ซัดกันนัว! สามีชกหมอสูติไม่ยั้ง เพราะไม่ยอมให้ภรรยาผ่าคลอดตามฤกษ์ที่หมอดูบอก

หนุ่มจีนอยากให้ภรรยาผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด แต่หมอสูติไม่ยอม จนเกิดทะเลาะวิวาท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด

สามีอยากให้ภรรยา ผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด แต่หมอสูติไม่ยอม! จึงซัดกันนัวตามภาพ… สำหรับเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นที่เมืองจีน โดยชายชาวจีนวัย 46 ปี ได้ทำร้ายร่างกายสูตินรีแพทย์ภายในโรงพยาบาล Peking University First Hospital เพราะโมโหที่หมอสูติไม่ยอมผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด จากที่หมอดูได้บอกกับครอบครัวเอาไว้

เพียงแค่คุณหมอท่านนี้ปฏิเสธที่จะผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด ก็ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ถึงขั้นที่กระดูกหักหลายจุด

นายแพทย์จาน แพทย์ร่วมทำคลอดพร้อมกับคุณหมอแซ่ฮี (หมอสูติที่ถูกทำร้าย) เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า สาเหตุที่ทีมแพทย์ตัดสินใจไม่ผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด เพราะเห็นว่า ถ้าคุณแม่คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ น่าจะปลอดภัยทั้งกับตัวแม่เองและลูกในท้อง ทั้งยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องผ่าคลอด จึงปฏิเสธที่จะผ่าคลอดตามฤกษ์เกิดอย่างที่ครอบครัวต้องการ

ด้านสามีหรือผู้เป็นพ่อ ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม พร้อมกับโดนข้อหาทำร้ายร่างกาย และยังเชิญตัวลูกสาววัย 19 ปี มาร่วมไต่สวนด้วยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่

 

สามีอยากให้ภรรยาผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด แต่หมอสูติไม่ยอม! จึงซัดกันนัว

จากความเชื่อของคนจีนหลาย ๆ ครอบครัว มีความเชื่อที่หลากหลาย ก่อนหน้านี้ก็เคยมีข่าวแม่ท้องแก่คุกเข่าวอนสามีขอผ่าคลอดเพราะหัวลูกโตแต่ทางครอบครัวไม่ยอม จึงกระโดดตึกจบชีวิตพร้อมลูกในท้อง นอกจากนี้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับคนไข้ ก็ยังเป็นปัญหาที่พบบ่อย เพราะความเชื่อ สิ่งที่โบราณบอกต่อกันมานั้น ไม่ตรงกับการรักษาในปัจจุบัน ทำให้แพทย์แผนปัจจุบันและบุคลากรในโรงพยาบาล มีความเสี่ยงที่จะถูกทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลก็ได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองในด้านความรุนแรงระหว่างแพทย์และคนไข้ เพื่อสร้างมาตรฐานป้องกันปัญหาแล้ว

ที่มา : https://www.khaosod.co.th

 

 

ข้อควรระวังผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด

เพจใกล้มิตรชิดหมอ ให้ข้อมูลในโพสต์ คลอดเอง กับ ผ่าคลอด ถ้าเลือกได้ จะเลือกอะไรดี (ตอนที่ 3) โดยหมอเมษ์ ตอนหนึ่งว่า กรณีคนที่ขอผ่าคลอด โดยที่ไม่มีข้อบ่งชี้ หรือผ่าคลอดเพราะกลัวเจ็บเวลาคลอดเอง หรือผ่าคลอดตามฤกษ์ คุณหมอได้ชี้แจงถึงความเสี่ยงไว้ว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อผ่าตัดคลอดแล้ว คุณแม่ก็จะมีแผล ไม่ใช่แผลที่หน้าท้องเท่านั้น แต่เป็นแผลที่มดลูกด้วย

การผ่าตัดต้องเปิดผิวหนัง ผ่านชั้นไขมัน ชั้นเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ชั้นเยื่อหุ้มช่องท้อง แล้วถึงจะเป็นส่วนของมดลูก จากนั้นต้องเปิดแผลที่มดลูกเข้าไปเพื่อเอาทารกออกมา โดยทั่วไปแผลที่มดลูกในปัจจุบันจะกรีดเป็นแนวขวาง ที่บริเวณมดลูกส่วนล่าง (lower uterine segment) ซึ่งมีกล้ามเนื้อน้อยกว่าบริเวณมดลูกด้านบน (upper uterine segment) เมื่อมีแผลที่มดลูก กระบวนการหายของแผล (wound healing) ก็จะคล้ายคลึงกับการหายของแผลในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย คือ อาศัยกระบวนการอักเสบ (inflammation process) เพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่

