ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกออกมาผิดปกติแต่กำเนิด

สิ่งที่แม่ทุกคนคาดหวังคือ อยากให้ลูกรักออกมาดูโลกด้วยสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ร่างกายครบ 32 แต่ก่อนจะถึงวันนั้น แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกออกมาผิดปกติแต่กำเนิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้องกันไม่ให้ลูกออกมา ผิดปกติแต่กำเนิด สำหรับคนเป็นแม่แล้ว พรอันวิเศษที่สุดที่อยากจะขอ คือให้ลูกน้อยในท้องออกมาอย่างสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง อวัยวะครบถ้วน แต่ถ้าอยากให้ลูกแข็งแรง แม่ ๆ ต้องรู้วิธีป้องกันไม่ให้ลูกออกมาผิดปกติ

ป้องกันไม่ให้ลูกออกมา ผิดปกติแต่กำเนิด

1.ปรึกษาแพทย์ก่อนคิดจะตั้งครรภ์

การพบแพทย์เพื่อปรึกษาขอคำแนะนำก่อนจะมีลูก ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพราะร่างกายของ คุณแม่ แต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องตรวจเช็คอย่างละเอียดต่าง ๆ รวมไปถึงการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์ คุณหมอจะได้แนะนำว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรให้ เหมาะสมสำหรับแม่แต่ละคน แต่หากตั้งครรภ์แล้ว ขอแนะนำให้ไปฝากครรภ์เร็ว ๆ ที่สุด ถ้าร่างกายแม่มีความผิดปกติใด ๆ จะได้แก้ไขทันท่วงที

2.ฉีดวัคซีนที่จำเป็นกับแม่ท้อง

การฉีดวัคซีนนั้นจำเป็นมาก ๆ ทั้งการฉีดก่อนตั้งครรภ์ และ การฉีดวัคซีนระหว่างตั้งครรภ์ โดยวัคซีนที่ต้องฉีดก่อนตั้งครรภ์คือ วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน แต่ถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีนตัวนี้ แล้วใน 1-3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ เกิดเป็นหัดเยอรมัน ส่งผลให้ทารกในครรภ์พิการ ส่วนวัคซีนที่จำเป็นสำหรับ แม่ตั้งครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันบาดทะยัก, วัคซีนคอตีบ, วัคซีนไอกรน, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม วัคซีนที่จำเป็นสำหรับแม่ตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ห้ามลืมทานโฟลิกแอซิด

แม่ท้องสามารถลดความพิการของลูกในครรภ์ได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยการทานโฟลิกแอซิดวันละ 1 เม็ดต่อวัน สำหรับผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ควรทานโฟลิกแอซิดวันละ 1 เม็ด ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน และ ทานต่อเนื่องไปจนถึงอายุครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน สามารถทานต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย และ เด็กในครรภ์

ด้วยความสำคัญของโฟลิกแอซิด หรือโฟเลต ทางสภากาชาดไทย ได้ออกมาเตือนแม่ ๆ ให้ใส่ใจในการทานโฟลิกแอซิดอย่างต่อเนื่อง อ่านต่อได้ในบทความ สภากาชาดไทยเตือนใจแม่อย่ารังแกลูกในครรภ์

4.หลีกเลี่ยงสารเคมี

คุณแม่ ๆ อาจเผลอลืมตัวทำความสะอาดบ้านด้วยอุปกรณ์ที่คุ้นเคย แต่เต็มไปด้วยสารเคมี ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อ แม่ท้องเอง รวมไปถึงลูกในครรภ์ ถ้าแม่ท้องต้องทำความสะอาด อย่าลืมใส่ถุงมือ ผ้าปิดปาก และ อุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ รวมถึงเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ลด ละ เลี่ยง สารเคมี ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรืออยู่ให้ห่างสถานที่ที่มีสารเคมีต่าง ๆ จำพวกโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

5.เลิกดื่มเหล้า

การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อแม่ และ ลูกในท้อง เป็นหนึ่งในสาเหตุทำให้เกิดภาวะ fetal alcohol syndrome (FAS) ส่งผลให้เด็กในครรภ์มีสภาพร่างกายที่ผิดปกติ เช่น ช่องตาสั้น และ ปลายจมูกเชิด บางรายเสียชีวิตจากการคลอดก่อนกำหนด

6.ห้ามสูบบุหรี่

สารเคมีในบุหรี่ทำลายโครโมโซมของทารก ส่งผลให้ทารกตายแรกคลอด ! หรือ แม้แต่เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ มีปัญหาระบบประสาท ระบบการหายใจ และ หลอดเลือด และเมื่อโตขึ้นอาจเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง นอกจากแม่ท้องจะห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาดแล้ว ยังต้องหลีกเลี่ยงควันบุหรี่อีกด้วย เพราะลูกรักสามารถได้รับสารเคมีผ่านทาง น้ำนมแม่อีกทาง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7.หลีกเลี่ยงการทานยาบางชนิด

การเจ็บป่วยระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ยาบางชนิดที่ใช้รักษาได้ในภาวะปกติ กลับเป็นยาต้องห้ามเมื่อตั้งครรภ์ เช่น ยาแอสไพริน ยาสเตร็ปโตมัยซิน และ ยาเพนนิซิลิน อย่าลืมว่ายาที่ แม่ท้องทานเข้าไปนั้น สามารถซึมผ่านรกสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจซื้อยามากินเอง ต้องปรึกษาคุณหมอทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของ คุณแม่ และ ลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระหว่างที่ตั้งครรภ์แม่ท้องต้องดูแลสุขภาพให้ดี เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ระมัดระวังไม่ให้อ้วนเกินไป และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือต้องพบแพทย์ทุกครั้งตามนัด กรณีที่ร่างกายเกิดอาการผิดปกติก็ต้องรีบไปตรวจเช็คโดยเร็ว อย่าลืมว่าตอนตั้งครรภ์ร่างกายของ คุณแม่ ไม่เหมือนปกตินะคะ ป้องกันไว้ก่อนจะดีที่สุด

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะ คุณแม่ จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้ง เด็กหญิง และ เด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่ คุณแม่ต้องการ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya