เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า “ผิดปกติ”
เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า “ผิดปกติ” ทั้งอาการที่พบได้บ่อย และวิธีการต่างๆ ในการจัดการ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ค่ะ
โดยทั่วไปแล้วเด็กๆ ในกลุ่มนี้จะมีเพียงแค่ 6-10% ของเด็กๆ ทั้งหมด ซึ่งเป็นพฤติกรรมเชิงลบที่แสดงต่อผู้ใหญ่และเด็กคนอื่นๆ เด็กในกลุ่มนี้จะปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมในเด็กๆ และจะพบได้ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงค่ะ ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน ตลอดจนที่ทำงาน และสังคมอื่นๆ ต่อไปค่ะ
พฤติกรรมผิดปกติ
- พฤติกรรมหลอกลวง เด็กที่ชอบโกหกซ้ำๆ พยายามขโมยของจากร้านหรือขโมยของจากผู้อื่น
- พฤติกรรมรุนแรง เด็กที่ชอบทำลายสิ่งของโดยเจตนา เช่น ชอบจุดไฟ ทำเฟอร์นิเจอร์เป็นรอย ขว้างปาสิ่งของทำร้ายผู้อื่น
- พฤติกรรมฝ่าฝืนกฎ เด็กที่มีพฤติกรรมต่อต้านหรือไม่ทำตามกฎของพ่อแม่หรือโรงเรียน หรือแม้แต่กฎหมาย เช่น แกล้งเพื่อน โดดเรียน เกี่ยวข้องกับเรื่องเซ็กซ์
- พฤติกรรมก้าวร้าว เด็กที่มีพฤติกรรมโหดร้ายและลงมือกับสัตว์และเด็กเล็กๆ บังคับให้เพื่อนหรือคนที่เด็กกว่ามีพฤติกรรมทางเพศกับตัวเอง รวมถึงการใช้อาวุธข่มขู่
- อารมณ์แปรปรวน เด็กที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ โทษแต่คนอื่น และไม่ทำตามคำขอของคนอื่น
สาเหตุของพฤติกรรมผิดปกติ
สาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมผิดปกติของเด็กๆ แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสิ่งเหล่านี้ได้เช่นกันค่ะ
- พันธุกรรม พฤติกรรมผิดปกติมีต้นกำเนิดจากพันธุกรรม เช่น บรรพบุรุษหรือสมาชิกในครอบครัวที่มีความผิดปกติทางจิต อารมณ์ บุคลิกภาพ รวมถึงการใช้สารเสพติด
- สิ่งแวดล้อม เช่น ครอบครัวมีความผิดปกติ มีประวัติการล่วงละเมิดจากครอบครัวในวัยเด็ก การสอนระเบียบวินัยที่ไม่สอดคล้อง และประสบการณ์ที่เจ็บปวด
- ปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคม อย่างการรับรู้ทางศีลธรรม เช่น ขาดความรู้สึกและสำนึกผิด มีปัญหาในการประมวลผลทางความคิด ไม่ได้การยอมรับจากเพื่อนๆ
- ปัจจัยทางกายภาพ เช่น เกิดอุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บทางสมอง อาจทำให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมได้ หรือขาดสารเคมีในสมอง เช่น สารสื่อประสาท
เด็กๆ และวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมผิดปกติเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบอื่นๆ ด้วย เช่น มีความผิดปกติทางอารมณ์ โรคจิตเภท มีปัญหาความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ผิดปกติในการเรียนรู้ (LD) สมาธิสั้น ไฮเปอร์ และปัญหาการใช้สารเสพติด
การจัดการแก้ไข
โดยปกติหากคุณพ่อคุณแม่ยื่นมือเข้ามาช่วยลูก จะเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด สำหรับเด็กๆ ที่มีพฤติกรรมนี้ในระดับปานกลางค่ะ แต่หากลูกมีพฤติกรรมที่รุนแรงมาก การรักษาทางการแพทย์ก็จะช่วยได้มากขึ้น เพื่อให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้
- ให้เวลาและความสนใจ บ่อยครั้งที่เด็กๆ มีพฤติกรรมผิดปกติ เพียงเพราะคุณพ่อคุณแม่ยุ่งเกินไปและไม่สนใจลูก พฤติกรรมผิดปกติที่ลูกแสดงออกมาจึงเป็นการเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่
- ส่งเสริมนิสัยที่ีดี ผ่านการชื่นชม การเล่านิทาน การยกตัวอย่าง และโดยการทำตัวอย่างดีๆ ให้ลูกเห็นค่ะ
- อ่อนโยนต่อลูก ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษ การเล่นสนุก หากใช้ความรุนแรงในการลงโทษหรือเล่นสนุก สิ่งที่ลูกจะซึมซับก็คือความรุนแรง
- เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กๆ จะเรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เมื่อใดที่พฤติกรรมของคุณเองมีทั้งความก้าวร้าวและรุนแรง อย่าหวังว่าจะทำสิ่งที่ตรงกันข้าม
- ช่วยลูกตั้งเป้า การมีเป้าหมายที่ดีและสร้างสรรค์ จะเป็นการผลักดันพลังงานของลูกไปในด้านบวก และเป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์มากขึ้นนั่นเอง
- สื่อสารกับลูก แม้ลูกจะยังเป็นเด็ก แต่ลูกมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและไม่เห็นด้วยกันพ่อแม่ การปล่อยให้ลูกพูดหรือแสดงออกนั้นช่วยได้มากนะคะ
- การรักษาต่างกัน เพราะเด็กๆ ทุกคนนั้นมีความแตกต่าง ดังนั้นความต้องการจึงแตกต่างไปด้วย ไม่มียารักษาโรคที่ใดที่แก้ได้ทุกอย่างหรือแนวทางเดียวที่ใช้ได้ผลกับเด็กๆ ทุกคน
- การบำบัด ด้วยจิตบำบัดและความคิด
และพฤติกรรมบำบัด (Psychotherapy and cognitive behavioural therapy) อาจช่วยให้ลูกแสดงออกได้มากขึ้น และควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น และช่วยให้วิเคราะห์อาการของเด็กๆ ได้ลึกมากขึ้น - สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูก จะช่วยให้เด็กๆ แสดงความเห็นได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุณพ่อคุณแม่เข้าใจปัญหาได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการจัดการกับปัญหาได้ดีขึ้นด้วยค่ะ
- รับมือด้วยรอยยิ้ม แม้ว่าพฤติกรรมของลูกจะผิดปกติ แต่ตราบใดที่ลูกรู้ว่า คุณจะอยู่เคียงข้างเขาและรักเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข ลูกจะดีขึ้นค่ะ
ที่มา momjunction.com
บทความที่น่าสนใจ
รักษาด่วน!!!ลูกเป็นเด็ก LD (โรคบกพร่องทางการเรียนรู้) หายได้
รักลูกให้ตี รู้ไหมว่าการโดนตีตอนเด็กๆ ส่งผลต่อบุคลิกภาพตอนโตยังไงบ้าง