อย่างไรก็ตาม เหมือนแผลเป็นตามผิวหนังของร่างกาย ความแข็งแรงของโครงสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในบริเวณแผลก็จะไม่แข็งแรงเท่ากับบริเวณอื่นๆ ของมดลูก กลายเป็นจุดอ่อนของมดลูกไป

เมื่อมีการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป

ลองคิดดูว่ามดลูกที่ขนาดเพียงเท่ากำปั้นก่อนการตั้งครรภ์ ต้องขยายมากขนาดไหนเมื่อครบกำหนดคลอด ก็ขนาดที่ใส่เด็กน้ำหนัก 3-4 กิโลกรัมเข้าไปได้แหละนะ มดลูกมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก เมื่อเข้าสู่ระยะการคลอดและมีการบีบตัวของมดลูก จะเกิดแรงมหาศาล ความดันในมดลูกจะเกิดขึ้นอย่างมาก มากขนาดที่จะดันให้ปากมดลูกที่แข็งแรงซึ่งพยุงการตั้งครรภ์มาได้ถึง 40 สัปดาห์เปิดออกและดันเด็กออกมาตามช่องทางคลอดได้นั่นแหละ

แต่ถ้ามีแผลเป็นซึ่งเป็นเหมือนจุดอ่อนของมดลูก เมื่อมีการเจ็บครรภ์คลอดมดลูกบีบตัวความดันในมดลูกสูงขึ้น ลองคิดดูนะคะว่าจะเกิดอะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเสี่ยงที่จะเกิดมดลูกแตก (uterine rupture) ในตำแหน่งที่เคยผ่าตัดมาก่อนก็จะสูงขึ้นกว่าคนที่ไม่มีแผลที่มดลูก

ความเสี่ยงจะอยู่ที่ประมาณ 0.5-1% ในกรณีที่แผลผ่าตัดที่มดลูกเป็นแบบแนวขวางที่มดลูกส่วนล่างที่ทำกันทั่วไป (low transverse incision) ***อ่านดีๆ นะคะ หมายถึงแผลที่มดลูก ไม่ใช่แผลหน้าท้อง *** แต่ถ้าเป็นแผลแบบอื่นซึ่งจำเป็นต้องทำในบางราย เช่น กรีดที่ส่วนบนของมดลูก หรือกรีดตามแนวยาว ความเสี่ยงจะสูงกว่านี้อีกนะคะ

ถ้ามดลูกแตกจะเกิดอะไร ก็จะเพิ่มอัตราตายของทารก และอัตราตายของมารดาสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งจิตตก เพราะไม่ได้เกิดกับทุกคน แต่บอกว่ามีโอกาสเสี่ยง “เพิ่มขึ้น” และส่วนมากหมอมักจะนัดผ่าตัดคลอดในคนที่เคยผ่าตัดคลอดในครรภ์ก่อนประมาณ 38-39 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่สมดุลระหว่างทารกโตเต็มที่และการเจ็บครรภ์คลอดจะไม่เกิดขึ้นก่อน แต่เราก็ไม่รู้แน่หรอกใช่มั๊ยคะ ว่าคุณจะเจ็บครรภ์คลอดเทื่อไหร่

เมื่อมีแผลผ่าตัดที่เป็นจุดอ่อนอยู่ ถ้าเกิดโชคร้ายไปกว่านั้น

“รก” เกิดไปเกาะในตำแหน่งที่เป็นแผลพอดี จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง โดยปกติเมื่อมีการฝังตัวของรก รกจะฝังตัวในชั้น “เยื่อบุโพรงมดลูก” เท่านั้น ถ้าเกาะลึกกว่านั้นจะเรียกว่ารกเกาะลึก (placenta adherens) ซึ่งจะลึกขนาดไหนก็จะมีแบ่งเป็นระดับ ลึกระดับกล้ามเนื้อมดลูก หรือทะลุออกมานอกมดลูกก็ได้ ที่น่ากลัวคือถ้ารกมาเกาะส่วนที่เป็นแผลแล้วเกิดรกเกาะลึกนี่ล่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะมันจะเอาไม่ออก หลังคลอดรกจะไม่ลอกตามปกติ จะใช้มือดึงแบบลอกกระดาษกาวสองหน้าแน่นๆ ก็ไม่ได้ มดลูกจะฉีกไปด้วย แล้วก็จะเสียเลือดมาก บางคนอาจจะเสียเลือดมากถึง 5-10 ลิตรเลยทีเดียว

