจเป็นคนที่ต่อต้านสังคมไปเลย

  • การถามว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เป็นคำถามที่กว้างและดูไม่มีจุดมุ่งหมาย เด็ก ๆ อาจจะตอบแค่ว่าก็ดีแล้วจบไป พ่อแม่จึงควรเปลี่ยนมาใช้คำถามที่เฉพาะเจาะจงกว่า อย่างเช่น วันนี้มีเรื่องอะไรดี ๆ เกิดขึ้นที่โรงเรียนบ้าง

  • หลีกเลี่ยงการขู่

การบังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ไม่อยากทำและต่อต้าน ควรเลือกให้เด็กทำในสิ่งที่ เด็กสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจยาวนาน มีสมาธิมากขึ้น และมีความสุขอยากจะค้นคว้าและเรียนรู้ยิ่งขึ้น พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดู ควรกล่าวชื่นชมในความตั้งใจและพยายามเรียนรู้ของเด็ก หลีกเลี่ยงการตำหนิ ติเตียน หรือดุว่าเมื่อเด็กทำได้ไม่ดี หรือทำได้ไม่ถูกใจ

  • หลีกเลี่ยงการคาดหวังในสิ่งที่เกินวัย

ไม่ควรประคบประหงม ปกป้องจนเกินไป ควรฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตัวเอง เพื่อส่งเสริมศักยภาพในตัวเด็ก ทำให้รู้จักพึ่งพาตัวเอง และเกิดความภูมิใจเมื่อทำได้ด้วยตนเอง

  • ปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรม 

ปลูกฝังและเป็นตัวอย่างในการมีคุณธรรม จริยธรรม การรู้จักถูก ผิด และการควบคุมอารมณ์แสดงความชื่นชมเมื่อเด็กทำความดี ทำโทษหรือสอนเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

  • ควรมีกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน 

คุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้าน ควรมีกฎเกณฑ์และทิศทางในการเลี้ยงดูให้สอดคล้องกัน เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความสับสน และขาดความไว้วางใจ

  • ให้ความรู้ที่ถูกต้อง

เพราะความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญของความคิด ความคิดหรือความรู้ใหม่ จะเกิดขึ้นได้จากการต่อยอดจากความคิดเดิมที่มีอยู่ เมื่อเด็กมีความรู้มาก เด็กก็จะสามารถมองปัญหาได้กว้าง การฝึกฝนให้เด็กมีมุมมองการคิดที่หลากหลาย จะช่วยทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์

เป็นเด็กดื้อ ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่ดีเสมอไป 

เด็กยุคนี้มีสิ่งเร้าเยอะมาก นอกจากการเลี้ยงดูแล้ว สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กก็มีความสำคัญไม่น้อย ดังนั้น การเลี้ยงดูโดยพยายามฝึกให้เขามีเหตุมีผลตั้งแต่เล็กจะช่วยได้ การเชื่อฟังพ่อแม่เป็นเรื่องดี แต่ก็สามารถที่จะแย้งได้เมื่อเห็นต่าง รวมไปถึงการฝึกให้เขาได้ช่วยเหลือตัวเอง ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ต้องฝึกตั้งแต่เล็ก ถ้าฝึกตอนโต มักได้ผลในทางตรงข้าม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดื้อ พฤติกรรมนี้เกิดจากอะไร? คุณแม่ควรรับมือเจ้าตัวแสบด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลดี

ข้อดีของเด็กดื้อ มีอะไรบ้าง 

พฤติกรรมเด็กที่ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • มีแนวโน้มเป็นเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์

ลูกที่ไม่ค่อยเชื่อฟังหรือทำตามคำสั่งของพ่อแม่ ส่วนหนึ่งลูกอาจกำลังมีความคิดที่อยากจะทดลองทำอะไรบางอย่างด้วยตัวเอง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้ลูกเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ เมื่อประสบปัญหาลูกก็มักจะหาทางแก้ด้วยตัวเอง เพราะธรรมชาติของเด็กคือชอบที่จะได้สำรวจและเรียนรู้ทุกสิ่งรอบตัว ความตื่นเต้นเมื่อได้พบเจอสิ่งใหม่ ๆ จึงทำให้ลูกสนใจกิจกรรมหรือสิ่งตรงหน้ามากกว่าคำพูดของพ่อแม่

  • แนวโน้มเป็นเด็กที่มีความอดทนอดกลั้น

เด็กดื้อมักจะเป็นเด็กที่มีความอดทนมากกว่าเด็กทั่วไป เพราะความดื้อจะทำให้เขาต้องทนกับการถูกตำหนิ ต่อว่า หรือถูกทำโทษ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ จะเป็นเหมือนเกราะป้องกันให้ลูกเป็นเด็กที่มีจิตใจมั่นคงและมีความอดทนต่อแรงกดดันได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกสมาธิ และความอดทนของเด็ก ด้วยการทำจิ๊กซอว์ DIY

  • มีแนวโน้มเป็นเด็กรู้จักตัวเอง

การที่ลูกมีอาการต่อต้านและไม่เชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่ บางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากการที่ลูกเอาแต่ใจตัวเองอย่างไม่มีเหตุผลอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่เขาสามารถเข้าใจความรู้สึกของตัวเองได้ว่าต้องการหรือไม่ต้องการอะไร หากพ่อแม่ตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิตได้

  • มีแนวโน้มเป็นเด็กที่มีความพยายามสูง

เด็กที่มีความดื้อจะมีความพยายามสูง เพราะความมั่นใจในความคิดของตัวเอง ทำให้ไม่ยอมล้มเลิกความพยายามได้ง่าย ๆ เช่น พ่อแม่ห้ามไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาก็ยังคงหาโอกาสแอบทำสิ่งนั้นอยู่บ่อย ๆ ลองคิดดูว่าถ้าพ่อแม่เห็นคุณค่าของความพยายามทดลองทำอะไรของลูก จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีความตั้งใจและมีความพยายามที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จ แต่หากพ่อแม่เข้มงวด ออกคำสั่ง และห้ามลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่น และละทิ้งความพยายาม

  • มีแนวโน้มเป็นเด็กกล้าเผชิญปัญหา

เมื่อเด็กดื้อประสบปัญหาก็กล้าที่จะเผชิญ ไม่หลีกหนี มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้าปฏิเสธ ปฏิเสธไม่เป็น หรือเมื่อเกิดปัญหาก็ไม่กล้าเผชิญ เมื่อโตขึ้นไปอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ ฝึกให้ลูกปฏิเสธให้เป็น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม แต่กล้าที่จะเผชิญปัญหาเมื่อคิดว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้อง

เรื่องเด็กดื้อต้องถือเป็นเรื่องปกติและเป็นขั้นหนึ่งของการเจริญเติบโต และการแสดงพฤติกรรมที่ดื้อหรือไม่เชื่อฟังจะช่วยให้เด็กรับรู้ถึงขอบเขตกฎเกณฑ์ของพ่อแม่ และถ้าพ่อแม่สามารถรับมือได้ดี สุดท้ายมักจะนำไปสู่การทำให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และค้นหาตัวเอง กล้าแสดงบุคลิกและลักษณะนิสัยเฉพาะตน

ที่มา : (liekr),(altv.tv)

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong