แม่ท้องต้องระวัง แท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนด เพราะปากมดลูกหลวม

ระยะเวลา 9 เดือนที่คุณแม่ต้องอุ้มท้องนั้น แม่ท้องอาจต้องเจอกับปัญหาต่างๆมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็อาจจะเป็น ภาวะปากมดลูกหลวม และถึงแม้ว่าภาวะนี้อาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่เรามาทำความรู้จักกับ ภาวะปากมดลูกหลวม กันไว้ก่อนดีกว่า เผื่อว่าแม่ท้องท่านใดมีอาการ จะได้ป้องกันรักษาอย่างทันท่วงที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปากมดลูกหลวม คืออะไร

ปากมดลูกคือเนื้อเยื่อรูปโดนัทที่อยู่ปลายด้านล่างของมดลูก ระหว่างตั้งครรภ์ ปากมดลูกจะปิดและจะเริ่มขยายออกเมื่อใกล้เวลาคลอด โดยที่ภาวะ ปากมดลูกหลวม เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อมดลูกอ่อนแรงและทำให้ปากมดลูกเปิดก่อนที่จะถึงกำหนดคลอด ซึ่งถ้าหากว่าปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด ก็อาจทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือถึงขั้นแท้งบุตรได้ แต่ภาวะปากมดลูกหลวมนี้ พบได้ไม่บ่อยนัก หรือประมาณ 1 ใน 100 ของผู้หญิงตั้งครรภ์

ปากมดลูกหลวม เกิดจากสาเหตุใด

แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของภาวะปากมดลูกหลวมจะไม่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ได้แก่

  • ปากมดลูกผิดปกติจากการรักษาหรือการคลอดลูกครั้งก่อนหน้า
  • ความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิด
  • ความผิดปกติของปากมดลูกที่เกิดจากขั้นตอนการขูดมดลูกหลังการแท้งบุตร

ปากมดลูกหลวม พบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะปากมดลูกหลวมนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 1 – 2 เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ และแม่ท้องที่มีภาวะปากมดลูกหลวมจะมีโอกาสแท้งบุตรประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

จะรู้ได้อย่างไรว่าปากมดลูกหลวม

ภาวะปากมดลูกหลวมนั้นมักจะไม่มีอาการใดๆบ่งชี้ อาการบางอย่างอาจคล้ายกับอาการของคนท้องทั่วไปเช่น ปวดหลังหรือมีของเหลวหลั่งออกมาจากช่องคลอด และอาการจะปรากฏชัดขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ โดยสัญญาณต่อไปนี้ก็อาจเป็นอาการของภาวะปากมดลูกหลวมได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • มีแรงกดช่วงเชิงกราน
  • รู้สึกผิดปกติที่บริเวณช่องคลอด
  • มีของเหลวหลั่งออกมาจากช่องคลอดอย่างผิดปกติ
  • มีรอยผิดปกติ

หากแม่ท้องมีอาการดังที่กล่าวมานี้ก็ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพื่อความปลอดภัยของลูกในท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะปากมดลูกหลวมป้องกันได้อย่างไร

  • หากแม่ท้องท่านใดมีประวัติอย่างเช่น เคยแท้งบุตรมาก่อน หรือเคยขูดมดลูกมาก่อน ควรแจ้งให้คุณหมอทราบ เพราะภาวะปากมดลูกหลวมนั้นอาจไม่มีอาการบ่งชี้ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ แต่สามารถป้องกันล่วงหน้าได้โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อดูความยาวของปากมดลูกและดูว่าปากมดลูกเปิดแค่ไหน
  • คุณหมออาจใช้วิธีเย็บปากมดลูก ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่สามารถทำได้เฉพาะในกรณีที่ปากมดลูกเปิดไม่เกิน  4 เซนติเมตร
  • ออกกำลังเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเชิงกรานเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะน้ำเชื้อมีสารพรอสตาแกลนดินซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อปากมดลูกอ่อนลงอีก
  • คุณหมออาจใช้อุปกรณ์เหน็บช่องคลอดเพื่อช่วยลดแรงกดที่ปากมดลูก
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้แรงเยอะและควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ

แม้ว่าภาวะปากมดลูกหลวมอาจฟังดูน่ากลัว แต่ก็สามารถป้องกันและรักษาได้นะครับ คุณแม่ท้องควรฝากครรภ์และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ครับ


ที่มา americanpregnancy.org

บทความโดย

P.Veerasedtakul