ถ้าเกิดแบบนี้แล้วทำยังไงล่ะ ก็ทำอะไรมากไม่ได้ นอกจากหลังคลอดเด็ก (ซึ่งก็ยากมากในภาวะนี้) ก็ห้ามลอกรก แต่ตัดออกมาทั้งมดลูกเลย

อย่าคิดว่าง่าย ๆ นะคะ ใครเจอซักเคสเนี่ย หน้ามืดเลยนะ ลองถามคุณหมอทุกคนดู ไม่มีใครอยากเจอเคสแบบนี้หรอก เพราะมันเสี่ยงสุดๆ การตัดมดลูกออกในตอนที่ตั้งครรภ์ไม่ง่ายนะ เพราะตอนท้องมดลูกจะมีเลือดมาเลี้ยงเยอะมาก เส้นเลือดขนาดเท่าหลอดยาคูลย์ตอนก่อนท้องจะขยายขนาดเป็นเกือบเท่านิ้วก้อย เนื้อเยื่อรอบๆ ก็มีเลือดมาเลี้ยงมากมาย จะหยิบจะจับตรงไหนก็เลือดออก เรียกว่าหน้ามืดเหงื่อตกกันเลยทีเดียวล่ะ

แต่ก็อย่างที่บอก อย่าเพิ่งจิดตกไป เพราะไม่ได้เกิดกับทุกคน ไม่ได้เจอบ่อยมาก แต่ก็เจอได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะปัจจุบัน อัตราการผ่าคลอดสูงขึ้นมาก บางแห่งอัตราการผ่าคลอดมากถึง 60-70% และโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งก็ 80-90% ก็มี

นอกจากแผลที่มดลูกแล้ว การเข้าไปยุ่งกับชั้นเยื่อหุ้มช่องท้อง ก็ยังทำให้เกิดผังผืด (adhesion)

ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการหายของแผลที่เกิดจากกระบวนการอักเสบเช่นกัน เจ้าตัว adhesion นี้อาจจะไปทำให้ลำไส้, กระเพาะปัสสาวะ หรือเยื่อบุช่องท้องเองมาแปะติดกับมดลูก เหมือนใยแมงมุมยุ่งๆ ได้ ซึ่งเราบอกไม่ได้ว่าใครจะเกิดมากหรือเกิดน้อย เจ้า adhesion นี้เองทำให้เกิดความยากลำบากในการผ่าตัดครั้งต่อๆ ไป ยิ่งผ่ามาก ยิ่งเกิด adhesion มาก

ดังนั้น คนที่เคยผ่าตัดมาหลายๆ ครั้ง จึงสร้างความลำบากใจให้กับคุณหมอผ่าตัดมากกว่าคนที่ไม่เคยผ่าตัดมาก่อน เพราะกลัวว่าถ้ามี adhesion ติดอิรุงตุงนัง อาจจะเกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะอื่นแบบไม่ได้ตั้งใจได้ เพราะมันยากจริงๆ เคยผ่าตัดคนที่ adhesion เยอะๆ เล่นเอาหน้ามืดเหมือนกัน

ไม่ใช่แค่ผ่าตัดคลอดครั้งต่อๆ ไป การผ่าตัดช่องท้องด้วยความจำเป็นอื่น ๆ

เช่น เนื้องอกมดลูก ตัดมดลูก หรือเป็นมะเร็ง หรือบาดเจ็บในช่องท้องแล้วต้องผ่าตัด แล้วมีประวัติผ่าตัดคลอดมาก่อน โดยเฉพาะถ้าเคยผ่าตัดมาแล้วหลายๆ ครั้ง ก็จะทำให้ความเครียดของหมอผ่าตัดเพิ่มขึ้นอีกหลายระดับ เพราะไม่รู้ว่า adhesion จะยุ่งอิรุงตุงนังขนาดไหน จะเกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะอื่นที่ไม่จำเป็นหรือเปล่า จะเสียเลือดเยอะขึ้นหรือเปล่า

สำหรับครอบครัวที่ต้องการผ่าคลอดตามฤกษ์เกิด ก็ควรปรึกษาคุณหมอ สอบถามถึงความเสี่ยง ความจำเป็นต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจรผ่าคลอดตามฤกษ์เกิดนะคะ

 

ที่มา : https://www.facebook.com/Drnextdoor

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ร่างกายคนท้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง 11 เรื่องจริงที่คนท้องไม่เคยรู้มาก่อน!

วัคซีนที่คนท้องต้องฉีด วัคซีนจำเป็นแม่ท้อง หญิงตั้งครรภ์ ต้องฉีดเพื่อลูกในท้องปลอดภัย

คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

ทําหมันพร้อมผ่าคลอดเลยดีไหม ทำหมันแบบไหนเจ็บตัวน้อยสุด และฟื้นตัวได้เร็ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya